รสวรรณคดีในบทกวีเดือนตุลา

Main Article Content

ฐานะมนตร์ กลิ่นจันทร์แดง

บทคัดย่อ

บทความนี้จุดมุ่งหมายที่จะวิเคราะห์บทกวีที่กล่าวถึงเหตุการณ์วันที่ 14 ตุลาคม  พ.ศ.2516 และ 6  ตุลาคม พ.ศ.2519 ตามทฤษฎีรสของวรรณคดีสันสกฤต เพื่อแสดงให้เห็นการนำทฤษฎีรสมาวิเคราะห์บทประพันธ์ประเภทกวีนิพนธ์หรือบทเพลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งวรรณคดีร่วมสมัย  และเพื่อทำความเข้าใจความหมายทางอารมณ์ที่กวีถ่ายทอดไว้ในงานเขียนอันนำไปสู่ความเข้าใจความหมายของเหตุการณ์เดือนตุลาทั้งสองเหตุการณ์ จากการศึกษาพบว่าอารมณ์ความรู้สึกต่อเหตุการณ์ที่แตกต่างกันส่งผลให้กวีถ่ายทอดภาวะอารมณ์และเหตุการณ์ในลักษณะต่างกัน บทกวีทั้งสองชุดจึงก่อปฏิกิริยาทางอารมณ์ขึ้นในใจผู้อ่านแตกต่างกัน  การแสดงภาวะความกล้าหาญ ความมุ่งมั่นของนิสิตนักศึกษาและประชาชนในเหตุการณ์14 ตุลาคม 2516 ทำให้ผู้อ่านได้รับวีรรส  สอดคล้องกับความรู้สึกถึงชัยชนะ  ขณะที่การแสดงภาวะทุกข์โศกต่อเหตุการณ์ 6  ตุลาคม  2519 ส่งผลให้ผู้อ่านได้รับกรุณารส สอดคล้องกับความรู้สึกถึงความพ่ายแพ้

This article aims  to analyze  poems representing  the events of 14th October  1973 and 6th October 1976  through the  use of the  Sanskrit literary theory, Rasa. Rasa theory is used to show itself as  a method   of criticizing contemporary works and to  reveal  the  emotional  meaning embedded in these works. The  results  show  that  the  poets  and  their  works are  affected by different emotional reactions  to   the  events. This produces  different reactions  in  the  readers. The  great courage of the rebels  in the  situation   on 14th October  1973 makes readers feel a sense of  vira,  bravery,   which  is coincident with the  feeling  of victory. The mourning of   the tragic happenings on 6th October 1976 makes readers feel karun, symphaty, which is coincident  with   the  feeling  of  loss.

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความ