เทยโบ : ความหลากหลายทางเพศกับการดำรงอยู่ของกิจกรรมเรือมมะม็วด ของกลุ่มชาติพันธุ์ไทย-เขมร ท่ามกลางสถานการณ์การระบาดของโควิด-19

ผู้แต่ง

  • เตชภณ ทองเติม มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ
  • พิทักษ์ มีดี มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ
  • จีรนันท์ แก้วมา มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ

คำสำคัญ:

ความหลากหลายทางเพศ, เรือมมะม็วด, กลุ่มชาติพันธุ์ไทย-เขมร, การแพทย์พื้นบ้าน, โควิด 19

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ศึกษากระแสโลกาภิวัตน์ที่ได้เปลี่ยนแปลงสังคมและวัฒนธรรมไปอย่างรวดเร็วโดยเฉพาะการยอมรับความหลากหลายทางสังคมและวัฒนธรรมให้เข้ามามีบทบาทสำคัญในระดับชีวิตประจำวัน การศึกษาครั้งนี้จึงมุ่งทำความเข้าใจ บทบาทของกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศและมุมมองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ไทย-เขมร ที่มีต่อบทบาทของกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศในกิจกรรมเรือมมะม็วด สำหรับวิธีการศึกษาได้อาศัยการเก็บข้อมูลด้วยการวิจัยเชิงคุณภาพผ่านการเก็บข้อมูลด้วยการวิจัยเชิงเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึก และการสังเกตการณ์อย่างมีส่วนร่วม โดยมีพื้นที่การศึกษาเป็นหมู่บ้านของกลุ่มชาติพันธุ์ไทย-เขมร จำนวน 6 หมู่บ้าน มีผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 139 คน เมื่อดำเนินการเก็บข้อมูลครบถ้วนแล้วนำข้อมูลที่ได้รับมาวิเคราะห์เชิงเนื้อหาและแก่นสาระ

ผลการศึกษาพบว่า 1. กลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศเข้ามามีบทบาทในกิจกรรมเรือมมะม็วดใน 2 บทบาทหลัก คือ ครูมะม็วด และร่างทรงมะม็วด ซึ่งได้เปิดพื้นที่ให้กลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศได้มีส่วนร่วมมากขึ้นในกิจกรรม และ 2. อำนาจเชิงบารมีของผู้มีความหลากหลายทางเพศที่ประกอบกิจกรรมเรือมมะม็วดเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้คนในกลุ่มชาติพันธุ์ไทย-เขมร ยอมรับในบทบาทซึ่งไม่มีความแตกต่างจากการประกอบกิจกรรมโดยผู้ที่เป็นเพศหลัก

References

คุณวัฒน์ ดวงมณี และคณะ. (2561). การศึกษาอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของชนสี่เผ่าในจังหวัดศรีสะเกษ (รายงานการวิจัย). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

เชิดศักดิ์ ฉายถวิล. (2550). ดนตรีประกอบการรักษาโรคด้วยกิจกรรมเรือมมะม๊วต ของกลุ่มชาติพันธุ์เขมร กรณีศึกษาพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม.

ธันยพงศ์ สารรัตน์ และคณะ. (2563). พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ อัตลักษณ์ ภูมิปัญญาท้องถิ่นบ้านกระเบา บ้านหนองบัว และบ้านจะกุด ตำบลโนนสูง อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารพุทธมัคค์ ศูนย์วิจัยธรรมศึกษา สำนักเรียนวัดอาวุธวิกสิตาราม, 5(2), 105-120.

นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ. (2563). แนวคิดเรื่อง ความหลากหลายทางเพศ ในกระบวนทัศน์วิทยาศาสตร์และสังคมศาสตร์. สืบค้น 16 พฤษภาคม 2565, จากhttp://ojslib3.buu.in.th/index. huso2 /view/7587

บริษัท บางกอก มีเดีย แอนด์ บรอดคาสติ้ง จำกัด. (2563). ชาวสุรินทร์ ทำพิธีโบราณรำแม่มด ไล่โควิด-19. สืบค้น 16 พฤษภาคม 2565, จากhttps://www.pptvhd36.com/news

ปรานี วงษ์เทศ. (2544). เพศและวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ: ศิลปวัฒนธรรม.

พิมลพรรณ อิศรภักดี. (2558). ต่างวัยต่างทัศนะต่อความหลากหลายทางเพศในสังคมไทย. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.

มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์. (2558). INDONESIA'S SEX GENDER SEXUALITY. สืบค้น 16 พฤษภาคม 2565, จาก https://sgsindonesian.wordpress.com

ยศธร ไตรยศ. (2559). นัต : พลังศรัทธาของมวลชน. สืบค้น 16 พฤษภาคม 2565, จาก https://www.thairath.co.th/lifestyle/woman/661006

ศรีศักร วัลลิโภดม. (2559). เพศและวัฒนธรรม ตำราอมตะ มานุษยวิทยาไทย. สืบค้น 16 พฤษภาคม 2565, จาก https://www.matichon.co.th/entertainment/arts-culture/news_309423

ศิริกมล สายสร้อย. (2551). เขมรในอรัญประเทศ. สระแก้ว: โรงเรียนอรัญประเทศ.

อุทิศ ทาหอม และสุนันท์ เสนารัตน์. (2561). การประยุกต์ใช้ทุนทางวัฒนธรรมกับการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นอีสาน. วารสารวนัมฎองแหรกพุทธศาสตรปริทรรศน์, 5(1), 15-24.

Humaira, J. & Anila, K. (2017). Myths about Hijras (Male-to-Female Transgender of Hijra Community): Role of Gender and Commonly Held Belief about Them. Foundation University Journal of Psychology, 1(4), 63-76.

Win Maung, Y. (2015). Bagan 37 Pagodas and 37 Nats. Mandalay: Cho Cho Myint.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-10-17