พัฒนาการและความเปลี่ยนแปลงในการนำเสนอวัฒนธรรมความเป็นจีนผ่านแบบเรียนภาษาจีนสำหรับผู้เรียนชาวต่างชาติ

Main Article Content

สยุมพร ฉันทสิทธิพร

บทคัดย่อ

ปี ค.ศ. 2005 รัฐบาลจีนยกระดับการสอนภาษาจีนเป็นยุทธศาสตร์สำคัญของประเทศ แบบเรียนภาษาจีนจึงต้องมีกลยุทธ์นำเสนอความเป็นจีนที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์การพัฒนาอำนาจอ่อนทางวัฒนธรรม การวิจัยนี้มุ่งเปรียบเทียบแบบเรียน 2 ชุด ที่จัดพิมพ์ห่างกัน 10 ปี Hanyu Jiaocheng (1999) และ Road to Success (2008) ซึ่งพิมพ์ขึ้นหลังจากการยกระดับการสอนภาษาจีนขึ้นเป็นยุทธศาสตร์ระดับชาติ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพัฒนาการและความเปลี่ยนแปลงของแบบเรียนที่ผลิตขึ้นในเวลา   ที่ต่างกัน กระบวนการวิจัยเน้นวิจัยเอกสารเป็นหลัก เปรียบเทียบการนำเสนอความรู้ด้านวัฒนธรรมที่ปรากฏในแบบเรียน โดยแบ่งวัฒนธรรมเป็น 3 มิติ ได้แก่ วัฒนธรรมด้านผลผลิต ด้านพฤติกรรม และด้านความคิด อีกทั้งใช้เครื่องมือเชิงสถิติมาตรวจสอบความถี่ของคำศัพท์ที่ปรากฏในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับทั้ง 3 มิติ ดังกล่าว พบว่าแบบเรียนชุด Hanyu Jiaocheng แม้นำเสนอวัฒนธรรมมิติความคิดได้โดดเด่นและสนุก แต่นำเสนอวัฒนธรรมมิติพฤติกรรมและมิติผลผลิตไม่ชัดเจนนัก ผู้เรียนไม่ได้รับองค์ความรู้ในเชิงลึก ส่วนแบบเรียน Road to Success จะเน้นมิติพฤติกรรมที่นำเสนอเรื่องราวของคนหลายกลุ่มในสังคม ส่วนด้านอื่น ๆ ก็พบว่านำเสนอได้ค่อนข้างลุ่มลึก บูรณาการประเด็นวัฒนธรรมหนึ่ง ๆ ได้รอบด้าน ทำให้ผู้เรียนเข้าใจมากกว่าแค่ประเทศจีนมี “อะไร” และยังสามารถเข้าใจได้ว่า “อย่างไร” หรือ “เพราะเหตุใด” อีกทั้งแบบเรียนนำเสนอคุณธรรมที่เป็นสากลมากขึ้น เน้นให้ผู้เรียนเห็นภาพสังคมจีน แต่ไม่ตัดสินคุณค่าให้เหมาะกับผู้เรียนหลากหลายวัฒนธรรม สามารถเป็นกรณีศึกษาในการผลิตแบบเรียนภาษาอื่นได้

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
ฉันทสิทธิพร ด. (2020). พัฒนาการและความเปลี่ยนแปลงในการนำเสนอวัฒนธรรมความเป็นจีนผ่านแบบเรียนภาษาจีนสำหรับผู้เรียนชาวต่างชาติ. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 20(1), 68–96. https://doi.org/10.14456/lartstu.2020.4
บท
บทความวิจัย

References

Gil, J. (2008). The Promotion of Chinese Language Learning and China’s Soft Power. Asian Social Science, 4(10), 116-122.

Hong Huaqing, & He Xianzhong. (2015). Ideologies of monoculturalism in Confucius Institute textbooks: A corpus base critical analysis. In Xiao Lan. et al. Language Ideology and Education: The Politics of Textbooks in Language Education (pp. 90-108). New York: Routledge.

