นิทานสันสกฤตที่อ้างถึงเรื่องสุวรรณภูมิ
Main Article Content
บทคัดย่อ
คนอินเดียรับรู้เรื่องสุวรรณภูมิมาเป็นเวลานาน เรื่องสุวรรณภูมิจึงปรากฏในหลักฐานชั้นต้นของอินเดียโบราณจำนวนมากโดยเฉพาะวรรณคดีสันสกฤตประเภทนิทานหลายเรื่อง บทความนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมและแปลเรื่องสุวรรณภูมิในนิทานสันสกฤตเป็นภาษาไทย พร้อมทั้งวิเคราะห์บริบทของเรื่องเหล่านั้น ผลการศึกษาพบว่า มีนิทานสันสกฤต 11 เรื่อง ที่อ้างถึงสุวรรณภูมิและสุวรรณทวีป ได้แก่ เรื่องสุปารคชาดกในชาดกมาลา เรื่องสานุทาสและพ่อค้าสองคนในพฤหัตกถาโศลกสังครหะ และเรื่องเจ้าหญิงสองพระองค์ นางอนงค์ประภา พระราชารัตนาธิบดี พราหมณ์จันทรสวามิน พ่อค้าจักระ พ่อค้ารุทระและสมุทรศูร เรื่องอีศวรวรรมัน และเรื่องทีรฆทรรศิน ในกถาสริตสาคร คนไทยรู้จักสุวรรณภูมิผ่านวรรณคดีบาลีซึ่งแสดงมโนทัศน์ว่าเป็นดินแดนในจินตนาการที่ไปถึงได้ยาก ส่วนในนิทานสันสกฤตจะเห็นว่า ชื่อที่หมายถึงสุวรรณภูมิมีทั้งสุวรรณภูมิและสุวรรณทวีปซึ่งน่าจะหมายถึงดินแดนเดียวกัน เรื่องสุวรรณภูมิในนิทานเหล่านี้แสดงร่องรอยของพุทธศาสนาที่เคยรุ่งเรืองในอินเดียเหนือ ทำให้เรื่องสุวรรณภูมิปรากฏในนิทานสันสกฤตซึ่งเป็นของศาสนาฮินดูซึ่งแพร่หลายในอินเดียเหนือด้วยโลกทัศน์ที่เกี่ยวข้องกับสุวรรณภูมิในนิทานสันสกฤตแบ่งออกเป็น 2 ประเด็นสำคัญ ได้แก่ สุวรรณภูมิในฐานะดินแดนอันตรายแต่มั่งคั่ง และสุวรรณภูมิในฐานะดินแดนมหัศจรรย์ แม้ว่าการศึกษาครั้งนี้ยังมิได้ให้ความกระจ่างเรื่องภูมิศาสตร์ของสุวรรณภูมิเพราะเอกสารที่เลือกศึกษาเป็นนิทาน แต่ก็ยังมีคุณค่าในฐานะร่องรอยของเรื่องสุวรรณภูมิในเรื่องเล่าและแสดงมโนทัศน์ของคนอินเดียโบราณที่มีต่อสุวรรณภูมิได้เป็นอย่างดี
Downloads
Article Details
References
กรมศิลปากร. (2540). นิบาตชาดก. 10 เล่ม. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร.
กุสุมา รักษมณี. (2547). กุสุมาวรรณนา 3: ปกรณัมนิทาน. กรุงเทพฯ: แม่คำผาง.
คารม พ.ศ. 2462 (นามแฝง) (2462). กถาโกศหรือคลังนิยาย. พระนคร: ไท (ห. โรงพิมพ์ไท ช่วยในงานศพคุณหญิงพิณ ผโลประการ วันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2462)
ชินวรสิริวัฒน์, พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหลวง. (2532). มหานิบาตชาดกทศชาติฉบับชินวร. 2 เล่ม. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชวนพิมพ์. (กองบัญชาการทหารสูงสุดเหล่าทัพและกรมตำรวจ โดยเสด็จพระราชกุศลในการออกพระเมรุสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (วาสมหาเถระ) สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ณ พระเมรุวัดเทพศิรินทราวาส 18 มีนาคม 2532).
