การขยายหน้าที่เชิงไวยากรณ์ของคำว่า เวลา ในภาษาไทย

Main Article Content

จิดาภา ตั้งดิลกธนากุล
คเชนทร์ ตัญศิริ
อุมาภรณ์ สังขมาน

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณสมบัติทางวิทยาหน่วยคำและวากยสัมพันธ์ของคำว่า เวลา ในภาษาไทยปัจจุบัน รวมทั้งวิเคราะห์การขยายหน้าที่เชิงไวยากรณ์ของคำ ๆ นี้ โดยผลการศึกษาพบว่า คำว่า เวลา มีการปรากฏเป็นคำนามในลักษณะต่าง ๆ ได้แก่ ปรากฏเป็นคำนามเดี่ยวที่เป็นอาร์กิวเมนต์ประธานบ่งชี้การเป็นผู้กระทำ และหน่วยกรรมตรงของกริยาที่ต้องการหน่วยกรรมหรือส่วนเติมเต็มจำเป็นมารองรับ ปรากฏเป็นคำนามที่มีส่วนขยาย และปรากฏเป็นคำลักษณนาม นอกจากนั้นแล้วยังพบการปรากฏเป็นคำเชื่อมอนุพากย์ที่ทำหน้าที่และแสดงความหมายทางไวยากรณ์ในหน่วยสร้างวิเศษณานุประโยค จากการศึกษาการขยายหน้าที่เชิงไวยากรณ์พบว่า คำว่า เวลา มีการพัฒนาจากการเป็นคำนามไปสู่คำเชื่อมอนุพากย์ในลักษณะที่เป็นการเปลี่ยนแปลงแบบค่อยเป็นค่อยไป โดยมีการปรากฏในบริบทเฉพาะที่เอื้อให้เกิดกระบวนการขยายความหมายและหน้าที่จากเชิงเนื้อหาไปสู่เชิงไวยากรณ์

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
ตั้งดิลกธนากุล จ., ตัญศิริ ค., & สังขมาน อ. (2020). การขยายหน้าที่เชิงไวยากรณ์ของคำว่า เวลา ในภาษาไทย. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 20(1), 141–164. https://doi.org/10.14456/lartstu.2020.7
บท
บทความวิจัย

References

กิ่งกาญจน์ เทพกาญจนา. (2559). กระบวนการกลายเป็นรูปไวยากรณ์. กรุงเทพฯ: โครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการ ฝ่ายวิจัย คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ภาควิชาภาษาศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (2558). คลังข้อมูลภาษาไทยแห่งชาติฯ 2 (Thai National Corpus II). สืบค้นเมื่อ 20 มกราคม 2561, สืบค้นจาก http://www.arts.chula.ac.th/~ling/TNC/corp.php.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2554). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คส์ พับลิเคชั่นส์.

อมรา ประสิทธิ์รัฐสินธุ์, กิติมา อินทรัมพรรย์, และนัฐวุฒิ ไชยเจริญ. (2554). โครงการไวยากรณ์ไทยฉบับครอบคลุมภาษาย่อย เล่มที่ 1 เรื่อง ไวยากรณ์ภาษาไทยมาตรฐาน (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

Barcelona, A. (2000). Introduction The cognitive theory of metaphor and metonymy. In A. Barcelona (Ed.). Metaphor and Metonymy at the crossroads. Berlin/New York: Mouton de Gruyter.

Bisang, W. (1996). Areal typology and grammaticalization: Processes of grammaticalization based on nouns and verbs in East and mainland South East Asian languages. Studies in Language, 20(3), 519-597.

Bybee, J. L. (2003). Mechanisms of change in grammaticalization: the role of frequency. In B. J. Joseph & R. D. Janda (Eds.). The Handbook of Historical Linguistics (pp. 602-623). Oxford: Oxford university Press.

Heine, B. (1992). Grammaticalization Chains. Studies in Language, 16(2). 335-368.

_______. (2002). On the role of context in grammaticalization. In I. Wischer & G. Diewald (Eds.). New reflections on grammaticalization (pp. 83-101). Amsterdam/Philadelphia: John Benjamins.

Heine, B., Claudi, U., and Hünnemeyer, F. (1991). Grammaticalization: A Conceptual Framework. Chicago & London: The University of Chicago Press.

Kullavanijaya, P. (2003). A Historical Study of Time Markers in Thai. Manusaya: Journal of Humanities (Special Issue No. 6), 87-106.

_______. (2008). A historical study of /thìi/ in Thai. In A. V. N. Diller, J. A. Edmondson, & L. Yongxian (Eds.). The Tai-Kadai Languages (pp. 445-467). London & New York: Routledge.

Lakoff, G., & Johnson, M. (1980). Metaphor We Live By. Chicago/London: The University of Chicago Press.

Langacker, R. W. (1977). Syntactic reanalysis. In C. N. Li (Ed.). Mechanisms of Syntactic Change (pp. 57-139). Austin: University of Texas Press.

Panther, K. U., & Thornburg, L. L. (2007). Metonymy. In D. Geeraerts & H. Cuyckens (Eds.). The Oxford Handbook of Cognitive Linguistics (pp. 248-249). Oxford: Oxford University Press.

Traugott, E. C. (2003). Constructions in grammaticalization. In B. J. Joseph & R. D. Janda (Eds.). The Handbook of Historical Linguistics (pp. 624-647). Oxford: Oxford University Press.