The Greater Eurasia ความคิดริเริ่มแถบเศรษฐกิจและเส้นทาง และสหภาพเศรษฐกิจยูเรเชีย: การดำเนินนโยบายของไทยและผลประโยชน์ที่จะได้รับ
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้ศึกษาเกี่ยวกับการบูรณาการเข้าเป็นส่วนหนึ่งของภูมิภาคยูเรเชียของประเทศไทยในรูปแบบการดำเนินความสัมพันธ์ทางด้านเศรษฐกิจกับองค์การระหว่างประเทศใหม่ของภูมิภาคอย่างสหภาพเศรษฐกิจยูเรเชียและโครงการความคิดริเริ่มแถบเศรษฐกิจและเส้นทางของจีนภายใต้บริบทการแข่งขันและความร่วมมือระหว่างมหาอำนาจสามฝ่าย ได้แก่ รัสเซีย จีน และสหรัฐอเมริกา การศึกษาประเด็นดังกล่าวใช้ทฤษฎีภูมิรัฐศาสตร์ ทฤษฎีสภาพจริงนิยมใหม่ และทฤษฎีดุลแห่งอำนาจ เป็นกรอบในการวิเคราะห์ ผลการศึกษาพบว่า ภูมิภาคยูเรเชียเป็นดินแดนที่มหาอำนาจต่างพยายามครอบครองและสร้างอิทธิพลตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบัน รัสเซียและจีนถือเป็นสองประเทศที่ได้ครอบครองและพยายามสร้างความร่วมมือในพื้นที่ดังกล่าว ส่วนสหรัฐอเมริกาก็ดำเนินนโยบาย ปิดล้อมอิทธิพลของทั้งจีนและรัสเซียในรูปแบบการประกันความมั่นคงและผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจให้แก่ประเทศพันธมิตรของตน ประเทศไทยให้ความสนใจกับการเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของโครงการของมหาอำนาจยูเรเชียด้วยเพราะผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจของไทยในเรื่องการพัฒนาภาคอุตสาหกรรมในยุคประเทศไทย 4.0 และการแสวงหาตลาดการค้าใหม่จากจีนและประเทศในกลุ่มสหภาพเศรษฐกิจยูเรเชีย ประเทศไทยสามารถใช้โอกาสจากการเข้าเป็นส่วนหนึ่งของโครงการแถบเศรษฐกิจเส้นทางแพรไหมของจีนนำพาไทยเข้าสู่ประเทศในภูมิภาคยูเรเชียผ่านโครงสร้างพื้นฐานที่ไทยและจีนร่วมมือกัน แต่อย่างไรก็ตามการดำเนินนโยบายของไทยยังต้องคำนึงถึงบทบาทของสหรัฐอเมริกา ที่มีอิทธิพลทั้งในภูมิภาคยูเรเชียและดินแดนเอเชียแปซิฟิกอีกด้วย
Downloads
Article Details
References
โกวิท วงศ์สุรวัฒน์. (2550). ภูมิรัฐศาสตร์ = Geopolitics. กรุงเทพฯ: วาสนา.
