การจัดการการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ อำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา: 117 ปี ประพาสต้นนครน้อยของพระพุทธเจ้าหลวง

ผู้แต่ง

  • นฤมล ญาณสมบัติ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
  • เมธารัตน์ จันตะนี มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา

คำสำคัญ:

การจัดการ, การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์, ประพาสต้น

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. ศึกษาศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์การเสด็จประพาสต้นนครน้อย 2. นำเสนอแนวทางการจัดการการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์การเสด็จประพาสต้นนครน้อย 3. สร้างกิจกรรมการท่องเที่ยวให้กับชุมชนเพื่อสนับสนุนแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 45 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสังเกต การสัมภาษณ์เชิงลึก และการสนทนากลุ่มใช้กลุ่มเป้าหมาย 15 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหาและเขียนบรรยายเชิงพรรณนา

ผลการวิจัยพบว่า 1. ศึกษาศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์การเสด็จประพาสต้นนครน้อย ได้แก่ ด้านการดึงดูดนักท่องเที่ยว ด้านการรองรับนักท่องเที่ยว ด้านการบริหารจัดการ 2. แนวทางการจัดการการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์การเสด็จประพาสต้นนครน้อย อำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีแนวทางจัดการ 5 ด้าน คือ 1) ด้านทรัพยากร 2) ด้านการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสีย 3) ด้านลูกค้าหรือนักท่องเที่ยว 4) ด้านกิจกรรมการท่องเที่ยวในพื้นที่ และ 5) ด้านผลกระทบที่เกิดจากการท่องเที่ยว 3. สร้างกิจกรรมการท่องเที่ยวให้กับชุมชนเพื่อสนับสนุนแหล่งท่องเที่ยว โดยออกแบบเส้นทางท่องเที่ยว โปรแกรมการท่องเที่ยว จัดทำแผนที่ท่องเที่ยว และสร้างสื่อประชาสัมพันธ์ผ่านช่องทางออนไลน์

References

กนกกานต์ แก้วนุช. (2564). การจัดการการท่องเที่ยวและการพัฒนาชุมชนการท่องเที่ยวภายใต้พลวัตโลก. สมุทรสาคร: พิมพ์ดี.

จุฑาธิปต์ จันทร์เอียด และคณะ. (2561). การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงประสบการณ์ในพื้นที่อำเภอวัฒนานคร จังหวัดสระแก้ว. วารสาร ศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 10(2), 156-187.

ชัชพล ทรงสุนทรวงศ์. (2565). การจัดการทรัพยากรการท่องเที่ยวและโรงแรมอย่างยั่งยืน (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ณัฐดนัย นาคชัยวัฒนา และคณะ. (2565). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์บ้านหัวแท ตำบลบ้านกร่าง อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก. วารสาร การบริหารนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น, 8(1), 67-80.

ภาณุวัฒน์ ชูรีรัง และพีรญา ชื่นวงศ์. (2564). กลยุทธ์การจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ อุทยานแห่งชาติถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน. วารสารการวิจัยกาสะลองคำ, 15(2), 97-106.

มณีรัตน์ สุขเกษม และนุชเนตร กาฬสมุทร. (2560). การจัดการการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน: เมืองมรดกโลก-มรดกวัฒนธรรมมีชีวิต กรณีศึกษา : เมืองประวัติศาสตร์สุโขทัยและเมืองบริวาร. วารสาร มทร.อีสาน ฉบับมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 5(1), 160-178.

วารุณี มิลินทปัญญา และคณะ. (2564). แนวทางการพัฒนาโลจิสติกส์การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์แบบมีส่วนร่วมชุมชนตำบลพันท้ายนรสิงห์ จังหวัดสมุทรสาคร. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 11(1), 232-243.

วีระพงศ์ เกียรติไพรยศ และคณะ. (2561). การจัดการแหล่งท่องเที่ยวตามเส้นทางโบราณสถานล้านนาที่ปรากฎในวรรณกรรมชินกาลมาลีปกรณ์. วารสารวิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง, 7(2), 239-251.

สกาวรัตน์ บุญวรรโณ และคณะ. (2563). ย้อนอดีต มองปัจจุบัน กำหนดอนาคต: ทิศทางการจัดการท่องเที่ยวเมืองเก่าตะกั่วป่าผ่านการมีส่วนร่วมของชุมชน. วารสาร วิชาการเครือข่ายบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฎภาคเหนือ, 10(2), 127-140.

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ. (2477). จดหมายเหตุ เรื่อง การเสด็จประพาสต้นในรัชกาลที่ 5 พิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงศพมหาเสวกตรี พระยานิพัทธราชกิจ (อ้น พรพัลลภ). กรุงเทพฯ: โสภณพิพรรฒธนากร.

สุดธิดา อิทธาภิชัย. (2561). การจัดการการท่องเที่ยวชุมชนเพื่อสร้างอัตลักษณ์ความเป็นตัวตนของชุมชนบ้านขุนสมุทรจีน จังหวัดสมุทรปราการ (รายงานผลการวิจัย). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

อดิศร ศักดิ์สูง. (2556). ประวัติศาสตร์เพื่อการท่องเที่ยวในประเทศไทย (พิมพ์ครั้งที่ 2). สงขลา: มหาวิทยาลัยทักษิณ.

Collier, A., & Harraway, S. (1997). Principle of Tourism. Auckland: Longman.

Griffin, J. J., & Mahon, J. F. (1997). The corporate social Performance and corporate financial performance debate: Twenty-five years of incomparable research. Business & society, 36(1), 5-31.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-10-17

How to Cite

ญาณสมบัติ น., & จันตะนี เ. (2023). การจัดการการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ อำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา: 117 ปี ประพาสต้นนครน้อยของพระพุทธเจ้าหลวง. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 12(5), 205–219. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jssr/article/view/263532