การบูรณาการหลักพุทธธรรม เพื่อพัฒนาภาวะผู้นำ พระสังฆาธิการ กรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • พระรณฤทธิ์ วินทะชัย มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • วิทยา จิตนุพงศ์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • สุรพล สุยะพรหม มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • ชัยสิทธิ์ ทองบริสุทธิ์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

คำสำคัญ:

การบูรณาการหลักพุทธธรรม, การพัฒนา, ภาวะผู้นำพระสังฆาธิการ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1. หลักพุทธธรรมและทฤษฎีภาวะผู้นำเชิงสถานการณ์ เพื่อพัฒนาภาวะผู้นำพระสังฆาธิการ 2. คุณลักษณะภาวะผู้นำพระสังฆาธิการกรุงเทพมหานคร และ 3. นำเสนอการบูรณาการหลักพุทธธรรมกับทฤษฎีภาวะผู้นำเชิงสถานการณ์ เพื่อพัฒนาภาวะผู้นำพระสังฆาธิการกรุงเทพมหานคร เป็นวิจัยแบบผสานวิธี การวิจัยเชิงปริมาณ เก็บข้อมูลแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างพระสงฆ์ในกรุงเทพมหานคร จำนวน 389 รูป วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสัมประสิทธิสหสัมพันธ์ การวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้การสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ โดยเลือกแบบเจาะจง จำนวน 17 รูป/คน และสนทนากลุ่มเฉพาะจากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 8 รูป/คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่า 1. หลักพุทธธรรมทุติยปาปณิกสูตรมีโครงสร้างเดียวกับใจความในพุทธศาสนา ที่ให้แก้ปัญหาตามเหตุปัจจัยด้วยปัญญา และพบแบบสำรวจที่มีประสิทธิภาพของทฤษฎีสถานการณ์ เพื่อทำความเข้าใจจัดการปัญหาตามสถานการณ์ 2. พระสังฆาธิการกรุงเทพมหานคร มีคุณลักษณะผู้นำตามหลักทุติยปาปณิกสูตร และสถานการณ์ในงาน โดยรวมระดับปานกลาง พระสังฆาธิการมีภาวะผู้นำแบบผสมผสาน 3. การบูรณาการหลักพุทธธรรมต้องพัฒนาภาวะผู้นำพระสังฆาธิการ ระบบงาน ประยุกต์ศิลปะวิทยาการที่ก้าวหน้า เพื่อแก้ปัญหาภายนอกตามสถานการณ์ และพัฒนาภายในตามหัวใจของพระพุทธศาสนา

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2540). คู่มือพระสังฆาธิการเรื่องการคณะสงฆ์และการศาสนา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ กรมการศาสนา.

กุลธิดา ลิ้มเจริญ. (2561). กระบวนการพัฒนาภาวะผู้นำเพื่อสันติภาพเชิงพุทธบูรณาการ (พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสันติศึกษา). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ชูชัย สมิทธิไกร. (2532). ค้นหาความเป็นผู้นำและประสานให้เข้ากับสถานการณ์. กรุงเทพฯ:บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด.

ทนง ทศไกร. (2561). กลยุทธ์การพัฒนาภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาตามหลักทุติยปาปณิกสูตร ในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์เขต 1 (พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพุทธบริหารการศึกษา). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ธัญวิทย์ ศรีจันทร์. (2558). รูปแบบและกลยุทธ์การพัฒนาภาวะผู้นำในศตวรรษที่ 21 ของกรมการองค์กรนิสิตนักศึกษา (ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาอุดมศึกษา). มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธิติวุฒิ หมั่นมี. (2558). หลักพุทธธรรมกับการบริหารในยุคโลกาภิวัตน์. สืบค้น 20 กรกฎาคม 2565, จาก https://www.gotoknow.org/posts/582135

พระธรรมโกศาจารย์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต). (2549). พุทธวิธีบริหาร. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาธฤติ รุ่งชัยวิทูร. (2556). รูปแบบการพัฒนาพระสังฆาธิการเพื่อประสิทธิภาพการบริหารกิจการคณะสงฆ์ (พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหานพพล กนฺตสีโล. (2557). การพัฒนาภาวะผู้นำของพระสังฆาธิการในการบริหารงานคณะสงฆ์ภาค 15 (พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาศรณชัย มหาปุญฺโญ. (2556). การพัฒนาการบริหารกิจการคณะสงฆ์ของพระสังฆาธิการในยุคโลกาภิวัตน์ (พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ระเบียบการปกครองคณะสงฆ์. (2541). วิทยาพระสังฆาธิการ 2. สืบค้น 2 มิถุนายน 2562, จาก http://www.watmoli.com/new/wittaya-two/1823/

สุนทร โคตรบรรเทา. (2560). ภาวะผู้นำในองค์การสถานศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ปัญญาชน.

Yamane, T. (1967). Statistic: An Introductory Analysis. New York: Harper and Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-10-17

How to Cite

วินทะชัย พ., จิตนุพงศ์ ว., สุยะพรหม ส., & ทองบริสุทธิ์ ช. (2023). การบูรณาการหลักพุทธธรรม เพื่อพัฒนาภาวะผู้นำ พระสังฆาธิการ กรุงเทพมหานคร. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 12(5), 61–75. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jssr/article/view/263807