การโค้ชกับการสื่อสารเชิงสัญญะเพื่อปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตของกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีเป้าหมายเพื่อวิเคราะห์การสื่อสารเชิงสัญญะในกระบวนการโค้ชด้านวิถีชีวิต เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงทางสุขภาพของกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ทีมโค้ชประกอบด้วยภาคีเครือข่ายสุขภาพและผู้นำชุมชนที่สมัครเข้าร่วมโครงการจำนวน 80 คน เป็นชาย 20 คน และหญิง 60 คน กลุ่มเสี่ยงต่อโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ได้แก่ ผู้ผ่านการคัดกรองจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลที่อาสาเข้าร่วมโครงการวิจัย จำนวน 160 คน เป็นหญิง 72.5 % และชาย 27.5% อาศัยอยู่ใน 3 ตำบล 43 หมู่บ้าน เขตอำเภอโกสัมพีนคร จังหวัดกำแพงเพชร ศึกษาวิจัยแบบฐานรากและการวิจัยกึ่งทดลอง โดยใช้แบบสัมภาษณ์และแบบสังเกตเก็บข้อมูลกับกลุ่มเป้าหมายทั้งสองกลุ่ม ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ส่วนข้อมูลเชิงปริมาณวิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงพรรณา และ t-test
ผลการศึกษาพบว่า การสื่อสารเชิงสัญญะ 4 ขั้นตอน ได้แก่ การผลิตสาร การไหลเวียน การนำไปปฏิบัติ และการผลิตซ้ำ ระหว่างการโค้ชด้านวิถีชีวิตมีลักษณะที่เป็นอิสระต่อกัน โดยมี “บุคคลต้นแบบ” ซึ่งเข้าร่วมเรียนรู้ในตัวแบบการเรียนรู้สามประสาน ทำหน้าที่เชื่อมโยงทุกขั้นตอนของการสื่อสาร ด้วยรูปแบบและเนื้อหาที่มีพลวัตร ตามความสัมพันธ์เชิงอำนาจ ระบบคุณค่า วาทกรรม และการให้ความหมายต่อชีวิตของทีมโค้ช การโค้ชที่ใช้การสื่อสารที่มีคุณภาพ ครอบคลุมการสื่อสารด้วยสารที่มีความหมายตรงและความหมายแฝง สามารถสร้างวิถีชีวิตทางสุขภาพที่พึงประสงค์ ในกลุ่มเสี่ยงได้ครบทั้ง 5 ด้าน ได้แก่ การกิน การเคลื่อนไหวร่างกาย การจัดการอารมณ์ การสูบบุหรี่และการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
Downloads
Article Details
References
กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. (2552). คู่มือนักจัดการสุขภาพชุมชน อ้วนลงพุงและโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. (2555). คู่มือ อสม. นักจัดการสุขภาพชุมชน โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง 5 โรค (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
กาญจนา เลิศถาวรธรรม. (2551). การถอดบทเรียนผลการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น ตำบลวัดเพลง อำเภอวัดเพลง จังหวัดราชบุรี. ราชบุรี: วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี.
ชาญชัย ชัยสว่าง. (2552). การพัฒนาการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่น อำเภอเฝ้าไร่ จังหวัดหนองคาย (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, มหาสารคาม.
วิโรจน์ ตั้งเจริญเสถียร และคณะ. (2561). การพัฒนาระบบสุขภาพในประเทศไทย: รากฐานสำคัญของการบรรลุหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า. กรุงเทพฯ: สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ.
สงคราม ชัยลีทองดี. (2552). การกระจายอำนาจโดยการถ่ายโอนสถานีอนามัย: กรณีศึกษาเร่งด่วน 4 จังหวัด. มหาสารคาม: คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล. (2561). รายงานสุขภาพคนไทย ประจำปี 2560. นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหิดล.
สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ. (2560). สุขภาพคนไทย 2560. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ.
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานี. (2556). สรุปผลการดำเนินงานพัฒนาสาธารณสุข อุบลราชธานี. อุบลราชธานี: ศิริธรรมออฟเซท.
Calman, L. (2006). Patients’ Views of Nurse Competence. Nurse Education Today, 26(8), 719-725.
Charmaz, K. (2006). Constructing Grounded Theory: A Practical Guide Through Qualitative Analysis. London: Sage Publications.
Cherry, K. (2019). The 6 Stages of Behavior Change: The Trans-theoretical or Stage of Change Model. Retrieved from www.verywellmind.com
de Savigny D., & Adam T. (Eds.). (2009). Systems Thinking for Health Systems Strengthening. Geneva: WHO.
Dirkx, J. M. (1998). Transformative Learning Theory in the Practice of Adult Education: An Overview. PAACE Journal of Lifelong Learn¬ing, 7, 1-14.
During, S. (2001). The Cultural Studies Reader (2nd ed.). London: Routledge.
Esperat, M. C., Feng, D., Zhang, Y., Masten, Y., Allcorn, S., Velten, L., et al. (2008). Transforming for Health: A Framework for Conceptual¬izing Health Behaviors in Vulnerable Populations. Nursing Clinics of North America, 43(3), 381-395.
European Centre for Disease Prevention and Control. (2019). Health Communication. Retrieved from www.ecdc.europa.eu.
Mayor, V. (2006). Long-term Conditions. 3: Being an Expert Patient. British Journal of Community Nursing, 11(2), 59-63.
Merriam, S. B., Cafferella, R. S., & Baumgartner, L. M. (2007). Learning in Adulthood: A Comprehensive Guide (3rd ed.). San Francisco: Jossey-Bass.
Mezirow, J. (1991). Transformative Dimensions of Adult Learning. San Francisco: Jossey-Bass.
Mezirow, J., & Taylor, E. W. (Eds.). (2009). Transformative Learning in Practice: Insight from Community, Workplace, and Higher Education. San Francisco, CA: Jossey-Bass.
Nitayarumphong, S. (1990). Evolution of Primary Health Care in Thailand: What Policies Worked?. Health Policy and Planning, 5(3), 246-254.
Phillipi, J. (2010). Transformative Learning in Healthcare. PAACE Journal of Lifelong Learning, 19, 39-54.
Thom, D. H., Wolf, J., Gardener, H., DeVore, D., Lin, M., Ma, A., Ibarra-Castro, A., & Saba, G. (2016). A Qualitative Study of How Health Coaches Support Patients in Making Health-Related Decisions and Behavioral Changes. Annals of Family Medicine, 14(6), 509-516.
Trento, M., Passera, P., Borgo, E., Tomalino, M., Bajardi, M., Cavallo, F., et al. (2004). A 5-year Randomized Controlled Study of Learning, Problem Solving Ability, and Quality of Life Modifications in People with Type 2 Diabetes Managed by Group Care. Diabetes Care, 27(3), 670-675.
UCSF Center for Excellence in Primary Care. (2016). Health Coaching. Retrieved from http://cepc.ucsf.edu/health-coaching