การสำรวจและติดตามการดำเนินงานการปฏิรูป ด้านกฎหมายของประเทศไทย
คำสำคัญ:
การดำเนินงาน, การปฏิรูป, กฎหมายบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ติดตามและประเมินการดำเนินงานด้านการปฏิรูปประเทศด้านกฎหมาย (2) ทราบปัญหาและข้อเสนอแนะการดำเนินงานการปฏิรูปประเทศด้านกฎหมาย โดยการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เอกสาร (Document analysis) บันทึกการสนทนากลุ่ม(Focus group discussion) การวิเคราะห์แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง (Semi - structure Interview) และการประชุมกลุ่มเชิงปฏิบัติการ (Workshop group meeting)
ผลจากการศึกษาพบว่า ผลการดำเนินการที่ผ่านมามี 3 กิจกรรมปฏิรูปที่ดำเนินการสำเร็จและบรรลุตามตัวชี้วัดและเป้าหมายที่ได้ตั้งไว้ ได้แก่ (1) จัดให้มีกลไกยกเลิกหรือแก้ไขปรับปรุงกฎหมายที่สร้างภาระหรือเป็นอุปสรรคต่อการดำรงชีวิตหรือการประกอบอาชีพของประชาชน (2) จัดให้มีกลไกกำหนดส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐซึ่งมีหน้าที่ควบคุม กำกับดูแลและบังคับการให้เป็นไปตามกฎหมาย นำเทคโนโลยีมาใช้ในการดำเนินการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบังคับใช้กฎหมาย และ (3) จัดให้มีกลไกช่วยเหลือประชาชนในการจัดทำและเสนอร่างกฎหมาย อย่างไรก็ดี ยังคงมีปัญหาในการดำเนินการเนื่องจากมีแผนงานจำนวนมากที่เกี่ยวข้องกับการปฏิรูปด้านกฎหมาย อีกทั้งขั้นตอนการปฏิรูปด้านกฎหมายมีความสลับซับซ้อนส่งผลให้เกิดปัญหาด้านการนำนโยบายไปปฏิบัติ ดังนั้น ควรกำหนดการดำเนินงานการปฏิรูปประเทศด้านกฎหมายเป็น 3 ระยะ คือ มาตรการระยะสั้น มาตรการระยะกลาง และมาตรการระยะยาว ตามหลักการบริหาร 4M
References
คณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านกฎหมาย. (2564). แผนการปฏิรูปประเทศด้านกฎหมาย (ฉบับปรับปรุง). สืบค้น 6 ธันวาคม 2564, จาก<http://nscr.nesdc.go.th/nesdc_uat/wp-content/uploads/2021/07/แยกด้าน-03-กฎหมาย.pdf>
ราชกิจจานุเบกษา.(2564). ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องแผนการปฏิรูปประเทศฉบับปรับปรุง. เล่ม 138 ตอนพิเศษ 44 ง. สืบค้น วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2564, จากhttp://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2564/E/044/T_0001.PDF
สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย. (2557). การวิเคราะห์ผลกระทบในการออกกฎหมาย. สืบค้น 14 ธันวาคม 2564,จากhttps://tdri.or.th/wp-content/uploads/2015/04/ria-final.pdf
สำนักงานการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2564). แผนขับเคลื่อนกิจกรรมปฏิรูปที่จะส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อประชาชนอย่างมีนัยสำคัญ (BIG ROCK) ภายใต้แผนการปฏิรูปประเทศ (ฉบับปรับปรุง). สืบค้น 6 ธันวาคม 2564. จากhttp://nscr.nesdc.go.th/wp-content/uploads/2021/ 10/BR03.pdf
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. (2562). คำอธิบายสาระสำคัญของพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562. สืบค้น 10 ธันวาคม 2564, จากhttps://www.lawreform.go.th/uploads/files/1579598846-gcl15-4s9jt.pdf
Drucker. P.F. (1998). Management challenges for 2nd century. New York: Harper Business.
________. (2005). Management: Tasks, Responsibilities, Practices. New York: Truman Talley Books.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น