ความรู้ความเข้าใจและความสัมพันธ์ของห่วงโซ่อุปทาน การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนในจังหวัดภูเก็ต

ผู้แต่ง

  • นัทนิชา โชติพิทยานนท์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

ความรู้ความเข้าใจ, ห่วงโซ่อุปทาน, การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาระดับความรู้ความเข้าใจในการการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติในจังหวัดภูเก็ต 2) เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจของปัจจัยต้นน้ำ ปัจจัยกลางน้ำ และปัจจัยปลายน้ำของการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนในจังหวัดภูเก็ต และ 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์และการถดถอยเชิงพหุของปัจจัยทางด้านต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำในห่วงโซ่อุปทานของการท่องเที่ยวแบบยั่งยืนในจังหวัดภูเก็ต ใช้การวิจัยเชิงปริมาณ เป็นวิจัยเชิงสำรวจ เก็บข้อมูลแบบสอบถามจากนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่มีต่อการท่องเที่ยวในจังหวัดภูเก็ต กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ จำนวน 400 ราย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุ

ผลการวิจัยพบว่า 1) ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน พบว่า นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติมีความรู้อยู่ในระดับมาก 2) ภาพรวมระดับความพึงพอใจของปัจจัยต้นน้ำอยู่ในระดับมาก ปัจจัยกลางน้ำอยู่ในระดับมากที่สุด และปัจจัยปลายน้ำอยู่ในระดับมาก และ 3) ค่าความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต้นน้ำ กับปัจจัยปลายน้ำ มีความสัมพันธ์เชิงบวกอยู่ในระดับสูง (rxy=.565) การวิเคราะห์ค่าความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยกลางน้ำกับปัจจัยปลายน้ำ มีความสัมพันธ์เชิงบวกอยู่ในระดับสูง (rxy=609) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ 0.01

References

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2544). หลักสถิติ (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

กฤติยา เกิดผล และปรัชภรณ์ เศรษฐเสถียร. (2560). การพัฒนาระบบบริหารจัดการด้านโลจิสติกส์โซ่อุปทานการท่องเที่ยว ในจังหวัดจันทบุรี. วารสารวิจัยราชมงคลกรุงเทพ, 14(1), 112-124.

ณัฏฐกฤติ นิธิประภา. (2564). บทวิเคราะห์สถานการณ์ MSME สาขาธุรกิจท่องเที่ยวปี 2564 และแนวโน้มปี 2565. ฝ่ายวิเคราะห์สถานการณ์และเตือนภัยทางเศรษฐกิจ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. สืบค้น 30 กันยายน 2564, จากhttps://www.sme.go.th/upload/mod_download/download-20211012232619.pdf

เถกิงศักดิ์ ชัยชาญ. (2556). รายงานการวิจัยการพัฒนาคุณภาพการท่องเที่ยวเชิงนิเวศในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. นครราชสีมา: คลังปัญญา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.

ทิวาวรรณ ศิริเจริญ กันหา. (2563). แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน กรณีศึกษาชุมชนบ้านห้วยหญ้าเครือ อำเภอน้ำหนาว จังหวัดเพชรบูรณ์. วารสาร วไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 10(3), 100-111.

ทัศนีย์ สิราริยกุล. (2560). การจัดการโซ่อุปทานสำหรับการท่องเที่ยวในชุมชนบ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี. วารสารรัชต์ภาคย์, 11(24), 101-114.

สมชาย ชมภูน้อย. (2560). แนวทางการเพิ่มมูลค่าท่องเที่ยวชุมชน กรณีศึกษา ชุมชนบ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี. สืบค้น 30 กันยายน 2564, จาก http://www.dsdw2016.dsdw.go.th/doc_pr/ndc_2560-2561/PDF/8541e/%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%A1.pdf

สากล จริยวิทยานนท์. (2542). ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคม. กรุงเทพฯ: คณะพัฒนาสังคม สถาบันบัณฑิตพัฒนาบริหารศาสตร์.

สำนักงานจังหวัดภูเก็ต กลุ่มงานยุทธศาสตร์และข้อมูลเพื่อการพัฒนาจังหวัด. (2559). บรรยายสรุปข้อมูลจังหวัดภูเก็ต. สืบค้น 30 กันยายน 2564 จาก https://www.phuket.go.th/webpk/file_data/intropk/dataPK59.pdf

Best J. W. (1981). Research in Education (4th ed.). New Jersey: Prentice Hall Inc.

Cohen, J. (1988). Statistical Power Analysis for the Behavioral Sciences (2nd ed.). Hillsdale, New Jersey: Lawrence Erlbaum Associates Publishers.

Likert, R. (1932). A technique for the measurement of attitudes. Archives of Psychology, 140, 44–53.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-02

How to Cite

โชติพิทยานนท์ น. . (2022). ความรู้ความเข้าใจและความสัมพันธ์ของห่วงโซ่อุปทาน การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนในจังหวัดภูเก็ต. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 11(3), 352–364. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jssr/article/view/260032