รูปแบบการเลือกตั้งที่เหมาะสมกับประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • เช้า ชาวประทีป มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • วิจิตรา ศรีสอน Suan Sunandha Rajabhat University
  • สัณฐาน ชยนนท์ Suan Sunandha Rajabhat University

คำสำคัญ:

รูปแบบ, การเลือกตั้ง, ประเทศไทย

บทคัดย่อ

การศึกษามีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาบริบทและระบบการเลือกตั้ง 2. วิเคราะห์ระบบการเลือกตั้งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 พ.ศ. 2550 และ พ.ศ. 2560 และ 3. นำเสนอรูปแบบการเลือกตั้งที่เหมาะสมกับประเทศไทย ใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ศึกษาเอกสาร สัมภาษณ์เจาะลึก จำนวน 18 คน และจัดกลุ่มสนทนา จำนวน 10 คน วิเคราะห์เชิงเนื้อหาและวิเคราะห์เชิงอุปนัย

การวิเคราะห์ พบว่า การเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 ข้อดีคือ การเลือกตั้งแบบระบบบัญชีรายชื่อถูกนำมาใช้เป็นครั้งแรกในประเทศไทย พรรคการเมืองมีความสำคัญมากขึ้น รัฐบาลมีความเข็มแข็งและเสถียรภาพสมาชิกวุฒิสภา ข้อเสีย การเลือกตั้งแบบระบบแบ่งเขตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร คือ ผู้ที่ได้รับคะแนนสูงสุดเพียงคนเดียว การเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 ข้อดี ประชาชนสามารถเลือก สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ในระบบแบ่งเขตได้มากกว่า 1 คน การแบ่งกลุ่มจังหวัดออกเป็น 8 กลุ่มในระบบบัญชีรายชื่อทำให้ ข้อเสีย ระบบแบ่งเขตทำให้แต่ละเขตได้จำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร การเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2560 ข้อดี ใช้คะแนนจากระบบแบ่งเขตมาคำนวณจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ในระบบบัญชีรายชื่อ ทำให้คะแนนเสียงของประชาชนไม่สูญเปล่า ข้อเสีย ใช้บัตรเลือกตั้งเพียงใบเดียว ทำให้ผู้ลงคะแนนเสียงไม่สามารถแยกการเลือกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ในระบบแบ่งเขตออกจากการเลือกพรรคการเมือง  3. รูปแบบการเลือกตั้งที่เหมาะสมกับประเทศไทย ควรเป็นระบบการเลือกตั้งที่มีหลักการคำนวณคะแนนที่มีความสัมพันธ์กันระหว่างสองระบบ

References

จิรวัฒน์ ศิริพานิชย์ และคณะ. (2561). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ทรงอิทธิพลต่อการลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง. วารสารสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม, 5(1), 311-322.

ชงคชาญ สุวรรณมณี. (2561). การเลือกตั้งครั้งแรก ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2560. กรุงเทพฯ: สำนักวิชาการ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.

ชาญวิทย์ เฟื่องฟูกิจการ. (2563). มาตราการทางกฎหมายในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรระบบบัญชีราบชื่อของประเทศไทยเปรียบเทียบกับต่างประเทศ, วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 7(11),235-251.

แดนชัย ไชวิเศษ. (2561). ที่มาของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร. กรุงเทพฯ: สำนักวิชาการสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.

ทัดชนม์ กลิ่นชำนิ. (2562). เรียนรู้ระบบเลือกตั้งสู่บทเรียนการเลือกตั้งในรัฐธรรมนูญ 2562. กรุงเทพฯ: กองประสานงานการเมือง สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี.

ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ. (2549). ความคิดการเมืองไพร่กระฎุมพีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มติชน.

บุญส่ง น้อยโสภณ. (2560). บทบาทของคณะกรรมการการเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. กรุงเทพฯ: วิทยาลัยรัฐธรรมนูญ สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ.

พรรณรัตน์ ดิษฐ์เจริญ และคณะ. (2563). ปัญหาระบบการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบผสมตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 13(2),169-197.

พัชรวาท วงษ์สุวรรณ. (2559). การเคารพสิทธิของเสียงข้างน้อยตามหลักประชาธิปไตย.กรุงเทพฯ: วิทยาลัยรัฐธรรมนูญ สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ.

รณชัย โตสมภาค. (2559). ประชาธิปไตย. กรุงเทพฯ: สำนักวิชาการ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.

วัฒนชัย ศิริญาณ และชัยรัตน์ มาสอน. (2561). การพัฒนาพลเมืองตามระบอบประชาธิปไตยในศตวรรษที่ 21. รมยสาร, 16(1),156-181.

สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. (2561). กฤษฎีกา โฟกัส. กรุงเทพฯ: กองกฎหมายไทยสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา.

Plescia, C.et al. (2019). Do people want a ‘fairer’ electoral system? An experimental study in four countries. European Journal of Political Research, 59(4),733-751.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-02

How to Cite

ชาวประทีป เ., ศรีสอน ว. ., & ชยนนท์ ส. . (2022). รูปแบบการเลือกตั้งที่เหมาะสมกับประเทศไทย. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 11(3), 98–112. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jssr/article/view/254716