กระบวนการพัฒนาชุมชนตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
คำสำคัญ:
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง, การพัฒนาชุมชน, การพึ่งพาตนเองบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาสภาพบริบทของบ้านแม่สูนน้อย ตำบลแม่สูน อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ ที่เอื้อต่อการพัฒนา 2. เพื่อศึกษาความรู้ความเข้าใจตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของประชาชนบ้านแม่สูนน้อย ตำบลแม่สูน อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ และ 3. เพื่อศึกษากระบวนการพัฒนาชุมชนสู่การเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงบ้านแม่สูนน้อย ตำบลแม่สูน อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ ใช้กลุ่มตัวอย่างบ้านแม่สูนน้อย จำนวน 204 คน โดยใช้แบบสอบถามและการสัมภาษณ์เชิงลึก เป็นเครื่องมือในการวิจัย และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์จำแนกเนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า 1. บ้านแม่สูนน้อยมีทุนของชุมชนประกอบด้วยทุนทางสังคม ทุนทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมและทุนทางวัฒนธรรมที่เอื้อต่อการพัฒนา ประชากรส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงมีอายุเฉลี่ย 55 ปี ประกอบอาชีพทางด้านการเกษตรเป็นอาชีพหลัก มีรายได้สม่ำเสมอแต่ไม่เพียงพอในการเหลือเก็บ 2. ด้านความรู้ความเข้าใจตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงพบว่า อยู่ในระดับมาก โดยที่ด้านคุณธรรมมีค่าเฉลี่ยระดับมากที่สุด มีการประยุกต์ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นทดแทนเทคโนโลยีสมัยใหม่ และมีการปลูกพืชไว้บริโภคในครัวเรือน 3. กระบวนการพัฒนาชุมชนพบว่ากระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการดำเนินงานพัฒนาหมู่บ้านอยู่ในระดับปานกลาง โดยจุดเริ่มต้นจากปัญหาขยะของชุมชนและปัญหาด้านเศรษฐกิจ โดยมีหน่วยงานภาครัฐเข้ามาส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการเรียนรู้
References
คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง. (2547). การประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
จำนงค์ อดิวัฒน์สิทธิ์. (2558). การวิจัยชุมชนโดยชุมชนเพื่อชุมชน. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนคร, 6(2), 1-8.
จำรัส โคตะยันต์. (2554). ความสำเร็จในการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงอยู่เย็น เป็นสุข. วารสารการบริหารท้องถิ่น, 4(3), 63-73.
ณัฏฐพัชร มณีโรจน์. (2560). การจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน Community based tourism management. วารสารวิชาการท่องเที่ยวไทยนานาชาติ. 13(2), 25-46.
นรินทร์ชัย พัฒนพงศา. (2546). การมีส่วนร่วมหลักการพื้นฐานเทคนิคและกรณี ตัวอย่าง. กรุงเทพฯ: ห้าเก้าแปดพริ้น.
นิสรา ใจซื่อ. (2559). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความสำเร็จในการเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง. วารสารสุทธิปริทรรศน์, 30(96), 108-120.
มูลนิธิชัยพัฒนา. (2564). การพึ่งพาตนเอง. สืบค้น 20 มีนาคม 2654, จาก https://www.chaipat.or.th/concept-and-theory-development
ยนตรการ จินะคำปา และศิวรักษ์ ศิวารมย์. (2560). กระบวนการพัฒนาต้นแบบชุมชนบริหารจัดการตนเอง : กรณีของตำบลชมภู อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่. วารสารบัณฑิตวิจัย, 8(1), 183-197.
วันชัย วัฒนศัพท์. (2553). คนไทยไม่ทอดทิ้งกัน : คู่มือการจัดการสร้างความปรองดองในระบบ บริการสาธารณสุข. ขอนแก่น: ศิริภัณฑ์ ออฟเซ็ท.
วิภาวี กฤษณะภูต. (2561). สภาพการพัฒนาหมู่บ้านสู่หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงในจังหวัดขอนแก่น. วารสารมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์, 35(2), 117-141.
สุขสรรค์ กันตะบุตร. (2561). การประยุกต์ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในองค์กรธุรกิจ. ปทุมธานี: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สุขสันต์ อิทธวิทยาวาทย์. (2559). ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง : การศึกษาแนวคิดและการประยุกต์ใช้ในสังคมไทย. วารสารวิจัยและพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฎเลย,11(38), 95-104.
Bloom, B.S. (1956). Taxonomy of Educational Objectives, the classification of educational goals – Handbook I: Cognitive Domain. New York: McKay.
Yamane, T. (1967). Statistic: An Introductory Analysis. New York: Harper and Row.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น