คำศัพท์เกี่ยวกับการปรุงอาหารในภาษาไทใหญ่: การศึกษาตามแนวอรรถศาสตร์ชาติพันธุ์
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบทางความหมายของคำศัพท์เกี่ยวกับการปรุงอาหารในภาษาไทใหญ่ โดยใช้วิธีการวิเคราะห์องค์ประกอบทางความหมาย (Componential Analysis) ซึ่งเป็นวิธีการหนึ่งในการศึกษาตามแนวอรรถศาสตร์ชาติพันธุ์ และเพื่อศึกษาวัฒนธรรมด้านอาหารของชาวไทใหญ่ ข้อมูลที่ศึกษานำมาจากการเก็บข้อมูลด้วยการสังเกตการณ์ การเข้าไปมีส่วนร่วมในการปรุงอาหาร และการสัมภาษณ์ ผู้บอกภาษาชาวไทใหญ่ที่เชี่ยวชาญในการประกอบอาหาร ซึ่งอาศัยอยู่ที่บ้านปางหมู ตำบลปางหมู อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน จำนวน 10 คน ผลการศึกษาพบว่าคำศัพท์ที่ปรากฏในการปรุงอาหารมีจำนวน 23 คำ พบมิติความแตกต่างที่ทำให้คำศัพท์แต่ละคำแตกต่างกันจำนวน 8 มิติ ได้แก่ 1) มิติความแตกต่างเรื่องจุดประสงค์ 2) มิติความแตกต่างเรื่องวัตถุดิบหลัก 3) มิติความแตกต่างเรื่องเครื่องแกง 4) มิติความแตกต่างเรื่องอุปกรณ์ 5) มิติความแตกต่างเรื่องความร้อน 6) มิติความแตกต่างเรื่องน้ำ 7) มิติความแตกต่างเรื่องน้ำมัน และ 8) มิติความแตกต่างเรื่องระยะเวลา ส่วนผลจากการศึกษาวัฒนธรรมด้านอาหารของชาวไทใหญ่มี 4 ประเด็น ได้แก่ 1) การใช้วัตถุดิบหลัก พบว่าชาวไทใหญ่นิยมนำพืชผักที่มีอยู่ในท้องถิ่นมาเป็นวัตถุดิบหลัก ซึ่งสะท้อนถึงวิถีการดำรงชีวิตที่มีความเรียบง่าย 2) สิ่งที่นำมาปรุงรส พบว่าสิ่งสำคัญที่ใส่ในอาหารไทใหญ่เกือบทุกชนิด คือ ถั่วเน่า 3) ลักษณะของการปรุงอาหาร พบว่ามีลักษณะการปรุงทั้งแบบใช้เพียงกรรมวิธีเดียว และต้องผ่านหลายกรรมวิธีจึงจะกลายเป็นอาหาร และนิยมใช้ความร้อนในการปรุงอาหาร 4) ความเชื่อเกี่ยวกับอาหาร พบว่าคำศัพท์เกี่ยวกับการปรุงอาหารและวัตถุดิบบางชนิดสะท้อนให้เห็นถึงความเชื่อบางประการของชาวไทใหญ่
Downloads
Article Details
References
โกสินทร์ ปัญญาอธิสิน. (2552). การศึกษาคำเรียกการทำอาหารในภาษาไทยถิ่นเหนือตามแนวอรรถศาสตร์ชาติพันธุ์ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.
จรัลวิไล จรูญโรจน์, ม.ล. (2559). ภาษาในปริบทสังคมและวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์.
จารณี อินทรกำแหง. (2555). คำกริยาการีตเกี่ยวกับการประกอบอาหารในภาษาไทยถิ่นอีสานในหมู่บ้านมะค่าตำบลมะค่า อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.
ณัฏฐวี ทศรฐ และวีระพงศ์ มีสถาน. (2540). สารานุกรมกลุ่มชาติพันธุ์ :เมี่ยน(เย้า). นครปฐม: สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาชนบท มหาวิทยาลัยมหิดล.
ไทใหญ่ดอทเน็ต. (2551). เมนูอาหารรสเด็ดชาวไทยใหญ่. สืบค้นจาก http://www.taiyai.net/TAI%20food.html
นันทนา วงษ์ไทย. (2562). ภาษากับความหมาย. กรุงเทพฯ: เวิร์ค ออล พริ้นท์.
พัทยา สายหู. (2532). วัฒนธรรมอาหาร. ใน เอกสารการสอนชุดวิชาโภชนาการศึกษาเพื่อชุมชน หน่วยที่ 1-7. กรุงเทพฯ: ประชาชน.
วิราพร หงษ์เวียงจันทร์. (2556). การศึกษาคำศัพท์เกี่ยวกับการประกอบอาหารของชาวไทลื้อที่จังหวัดพะเยา (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์,กรุงเทพฯ.
วีระพงศ์ มีสถาน. (2544). สารานุกรมกลุ่มชาติพันธุ์ไทใหญ่. นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหิดล.
สมพงศ์ วิทยศักดิ์พันธุ์. (2542). การศึกษาประวัติศาสตร์สังคมและวัฒนธรรมชนชาติไท. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สายฝน ตุ๊ดคง. (2555). คำกริยาการีตเกี่ยวกับการประกอบอาหารในภาษาไทยถิ่นเหนือในหมู่บ้านเวียงหนองล่อง ตำบลวังผาง อำเภอเวียงหนองล่อง จังหวัดลำพูน (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.
สิริรักษ์ บางสุด และคณะ. (2558). โอชะแห่งล้านนา: มรดกวัฒนธรรมอาหารเมือง. กรุงเทพฯ: แสงแดด.
สุดาวดี เตชานันท์ และคณะ. (2555). กะเหรี่ยง. กรุงเทพฯ: กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์.
สุวิไล เปรมศรีรัตน์ และคณะ. (2547). แผนที่ภาษาของกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ ในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ.
อมรา ประสิทธิ์รัฐสินธุ์ และคณะ. (2555). บุคคลสำคัญและความคิดหลักในอรรถศาสตร์ชาติพันธุ์: การเข้าถึงวัฒนธรรมโดยผ่านภาษา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Leavitt, J. (2015). Ethnosemantics. In The routledge handbook of language and culture. London: Routledge.
Nida, E. (1975). Componential analysis of meaning: an introduction to semantic structures. Hague: Mouton.
Orawan Poo-Israkij. (1985). The phonology of Tai Yai at amphoe Mae La Noi, Mae Hong Son province (Master’s thesis). Mahidol University, Nakhon Pathom.
Kumtanode, S. (2006). Thai regional cooking terms: an ethnosemantic study (Doctoral dissertation). Mahidol University, Nakhon Pathom.