การพัฒนารูปแบบศักยภาพหัวหน้าหน่วยป้องกันและพัฒนาป่าไม้ เพื่อการจัดการทรัพยากรป่าไม้อย่างยั่งยืน
คำสำคัญ:
การพัฒนารูปแบบศักยภาพ, หัวหน้าหน่วยป้องกันและพัฒนาป่าไม้, การจัดการทรัพยากรป่าไม้อย่างยั่งยืนบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อกำหนดองค์ประกอบศักยภาพของหัวหน้าหน่วยป้องกันและพัฒนาป่าไม้เพื่อการจัดการทรัพยากรป่าไม้อย่างยั่งยืน 2) เพื่อพัฒนารูปแบบศักยภาพหัวหน้าหน่วยป้องกันและพัฒนาป่าไม้เพื่อการจัดการทรัพยากรป่าไม้อย่างยั่งยืนโดยเป็นการวิจัยแบบผสานวิธีระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเชิงคุณภาพ ได้แก่ การสัมภาษณ์เชิงลึกและการสนทนากลุ่มเฉพาะ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยในเชิงปริมาณ ได้แก่ แบบสอบถาม ประชากรที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ ผู้บริหารกรมป่าไม้ และเจ้าหน้าที่กรมป่าไม้ จากส่วนกลางและส่วนภูมิภาคในประเทศไทย การวิเคราะห์ข้อมูลคุณภาพใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหาและการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจโดยการใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสังคมศาสตร์
ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบศักยภาพหัวหน้าหน่วยป้องกันและพัฒนาป่าไม้เพื่อการจัดการทรัพยากรป่าไม้อย่างยั่งยืน ประกอบด้วย 7 องค์ประกอบ ได้แก่ (1) ความรู้ในการปฏิบัติงาน (2) ทักษะในการปฏิบัติงาน (3) คุณลักษณะในการปฏิบัติงาน (4) การวางแผนงาน (5) การบริหารหน่วยงาน (6) การเป็นผู้นำหน่วยงาน (7) การควบคุมการปฏิบัติงาน 2) รูปแบบศักยภาพหัวหน้าหน่วยป้องกันและพัฒนาป่าไม้เพื่อการจัดการทรัพยากรป่าไม้อย่างยั่งยืนได้รับความเห็นชอบจากผู้ทรงคุณวุฒิในการสนทนากลุ่มเฉพาะ
References
กรมป่าไม้. (2560). ยุทธศาสตร์กรมป่าไม้ ระยะ 20 ปี พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพฯ: กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.
กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. (2556). มาตรฐานและแนวทางการกำหนดความรู้ความสามารถ ทักษะ และสมรรถนะที่จำเป็นสำหรับตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญประจำกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
กัลยา วานิชย์บัญชา. (2544). การวิเคราะห์ตัวแปรหลายตัวด้วย SPSS for Windowsกรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
กันย์ธนัญ สุชิน และคณะ. (2561). คุณลักษณะที่สำคัญในการปฏิบัติงานของข้าราชการที่มีผลการปฏิบัติงานดีเด่น: กรณีศึกษา กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. วารสารด้านการบริหารรัฐกิจและการเมือง, 7(2), 96-125.
เกียรติชัย เวษฎาพันธุ์ และคณะ. (2559). การพัฒนาศักยภาพและความสามารถด้านการบริหารจัดการของผู้นำชุมชน จังหวัดปทุมธานี ในการเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน. วารสารสมาคมนักวิจัย, 21(1),49-60.
จุฑารัตน์ ปิณฑะแพทย์. (2559). การพัฒนารูปแบบศักยภาพหัวหน้างานปฏิบัติการบินในธุรกิจการ บินของประเทศไทย. (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาธุรกิจอุตสาหกรรมและทรัพยากรมนุษย์ ภาควิชาการพัฒนาธุรกิจอุตสาหกรรมและทรัพยากรมนุษย์) กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
ปัญจพร คำโย และคณะ. (2559). การศึกษาเชิงอภิมานงานวิจัยเกี่ยวกับการบริหารจัดการทรัพยากรป่าชุมชนในประเทศไทย. วารสารการบริหารปกครอง, 5(2),237-255.
พิสณุ ฟองศรี. (2552). การสร้างและพัฒนาเครื่องมือวิจัย. กรุงเทพฯ: บริษัท ด่านสุทธา การพิมพ์ จำกัด.
รักเกียรติ หงษ์ทอง และธนพงษ์ อุดมทรัพย์. (2559). ภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์ในบริบทการนำการเปลี่ยนแปลง. วารสารมนุษยสังคมปริทัศน์, 18(2),73-87.
สถาบันพัฒนาข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม. (2562). แนวทางการพัฒนาบุคลากรและแผนพัฒนารายบุคคล: เอกสารประกอบการพัฒนาบุคลากร. กรุงเทพฯ: ส่วนนโยบายและแผนพัฒนา ศาลยุติธรรม.
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2563). คู่มือแนวทางการพัฒนาบุคลากรภาครัฐ พ.ศ. 2563 – 2565. กรุงเพทฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560 - 2564). กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี.
Cambalikova. and et al. (2017). The Importance of Control in Managerial Work. International Conference Socio-Economic Perspectives in The Age of XXI Century Globalization, Tirana: University of Tirana, Faculty of Economy, Department of Economics.
Daft, Richard L. (2016). Management. New Tech Park, Singapore: Cengage Learning Asia Pte Ltd.
Singh, M. P. and Jayachandran, K. S. (2018). Training Needs Analysis for Induction Training of State Forest Service Officers. Indian Forester, 144 (2), 105-116.
Zundel, P.E. and Needham, T.D. (1996). Abilities required by professional foresters in practice. The Forestry Chronicle, 72 (5), 491-499.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น