ธนิต อยู่โพธิ์. (2510). สุวัณณภูมิ. พระนคร: ศิวพร. (กรมศิลปากรจัดพิมพ์เป็นพุทธบูชาในโอกาส ฯพณฯ จอมพล ถนอม กิตติขจร ทำพิธีเปิดป้ายพระนามพระพุทธรูปขาวและวางศิลาฤกษ์พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระปฐมเจดีย์ จังหวัดนครปฐม เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2510)
มณีปิ่น พรหมสุทธิรักษ์. (2551). ประวัติวรรณคดีสันสกฤต. นครปฐม: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ศิริวัฒนอาณาทร, ขุน. (2514). เมืองทองหรือสุวรรณภูมิ (พิมพ์ครั้งที่ 2). พระนคร: ม.ป.พ. (จัดพิมพ์เป็นบรรณาการในงานพระราชทานเพลิงศพ ขุนศิริวัฒนอาณาทร (ผล ศิริวัฒนกุล) ณ เมรุวัดเทพศิรินทราวาส วันเสาร์ที่ 31 กรกฎาคม 2514)
แสง มนวิทูร (แปล). (2513). รสวาหินี เล่ม 3. พระนคร: คุรุสภาลาดพร้าว.
Appleton, N., & Shaw, S. (Trans.). (2015). The Ten Great Birth Stories of The Buddha (Vol. 2). Bangkok: Silkworm Books.
Assavavirulhakarn, P. (2010). The Ascendancy of Theravāda Buddhism in Southeast Asia. Bangkok: Silkworm Books.
Brockington, J. (1998). The Sanskrit Epics. KÖln: Brill.
Doniger, W. (1981). The Rig Veda. London: Penguin Books.
Durgaprasad & Parab, A. P. (Eds.). (1935). The Kathasaritsagara of Somadevabhatta. Bombay: Nirnaya Sagar Press.
Goldman, R. P., & Goldman, S. J. S. (2004). Rāmāyaṇa. The Hindu World. Oxon: Routledge.
Keay, J. (2010). India: A History. London: Harper Press.
Kulke, H., & Rothermund, D. (2010). A History of India (5th ed.). Oxon: Routledge.
Macdonell, A. A. (1924). A practical Sanskrit dictionary with transliteration, accentuation, and etymological analysis throughout. London: Oxford University Press.
Malalasekera, G. P. (1960). A Dictionary of Pali Proper Names (Vol. 2) London: Luzac.
Mallinson, J. (Ed. & Tran.). (2005). The Emperor of the Sorcerers (Vol. 2). New York: New York University Press.
Mallinson, J. (2007-2009). The Ocean of the Rivers of story. New York: New York University Press.
Meiland, J. (Ed. & Tran.). (2009). Garland of the Buddha’s Past Lives (Vol. 2). New York: New York University Press.
Monier-Williams, Sir Monier. (1899). A Sanskrit-English Dictionary. Oxford: Oxford University Press.
Ray, H. P., & Mishra, S. (n.d.) Bibliography on Sailing to Suvarnabhumi. Asean-India Centre at RIS.
Sanderson, A. (2009). Kashmir. Brill’s Encyclopedia of Hinduism (Vol. 1). Jacobsen, K. N., (Ed.). Leiden: Brill.
Tawney, C. H. (Tran.). (1975). The Kathakośa or treasury of stories. Delhi: Oriental Books Reprint Co.
Tawney, C. H. (1968). The Kathasaritsagara or Ocean of the Streams of Story. 2 vols. Delhi: Munshiram Manoharlal.
Vaidya, P. L. (Ed.). (1959). Jātaka Mālā. Bihar: The Mithila Institute.