การจัดการด้านการสื่อสารในภาวะวิกฤต กรณีมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ จากผลกระทบการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่า (COVID-19)

ผู้แต่ง

  • ปรารถนา มะลิไทย มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ
  • วิยุทธ์ จำรัสพันธ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ

คำสำคัญ:

การจัดการ, การสื่อสาร, ไวรัสโคโรน่า (COVID-19

บทคัดย่อ

ภาวะวิกฤตการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่า (COVID-19) ได้สะท้อนให้เห็นการเปลี่ยนแปลงไปของการศึกษาจากรูปแบบการศึกษาทั่วไป ไปสู่ทางเลือกและการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตแบบใหม่ องค์กรจะต้องมีการปรับตัวเพื่อให้สามารถดำเนินวิถีชีวิตได้ตามปกติ ทั้งนี้จากสถานการณ์ที่เกิดขึ้นนั้นแนวคิดการจัดการในภาวะวิกฤติ เป็นแนวคิดที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งสำหรับเป็นกลยุทธ์หรือเทคนิคที่สามารถป้องกันหรือแก้ไขผลกระทบที่เกิดจากเหตุการณ์ได้ ซึ่งแนวคิดการจัดการในภาวะวิกฤตประกอบด้วย 3 ระยะ คือ ระยะก่อนเกิดภาวะวิกฤติ ระยะเกิดเหตุการณ์ภาวะวิกฤต และระยะช่วงหลังเหตุการณ์ภาวะ อย่างไรก็ตามหากองค์กรมีการเตรียมความพร้อมหรือมีการประเมินสภาพแวดล้อมภายนอกองค์กรจะช่วยให้องค์กรสามารถคาดคะเนปัญหาและรับมือได้อย่างมีประสิทธิภาพในการลดความเสี่ยง และความสูญเสียที่องค์กรอาจจะได้รับจากการเกิดวิกฤต นอกจากนี้การสื่อสารในภาวะวิกฤต ก็เป็นแนวคิดที่มีความสำคัญอย่างยิ่งเนื่องด้วยการสื่อสารเป็นกระบวนการที่ช่วยลดช่องว่างด้านข้อมูลข่าวสาร ช่วยลดความคลุมเครือไม่แน่นอน และช่วยเสริมสร้างความรู้และความเข้าใจในระหว่างการเกิดภาวะวิกฤต ทั้งนี้ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ได้มีการใช้รูปแบบการสื่อสารที่หลากหลายเพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ซึ่งการใช้รูปแบบการสื่อสารที่หลากหลายนั้นต่างมีข้อดีและข้อจำกัดด้วยกันทั้งสิ้น ดังนั้นเมื่อวิกฤตเกิดขึ้นองค์กร การประยุกต์ใช้แนวคิดด้านการสื่อสารในภาวะวิกฤต ที่เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น จะช่วยให้องค์กรลดความสูญเสียที่จะเกิดขึ้นได้น้อยลงหรือเกิดความสูญเสียน้อยที่สุด

References

กรมควบคุมโรค (2563). โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) กระทรวงสาธารณสุข.สืบค้น 20 พฤศจิกายน 2564, จาก https://shorturl.asia/A5rHI

ชลทิพย์ พูนศิริวงศ์. (2559). การจัดการและการสื่อสารภาวะวิกฤตของรัฐในกรณีอุทกภัยกรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์ปริญญานิเทศศาสรดุษฎีบัณฑิต สาขานิเทศศาสตร์). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ประกาศมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ฉบับที่ 5. (2564). แนวปฏิบัติการจัดการเรียนการสอนเนื่องจาก สถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019. ศรีสะเกษ: มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ.

พจน์ ใจชาญสุขกิจ. (2563). ประเทศไทยกับการรับมือ และการสื่อสารภาวะวิกฤตจากผลกระทบของไวรัส สายพันธุ์ใหม่. สืบค้นเมื่อ 20 พฤศจิกายน 2564, จาก https://www.prthailand.com/images/articles/expert-commu-covid19.pdf

ธนพรรณ ทรัพย์ธนาดล. (2558). ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการจัดการเรียนการสอนบทเรียนออนไลน์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสนครราชสีมา. วารสารบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร กลุ่ม มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 4(1), 654 – 655.

วิรัช ลภิรัตนกุล (2562). การประชาสัมพันธ์. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สิริพร อินทสนธิ์. (2563). โควิด-19 : กับการเรียนการสอนออนไลน์ กรณีศึกษา รายวิชาการเขียนโปรแกรม เว็บ. วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์, 22(2), 207-218.

Covello, V. (1995). Risk communication paper. Opening the black box risk conference, Mcmaster University.

Choomb, W. (2015). Ongoing Crisis communications: Planning, Managing and Responding (4th ed). Thousand Oaks, CA: Sage Publications.

Drucker, P. (1974). The Practice of Management. New York: Harper & Row Publishers.

Edwin, B. (1970). Principle of Personnel Management. New York: Mc Graw-Hall Inc.

Slaikeu, K.A. (1984). Crisis Intervention: A Handbook for Practice and Research (2nd Edition). Boston: Allyn and Bacon.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-07