ความสามารถการปฏิบัติการแพทย์ทางไกลและทักษะการสื่อสารระหว่างบุคคลของนิสิตคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ผู้แต่ง

  • อโณทัย อินต๊ะกาวิล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • สุกัญญา แช่มช้อย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คำสำคัญ:

ความสามารถ, การปฏิบัติการแพทย์ทางไกล, ทักษะการสื่อสารระหว่างบุคคล

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. ศึกษาระดับความสามารถการปฏิบัติการแพทย์ทางไกลและทักษะการสื่อสารระหว่างบุคคล 2. ศึกษาความสัมพันธ์ของการปฏิบัติการแพทย์ทางไกลและทักษะการสื่อสารระหว่างบุคคล ผู้ให้ข้อมูล คือ นิสิตแพทย์ชั้นปีที่ 6 รวมทั้งหมด 160 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามระดับความสามารถการปฏิบัติการแพทย์ทางไกลและทักษะการสื่อสารระหว่างบุคคลของนิสิตแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยสถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01

ผลการวิจัยพบว่า 1. ระดับความสามารถการปฏิบัติการแพทย์ทางไกลของนิสิตแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยภาพรวมอยู่ในระดับดี 2.  การปฏิบัติการแพทย์ทางไกลและทักษะการสื่อสารระหว่างบุคคลมีความสัมพันธ์เชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และความสัมพันธ์ของการปฏิบัติการแพทย์ทางไกลและองค์ประกอบรายด้านทักษะการสื่อสารระหว่างบุคคล ด้านการสนับสนุนเกื้อกูลต่อคู่สนทนามีค่าสูงที่สุด

References

กรเกียรติ สนิทวงศ์. (2563). ระบบการแพทย์ทางไกล (Telemedicine) นวัตกรรมการรักษา. วารสาร ฬ.จุฬา, 50(5), 5-15.

คณะแพทยศาสตร์. (2560). หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรปรับปรุง 2560). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ณัฐวุฒิ ล่องทอง. (2563). ทักษะการสื่อสารระหว่างบุคคลในการทำงาน (Interpersonal Communication Skills in Workplace). สืบค้นเมื่อ 20 ธันวาคม 2563, จาก https://lms.thaimooc.org/courses/course-v1:CMU+CMU040+2020/about

ดารารัตน์ ชูวงศ์อินทร์ และคณะ.(2563). การสื่อสารทางการพยาบาลในยุคการแพทย์เปลี่ยนวิถี. วารสารวิชาการราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์, 2(2), 25-38.

ธนยศ สุมาลย์โรจน์ และคณะ. (2561). ความเป็นมืออาชีพทางการแพทย์: การพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพแบบวัด. วารสารพฤติกรรมศาสตร์เพื่อการพัฒนา, 10(1), 126-144.

ธีรภัทร์ อดุลยธรรม. (2563). Cloud meeting-Telemedicine กับบุคลากรทางการแพทย์ในยุคโควิด-19. Journal of The Department of Medical Services, 45(2), 5-7.

ธีระพงษ์ ทศวัฒน์ และปิยะ กมลมหิวรรณ. (2563). การพัฒนาคุณภาพชีวิตทางสังคมของประชาชนและการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19). วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 7(9), 40-55.

แพทยสภา เรื่อง แนวทางปฏิบัติการแพทย์ทางไกลหรือโทรเวช (Telemedicine) และคลินิกออนไลน์. (2563, 9 กรกฎาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 137 ตอนพิเศษ 166 ง. หน้า 52-54.

วิภาวัณย์ อรรณพพรชัย และชวภณ กิจหิรัญกุล. (2564). การประยุกต์ใช้ระบบการแพทย์ทางไกลเพื่อการพัฒนาคุณภาพการให้บริการทางการแพทย์ฉุกเฉินทางไกลในชนบท. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเวสเทิร์น มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 7(3), 258-271.

อโณทัย จตุพร. (2563). การประเมินความเสี่ยงและการจัดการบุคลากร ทางการแพทย์ที่สัมผัสเชื้อไวรัสโควิด-19. บูรพาเวชสาร, 7(1), 127-133.

Krejcie, R.V., & D.W. Morgan. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607–610.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-15