การก่อตัวของนโยบายระดับจังหวัดที่สร้างนวัตกรรมการพัฒนาที่ตอบโจทย์พื้นที่ กรณีศึกษา จังหวัดกาฬสินธุ์
คำสำคัญ:
แนวทางการบริหาร, ศูนย์การเรียนรู้, หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการก่อตัวของนโยบายระดับจังหวัดที่สร้างนวัตกรรมการพัฒนาที่ตอบโจทย์พื้นที่ กรณีศึกษา จังหวัดกาฬสินธุ์ ใช้การวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Method) โดยการวิจัยเชิงปริมาณเป็นการสำรวจระดับความคิดเห็นต่อการก่อตัวนโยบาย (Policy Formation) ใช้แบบสอบถาม เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 408 คน ใช้ความถี่ ร้อยละ ในการวิเคราะห์ข้อมูลส่วนบุคคล ใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ในการวิเคราะห์ความคิดเห็นต่อการก่อตัวนโยบาย (Policy Formation) และการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างการก่อตัวนโยบายที่ส่งผลต่อแนวทางการสร้างนวัตกรรมพื้นที่โดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (r) และเชิงคุณภาพใช้การสนทนากลุ่ม และการสัมภาษณ์เชิงลึก เพื่อค้นหาความคิดเห็นในประเด็นอื่น ๆ ต่อการก่อตัวนโยบาย (Policy Formation) ระดับจังหวัดที่สร้างนวัตกรรมการพัฒนาที่ตอบโจทย์พื้นที่ จากคณะกรรมการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหาความยากจนระดับพื้นที่ในจังหวัดกาฬสินธุ์ ใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis) โดยพรรณนา (Descriptive) ตามสภาพข้อมูลจากการตีความตามวัตถุประสงค์การวิจัย
ผลการศึกษาพบว่า ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย จำนวน 208 คน คิดเป็นร้อยละ 51.0 มีอายุระหว่าง 41-54 ปี จำนวน 116 คน คิดเป็นร้อยละ 28.4 โดยมีรายละเอียดดังนี้ 1. ภาพรวมระดับความคิดเห็นต่อการก่อตัวนโยบาย (Policy Formation) ( =3.81) และทุกด้านอยู่ในระดับมาก คือ มิติด้านเศรษฐกิจ (
=4.10) มิติด้านทุนมนุษย์ (
=3.88) มิติด้านทรัพยากรธรรมชาติ (
=3.85) และมิติด้านสังคม (
=3.40) 2. ทุกมิติมีความสัมพันธ์ต่อการก่อตัวนโยบายและการกำหนดนโยบายที่ส่งผลต่อแนวทางการสร้างนวัตกรรมพื้นที่
References
ชาย โพธิสิตา. (2556). ศาสตร์และศิลป์แห่งการวิจัยเชิงคุณภาพ. กรุงเทพฯ: อมรริทร์พริ้นแอนด์พับลิชชิ่ง.
ทศพร ศิริสัมพันธ์. (2546). เทคนิควิธีการวิเคราะห์นโยบาย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
บัวบุตรี ศิริวัฒน์. (2557). กระบวนการกำหนดนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (E-education) เพื่อการพัฒนาด้านการศึกษาที่มีประสิทธิภาพ. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร, 20(3), 73-86.
พระครูปลัดวัชรพงษ์ วชิรปญฺโญ. (2560). ภาวะผู้นำเชิงพุทธเพื่อบูรณาการพัฒนาชุมชนในจังหวัดน่าน. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน, 6(2), 433-448.
พระปลัดประพจน์ สุปภาโต และคณะ. (2563). ทุนทางสังคมกับการพัฒนาชุมชนวัดสำโรงอำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 8(3), 828-840.
พิมพ์ลิขิต แก้วหานาม และคณะ. (2564). กลไกความร่วมมือเชิงพื้นที่เพื่อแก้ไขปัญหาความยากจน จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารการบริหารปกครอง, 10(2), 257-288.
วลีรัตน์ แสงไชย. (2558). ความเหลื่อมล้ำทางการคลังขององค์กรปกครองส่วนท็องถิ่นในเขตจังหวัดเชียงใหม่ : ภาพสะท้อนจากมุมอื่นและจากมุมเดียวกัน. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น, 9(2-4), 32-45.
วิมุต วานิชเจริญธรรม. (2564). กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา ความเสมอภาคทางการศึกษา The Great Gatsby Curve และทุนมนุษย์ของไทย. สืบค้น 27 กันยายน 2565, จาก https://www.eef.or.th/the-great-gatsby-curve-and-human
สำนักงานจังหวัดกาฬสินธุ์. (2561). แผนพัฒนาจังหวัดกาฬสินธุ์ 2561-2564. กาฬสินธุ์: สำนักงานจังหวัดกาฬสินธุ์.
เสน่ห์ ใจสิทธิ์ และคณะ. (2558). การบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อเสริมสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 4(2), 180-195.
หวัง จวินตัน และกฤชวรรธน์ โล่วัชรินทร์. (2565). การนำนโยบายแก้จนตรงเป้าไปปฏิบัติของสาธารณรัฐประชาชนจีน. วารสารรัฐประศาสนศาสตร์, (18)1, 39-57.
หวัง เต้าหมิง และวราวุฒิ เรือนคำ. (2564). แนวคิดนโยบายลดความยากจนของประธานาธิบดีสีจิ้นผิง. วารสารสุทธิปริทัศน์, 35(3), 249-270.
อำนวย มาลาทอง. (2557). ปัจจัยที่มีผลต่อการนำนโยบายสาธารณะไปปฏิบัติของบุคลากร องค์การบริหารส่วนตำบลทัพไทย อำเภอตาพระยา จังหวัดสระแก้ว. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 3(2), 134-143.
Dror, Y. (1964). The barriers facing policy science. American Behavioral Scientist, 7(5), 3-7.
______. (1971). Ventures in policy sciences: concepts and applications. New York: Elsevier.
Eyestone, R. (1971). The Threads of Public Policy: A Study in Policy Leader-ship. Indianapolis: Bobbs-Merrill.
Likert, R. A. (1932). Technique for the Measurement of Attitude. Archives Psychological, 3(1), 42-48.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น