กระทรวงพาณิชย์, กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ, สำนักยุโรป. (2560). ข้อมูลการค้าไทย-สหภาพเศรษฐกิจยูเรเชีย. สืบค้นจาก https://www.dtn.go.th/files/60/europe/EAEU_2s_0860.pdf
ไทยพับลิก้า. (พฤศจิกายน 2560). Connecting Asia ทาบ One Belt, One Road ทับ EEC โอกาสร่วมทางยุทธศาสตร์ไทย-จีน เชื่อมโลกเชื่อมไทย 5 ด้าน. สืบค้นจาก https://thaipublica.org/2017/11/connecting-asia-one-belt-one-road-bbl-semina/
มูลนิธิสถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลัง. (ม.ป.ป.). TPP ความตกลงที่ไทยไม่เข้าร่วม. สืบค้นจาก https://www.fpri.or.th/wp/?p=1442#.W3eqx_kzbMx
ศูนย์ข้อมูลข่าวสาร กรมประชาสัมพันธ์, ASEAN Information Center. (ม.ป.ป.). ความตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (Trans-Pacific Partnership: TPP). สืบค้นจาก https://www.aseanthai.net/mobile_detail.php?cid=10&nid=4774
ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในจีน. (2556). เขตเศรษฐกิจภาคตะวันตก. สืบค้นจาก https://www.thaibizchina.com/thaibizchina/th/about-china/west.php
______. (ม.ป.ป.). มณฑลกานซู. สืบค้นจาก https://thaibizchina.com/country/sichuan/
______. (ม.ป.ป.). มณฑลเสฉวน. สืบค้นจาก https://thaibizchina.com/country/gansu/
______. (2559). หลากมุมมองกับโอกาสสินค้าไทยบนเส้นทางเศรษฐกิจ “R3A+” กรุงเทพฯ-คุนหมิง-เฉิงตู ตอนที่ 1. สืบค้นจาก https://thaibizchina.com/article/หลากมุมมองกับโอกาสสินค/
สุกัญญา ทองมา. (2557). โอกาสและสินค้าอุตสาหกรรมไทยในตลาดใหม่ “ยูเรเซีย: Eurasian Economic Union”. วารสาร สนย., 4(39), 4-5.
สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก. (2561). โครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี). สืบค้นจาก https://www.eeco.or.th/
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, สำนักวิชาการ. (2561). เส้นทางสายไหมศตวรรษที่ 21 กับโอกาสของไทย. สืบค้นจาก https://library2.parliament.go.th/ejournal/content_af/2561/apr2561-3.pdf
สถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา (องค์การมหาชน). (2561). โอกาสและผลกระทบภายใต้ความริเริ่ม Belt and Road. สืบค้นจาก https://forbesthailand.com/th/commentaries-detail.php?did=2264
Clark-Sestak, S. L. (2003). U.S. Bases in Central Asia. Virginia: Institute for Defense Analyses.
Eder, T. S. (2018). Mapping the Belt and Road initiative: this is where we stand [Map]. Retrieved from https://www.merics.org/en/bri-tracker/mapping-the-belt-and-road-initiative
Eurasian Economic Commission. (2017). Eurasian Economic Union: Facts and Figures. Moscow: EEC.
Beehner, L. (2005). Asia: U.S. Military Bases in Central Asia. Retrieved from https://www.cfr.org/backgrounder/asia-us-military-bases-central-asia
van Leijen, M. (2017). Twenty Chinese cities on Eurasian rail freight network. Retrieved from https://www.railfreight.com/corridors/2017/08/30/twenty-chinese-cities-on-eurasian-rail-freight-network/
North Atlantic Treaty Organization. (2017a). Office of the NATO Liaison Officer (NLO) in Central Asia (Archived). Retrieved from https://www.nato.int/cps/en/natohq/topics_107902.htm
______. (2017b). Relations with Uzbekistan. Retrieved from https://www.nato.int/cps/en/natohq/topics_22839.htm
Timofeev, I. (2017). Theses on Russia’s foreign policy and Global positioning (2017-2024). In A. Kortunov & S. Utkin (Eds.). Moscow: Center for Strategic Research.
The State Council the People’s Republic of China. (2015). Full text: Action plan on the Belt and Road Initiative. Retrieved from https://english.gov.cn/archive/publications/2015/03/30/content_281475080249035.htm
U.S. State Department, Bureau of Public Affairs. (2017). C5+1 Fact Sheet. Retrieved from https://www.state.gov/r/pa/prs/ps/2017/09/274386.htm
Vinokurov, E. (2017). Eurasian Economic Union: Current state and preliminary results. Russian journal of Economics, 3, 54-70. DOI:https://doi.org/10.1016/j.ruje.2017.02.004