หลวงพ่อทวดเหยียบน้ำทะเลจืด : วีรบุรุษทางวัฒนธรรมของชาวใต้

ผู้แต่ง

  • กรกฎา บุญวิชัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คำสำคัญ:

หลวงพ่อทวดเหยียบน้ำทะเลจืด, วีรบุรุษทางวัฒนธรรม, การผจญภัยของวีรบุรุษ, ตำนานประจำถิ่น, คติชนวิทยา

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้ ต้องศึกษาประวัติหลวงพ่อทวดเหยียบน้ำทะเลจืดตามทฤษฎีการผจญภัยของวีรบุรุษของโจเซฟ แคมพ์เบลล์ ผู้วิจัยศึกษาตำนานหลวงพ่อทวดเหยียบน้ำทะเลจืดสำนวนมุขปาฐะที่รวบรวมไว้ในรายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์เรื่อง ตำนานหลวงพ่อทวดในภาคใต้ของประเทศไทย ตำนานสำนวนนี้เก็บข้อมูลภาคสนามจากคำบอกเล่าของพระภิกษุและชาวบ้านบริเวณอำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา และบริเวณใกล้เคียง ช่วงเดือนมีนาคม พ.ศ. 2558 แล้วนำมาวิเคราะห์ตามกรอบทฤษฎีการผจญภัยของวีรบุรุษของโจเซฟ แคมพ์เบลล์ (Campbell, 1973)

พบว่า วงจรชีวิตของหลวงพ่อทวดเหยียบน้ำทะเลจืดสอดคล้องกับวงจรการผจญภัยของวีรบุรุษครบทุกขั้นตอน ได้แก่ การออกเดินทาง การครอบครู และการเดินทางกลับ และดำเนินตามขั้นตอนย่อยถึง 10 ขั้นตอนจาก 17 ขั้นตอน การศึกษาประวัติหลวงพ่อทวดเหยียบน้ำทะเลจืดตามกรอบทฤษฎีการผจญภัยของวีรบุรุษของโจเซฟ แคมพ์เบลล์ แสดงให้เห็นว่าหลวงพ่อทวดเหยียบน้ำทะเลจืดมีลักษณะเป็นวีรบุรุษแบบสากล ในขณะเดียวกันก็มีลักษณะเป็นวีรบุรุษเฉพาะแบบไทยด้วยเช่นกัน การศึกษาในครั้งนี้ยังแสดงให้เห็นถึงบทบาทหน้าที่ของตำนานหลวงพ่อทวดเหยียบน้ำทะเลจืดที่อาจมีบทบาทหน้าที่ในการเป็นทางออกหนึ่งของความกดดันในสังคมที่ให้ผู้ด้อยโอกาสได้แสดงออก อีกทั้งยังอาจมีบทบาทหน้าที่ในการให้กำลังใจแก่ผู้ด้อยโอกาสในสังคม

References

กฤตยา ณ หนองคาย. (2556). พระเอกและผู้ร้ายในภาพยนตร์แนวต่อสู้ผจญภัยของไทย: การวิเคราะห์ลักษณะการผสมผสานทางวัฒนธรรม (ดุษฎีนิพนธ์อักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาภาษาไทย). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ขวัญเรือน บุญกอบแก้ว และคณะ.(2558). ตำนานหลวงพ่อทวดในภาคใต้ของประเทศไทย (รายงานการวิจัย). สงขลา: สถาบันทักษิณคดีศึกษา.

ธรรมะไทย. (2565). หลวงปู่ทวด วัดช้างไห้ (2125 - 2225). สืบค้น 20 กุมภาพันธ์ 2565, จาก https://shorturl.asia/NKuW4

ปพักตร์อร ธรรมกวินทิพย์. (2556). การศึกษาเปรียบเทียบอาร์คีไทพ์ในวรรณคดี : กรณีศึกษาจากนิทานพระอภัยมณีคำกลอนและโอดิสซี (ดุษฎีนิพนธ์ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาคติชนวิทยา). พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

พิสิทธิ์ กอบบุญ. (2557). โครงสร้างนิทานกำพร้าของไท-ลาว. ใน ศิราพร ณ ถลาง (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักนายกรัฐมนตรี. (2510). ประชุมพระตำราบรมราชูทิศเพื่อกัลปนา สมัยอยุธยา ภาค 1. กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี.

สุประวีณ์ แสงอรุณเฉลิมสุข. (2561). พระสังข์ : การผจญภัยของวีรบุรุษ. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 10(2), 185-206.

Aurora Thailand. (2565). หลวงปู่ทวด ความเชื่อและความศรัทธา ที่อยู่คู่คนไทยมายาวนาน. สืบค้น 20 กุมภาพันธ์ 2565, จาก https://shorturl.asia/h7N98

Campbell, J. (1973). The Hero with a Thousand Faces (3rd ed). New Jersey: Princeton University Press.

Campbell, J., & Moyers, B. (2008). The power of myth (4rd ed). Bangkok: Amarin Printing & Publishing.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-10-17

How to Cite

บุญวิชัย ก. (2023). หลวงพ่อทวดเหยียบน้ำทะเลจืด : วีรบุรุษทางวัฒนธรรมของชาวใต้. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 12(5), 417–428. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jssr/article/view/258658