Nye, J. (2004). Soft Power: The Means to Success in World Polices. New York: Public Affairs.

Tomalin, B., & Stempleski, S. (1993). Cultural Awareness. Oxford: Oxford University.

Xiao Lan. et al. (2015). Language, Ideology and Education: The Politics of Textbooks in Language Education, New York: Routledge.

胡明杨 Hu Mingyang. (1993). 对外汉语教学中的文化因素. 语言教学与研究, 13(4), 103-108.

李修斌 Li Xiubin, & Matthew Johnson. (2013). 对外汉语文化教学内容划分研究评述, 海 外华文教育, 13(2), 214-216.

李修斌, 和臧胜楠 Li Xiubin, & Zang Shengnan. (2013). 近三十年对外汉语教学中文化教学研究述评. 汉语教育学研究, 27(7), 73-77.

林国立 Lin Guoli. (1997). 构建对外汉语汉语教学的文化因素体系——研制玩花大钢 之我见. 语言教学与研究 , 19(1), 17-28.

刘珣 Liu Xun. (2000). 对外汉语教学引论. 北京: 北京语言大学出版社.

鲁健骥 Lu Jianji. (1990). 对外汉语教学基础阶段处理文化因素的原则和做法. 语言教学与研究, 11(1), 37-46.

秦惠兰 Qin Huilan. (2012). 在汉语教材文本中建构中国 “国家形像”的话语策略. 汉语国际传播研究. 载于世界汉语修辞学会第三届年会暨修辞学国际学术研讨会. (pp. 167-176). 北京: 高等教育出版社.

王一川 Wang Yichuan. (2009). 解中国“国家文化软实力. 艺术评论, 7(10), 62-65.

许纪霖 Xu Jilin. (2004). 中国凭什么统治世界. 于 郑永年. 编辑. 未来中国的变与不变 (pp. 45-49). 南京: 江苏文艺出版社.

张英 Zhang Ying. (2004). 对外汉语文化教材研究——兼论对外汉语文化教学等及大刚建立. 汉语学习, 24(1), 53-59.

张英 Zhang Ying. (2006). 对外汉语文化因素与文化知识教学研究. 汉语学习 , 26(6), 59-64.

周小兵, 罗宇, 和张丽 Zhou Xiaobing. et al. (2010). 基于中外对比的文化教材系统参考. 语言教学与研究, 31(5), 1-7.

杨寄洲 Yang Jizhou. (主编). (1999). 汉语教程一年级教材第一册上. 北京: 北京 语言大学出版社.

杨寄洲 Yang Jizhou. (主编). (1999). 汉语教程一年级教材第一册下. 北京: 北京 语言大学出版社.

杨寄洲 Yang Jizhou. (主编). (1999). 汉语教程一年级教材第二册上. 北京: 北京 语言大学出版社.

杨寄洲 Yang Jizhou. (主编). (1999). 汉语教程一年级教材第二册下. 北京: 北京 语言大学出版社.

杨寄洲 Yang Jizhou. (主编). (1999). 汉语教程一年级教材第三册上. 北京: 北京 语言大学出版社.

杨寄洲 Yang Jizhou. (主编). (1999). 汉语教程一年级教材第三册下. 北京: 北京 语言大学出版社.

邱军 Qiu Jun. (主编). (2008). 成功之路起步篇1. 北京: 北京语言大学出版社.

邱军Qiu Jun. (主编). (2008). 成功之路起步篇2. 北京: 北京语言大学出版社.

邱军Qiu Jun. (主编). (2008). 成功之路顺利篇1. 北京: 北京语言大学出版社.

邱军Qiu Jun. (主编). (2008). 成功之路顺利篇2. 北京: 北京语言大学出版社.

邱军Qiu Jun. (主编). (2008). 成功之路进步篇1. 北京: 北京语言大学出版社.

邱军Qiu Jun. (主编). (2008). 成功之路进步篇2. 北京: 北京语言大学出版社.

邱军Qiu Jun. (主编). (2008). 成功之路进步篇3. 北京: 北京语言大学出版社.