ความผันผวนอัตราผลตอบแทนของอัตราดอกเบี้ยเงินฝากบนระบบการเงิน แบบไร้ศูนย์กลาง

ผู้แต่ง

  • เสาวรี วิจิตรนพคุณ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • ศิริขวัญ เจริญวิริยะกุล มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

ระบบการเงินไร้ศูนย์กลาง, เงินดิจิทัล, ความผันผวนอัตราผลตอบแทนของอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ความผันผวนอัตราผลตอบแทนของอัตราดอกเบี้ยเงินฝากสกุลเงินดิจิทัลหรือคริปโทเคอร์เรนซีบนระบบการเงินแบบไร้ศูนย์กลาง โดยเก็บข้อมูลจากแพลตฟอร์ม AAVE Protocol ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มที่มีชื่อเสียงและมีมูลค่าสินทรัพย์มากบนระบบการเงินแบบไร้ศูนย์กลางประเภทการกู้ยืม โดยเก็บข้อมูลทุติยภูมิแบบรายวันของเงินฝากสกุลเงินดิจิทัลประเภท stable coin ทั้งหมด 7 สกุลเงิน ได้แก่ BUSD DAI GUSD sUSD TUSD USDC และ USDT ตั้งแต่วันที่ 9 มกราคม 2563 ถึง วันที่ 31 ธันวาคม 2564 จำนวนทั้งหมด 723 ข้อมูล โดยใช้เครื่องมือทางเศรษฐมิติ Generalized Autoregressive Conditional Heteroscedasticity (GARCH) เป็นเครื่องมือในการศึกษา

จากการวิเคราะห์ความผันผวนพบว่าเงินฝากสกุลดิจิทัลที่มีอัตราผลตอบแทนสูงที่สุดเมื่อเทียบกับความเสี่ยงแล้วพบว่าไม่ได้มีความเสี่ยงสูงที่สุด ยิ่งไปกว่านั้นผลการวิเคราะห์ด้วยแบบจำลอง GARCH พบว่าความผันผวนในอดีตของเงินฝากสกุลเงินดิจิทัลส่งผลกระทบต่อสกุลเงินGUSD มากที่สุด รองลงมา sUSD USDC USDT DAI BUSD และ TUSD ตามลำดับ และเงินฝากสกุลดิจิทัลที่มีค่าความคลาดเคลื่อนในอดีตสำหรับเหตุการณ์ที่ไม่สามารถคาดการณ์ได้ส่งผลกระทบต่อสกุลเงินUSDC มากที่สุด รองลงมา TUSD DAI USDT BUSD sUSD และ GUSD ตามลำดับ 

References

เธียรศักดิ์ พลาดิศัยเลิศ และธนิศา นุ่มนนท์. (2561). การเปรียบเทียบผลการทำนายราคาบิทคอยน์ ด้วยการเรียนรู้ของเครื่องแบบต่าง ๆ. วารสารเทคโนโลยีสารสนเทศลาดกระบัง, 6(1), 1-9.

นภนวลพรรณ ภวสันต์. (2564). DecentalizedFinance (DeFi). สืบค้น 26 ธันวาคม 2564, จาก https://www.set.or.th/TH/Template3/Articles/2564/070664.pdf

ศิริขวัญ เจริญวิริยะกุล และยุทธนา เศรษฐปราโมทย์. (2563). ความผันผวนของราคาน้ำมันอัตราแลกเปลี่ยน และผลตอบแทนของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย : วิธีพลวัต. วารสารวารสารบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์และการสื่อสาร, 15(1), 135-149.

ศุภกาญจน์ พุ่มจันทร์. (2562). การวิเคราะห์ความผันผวนของอัตราผลตอบแทนของตลาด หลักทรัพย์ในประเทศไทย สหรัฐอเมริกา อังกฤษและญี่ปุ่น (วิทยานิพนธ์เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

______. (2564). อาชาญากรรมในคริปโต Nft Scam, Rug Pull รู้ไว้ไม่โดนหลอก!. สืบค้น 27 กุมภาพันธ์ 2565, จาก https://zipmex.com/th/learn/crime-in-crypto

AAVE. (2021). Markets. Retrieved December 26, 2021, from http://aave.com

Bollerslev, T. (1986). Generalized autoregressive conditional heteroskedasticity. Journal of econometrics, 31(3), 307-327.

Chainalysis. (2021). Ranging for individual weight metrics feeding into Global Depi Adoption Index. Retrieved December 26, 2021, from www.chainanlysis.com

Defipulse. (2021). The Defi Leaderboard. Retrieved November 5, 2021, from http://defipulse.com/

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-10-17

How to Cite

วิจิตรนพคุณ เ., & เจริญวิริยะกุล ศ. . (2023). ความผันผวนอัตราผลตอบแทนของอัตราดอกเบี้ยเงินฝากบนระบบการเงิน แบบไร้ศูนย์กลาง. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 12(5), 116–126. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jssr/article/view/258978