วิเคราะห์แนวคิดทางปรัชญาการเมืองของเพลโต

ผู้แต่ง

  • กำพล ศรีโท มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • พระมหากฤษฎา กิตติโสภโณ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • พระอุดมสิทธินายก (กำพล คุณงฺกโร) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

แนวคิด, ปรัชญาการเมือง, เพลโต

บทคัดย่อ

ในบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์แนวความคิดทางการเมืองของเพลโต จากการศึกษาพบว่า ความเป็นมาและสาเหตุที่ทำให้เพลโตสนใจปรัชญาทางการเมือง เพราะเกิดจากสภาพปัญหาทางการเมืองการปกครองที่ไม่เป็นธรรมของนครเอเธนส์ ซึ่งเป็นเหตุให้โสคราตีสซึ่งเป็นอาจารย์ของเพลโตถูกประหาร เพราะวิพากษ์วิจารณ์สังคมการเมือง ในช่วงเวลาดังกล่าวนครเอเธนส์อยู่ภายใต้การปกครองของสปาร์ตา เพลโตจึงออกท่องเที่ยวไปยังสถานที่ต่างๆ เพื่อแสวงหาความรู้เพิ่มเติมแล้วเดินทางกลับมานครเอเธนส์อีกครั้งเพื่อตั้งสำนักอคาเดมี เพื่อใช้เป็นศูนย์กลางถ่ายทอดความรู้ทางการศึกษาและการเมืองแก่สังคม ลักษณะของผู้นำทางการเมืองที่ดีจะต้องมีจิตใจที่แจ่มใสร่างกายสุขภาพที่แข็งแรง ราชานักปราชญ์ที่เป็นผู้นำการปกครองต้องมีความรู้ ลักษณะทางการเมืองที่ดีต้องให้การศึกษาความรู้แก่ประชาชน รูปแบบแนวคิดการเมืองปกครองที่ดีของเพลโตคือ อภิชนาธิปไตย อิทธิพลของศาสนาที่มีต่อแนวความคิดทางการเมืองของเพลโตเชิงอภิปรัชญาอยู่ในโลกของแบบจุดเด่น การพัฒนาทางการเมืองนั้นต้องเคร่งครัดในกฎระเบียบ และจุดอ่อนทางการเมืองนั้นอยู่ที่ประชาชนขาดการศึกษา ส่วนแนวความคิดทางสังคมการเมืองของเพลโตอยู่ที่การแบ่งงานกันทำ ปัญหาสังคมทางการเมืองมาจากความคิดที่จินตนาการเกินความเป็นจริง ความเข็มแข็งทางการเมืองอยู่ที่การจัดตั้งองค์กรแบบมีส่วนร่วม อิทธิพลของมนุษย์ที่มีต่อการสรรค์สร้างสังคมทางการเมืองก็คือการพัฒนาจิต การศึกษาที่เป็นเครื่องมือพัฒนาสังคมก็คือเลขคณิต เลขาคณิตและดาราศาสตร์

References

นรพัชร เสาธงทอง. (2559). ทฤษฎีและปรัชญาการเมือง. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยปทุมธานี.

______. (2563). เวทีปรัชญาโลกแห่งประเทศไทย. สืบค้น 8 ธันวาคม 2564, จาก https://www.facebook.com/wpfthailand

ประจิตร มหาหิง และรุสนีย์ การีอุมา. (2547). ปรัชญาการศึกษาของเพลโต. สงขลามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

พระราชวรมุนี (ประยูรธมม.จิต.โต). (2542). ภูมิปัญญากรีกบอเกิดภูมิปัญญาตะวันตก. กรุงเทพฯ: ศยาม.

พินิจ รัตนกุล. (2515). เพลโตและปัญหาเกี่ยวกับคุณธรรม (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

เพลโต. (2523). โสคราตีส [Socrates] (สุลักษณ์ ศิวรักษ์, แปล). กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช. (ต้นฉบับพิมพ์ปี พ.ศ.2523).

______. (2523). อุตมรัฐ [The Republic] (ปรีชา ช้างขวัญยืน,ผู้แปล). กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (ต้นฉบับพิมพ์ปี พ.ศ.2523).

ฟื้น ดอกบัว. (2532). ปวงปรัชญากรีก. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

วารีญา ภวภูตานนท์ ณ มหาสารคาม.(2547). ปรัชญาขั้นแนะนำ : กระแสคิดที่ทรงอิทธิพลต่อโลก. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ชีวาภิวัฒน์.

ศรัณย์ วงศ์คำจันทร์. (2537). ปรัชญาเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์อมรการพิมพ์.

Whitehead, A.N. (1929). The Aims of Education. New York: Macmillan Publishing.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-10-17