รูปแบบการบริหารจัดการงานสาธารณสงเคราะห์ ด้านธนาคารโค-กระบือ จังหวัดสุรินทร์
คำสำคัญ:
การบริหารจัดการ, งานสาธารณสงเคราะห์, ธนาคารโค-กระบือบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพทั่วไป กระบวนการ และเสนอรูปแบบการบริหารจัดการงานสาธารณสงเคราะห์ด้านธนาคารโค-กระบือในจังหวัดสุรินทร์ เป็นการวิจัยแบบผสานวิธีทำการวิจัยเชิงคุณภาพสัมภาษณ์เจาะลึกผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 18 รูป/คน และเก็บข้อมูลจากการสนทนากลุ่มจำนวน 8 รูป/คน ทำการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ส่วนการวิจัยเชิงปริมาณ เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง 110 คนเป็นสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชน
ผลการวิจัยพบว่า สภาพทั่วไปของกลุ่มวิสาหกิจ มีอาชีพเกษตรกรรม ขาดแคลนปุ๋ยจุดอ่อนมีปัญหาหนี้สินครัวเรือน ขาดความรับผิดชอบ ขาดทักษะการดูแลสุขภาพโคกระบือ ด้านโอกาสกลุ่มได้รับการสนับสนุนเรื่องการตลาดจากภาครัฐด้านปัญหาอุปสรรคสภาพความเปลี่ยนแปลงดินฟ้าอากาศและโรคระบาด ในด้านกระบวนการบริหารจัดการพบว่ามีการวางแผนเตรียมความพร้อมทั้งคนและสถานที่ จัดตั้งวัตถุประสงค์ของกลุ่มเพื่อให้เกิดความมั่นคง สมาชิกปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ ส่งเสริมแผนปรับปรุงสายพันธุ์ สมาชิกกลุ่มมีศีล 5 เป็นกรอบดำเนินงาน สร้างจิตอาสาพัฒนาสมาชิกให้มีศักยภาพ ทำทะเบียนประวัติสมาชิกและโค-กระบือ พัฒนาวิธีการเลี้ยงและใช้เทคโนโลยีช่วยในการเลี้ยงผลการวิจัยเชิงปริมาณ โดยรวมทุกด้านอยู่ในระดับมาก รูปแบบการบริหารจัดการ VIGOR Model V = volunteer (จิตอาสา) I = Instructions (คำแนะนำ) G = Goal (มีเป้าหมาย) O = Observe (เรียนรู้ สังเกตุ) R = Race (แข่งขัน)
References
กลุ่มข้อมูลข่าวสารสารสนเทศและการสื่อสาร. (2555). สรุปข้อมูลจังหวัดสุรินทร์. สุรินทร์: สำนักงานจังหวัดสุรินทร์.
ชฎารัตน์ บุญจันทร์. (2552). ระบบเกษตรและสภาพการเลี้ยงโคเนื้อของเกษตรผู้เลี้ยงโคเนื้อพื้นเมือง และโคเนื้อลูกผสม อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร มหาบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนาการเกษตร). สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
ผกามาส รุ่งเรือง. (2555). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อความสำเร็จของโครงการธนาคารโค-กระบือเพื่อเกษตรกร ตามพระราชดำริ ในพื้นที่จังหวัดสกลนคร. (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร มหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการจัดการเกษตร). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์.
พระครูพิศิษฏ์ประชานาถ (ประยูร นนฺทิโย). (2563). ถอดบทเรียนโครงการธนาคารโคกระบือและธนาคารน้ำใต้ดินของหลวงพ่อแดง นนฺทิโย. พระนครศรีอยุธยา: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระครูสุทธิพงศ์มุนี. (2560). การพัฒนาการบริหารจัดการสาธารณสงเคราะห์เพื่อชุมชนของวัดในจังหวัดชลบุรี (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ. (2561). คู่มือการปฏิบัติงาน ฝ่ายสาธารณสงเคราะห์ของมหาเถรสมาคม. กรุงเทพฯ: สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.
สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการปศุสัตว์. (2556). การศึกษาสมรรถภาพการให้ผลผลิตของกระบือและความพึงพอใจของเกษตรที่เข้าร่วมโครงการธนาคารโค-กระบือเพื่อเกษตรกร ตามพระราชดำริ : กรณีศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.
สุชัย ลิ้มวัฒนา. (2549). ระบบสารสนเทศออนไลน์สำหรับเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศการเกษตรและพัฒนาชนบท). อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.
สุริยนต์ น้อยสงวน. (2561). รูปแบบการปฏิบัติงานสาธารณสงเคราะห์ของคณะสงฆ์ในจังหวัดศรีสะเกษ. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 6(ฉบับพิเศษ), 161-171.
สุวรีย์ ศิริโภคารภิรมย์. (2556). การวิจัยทางการศึกษา. ลพบุรี: สถาบันราชภัฎเทพสตรี.
Yamane, T. (1967). Statistic: An Introductory Analysis. New York: Harper and Row.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น