รูปแบบการจัดการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรมไทย-เมียนมาร์ของ สถาบันอุดมศึกษาในสังคมไทย
คำสำคัญ:
การจัดการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรม, ไทย-เมียนมาร์, สถาบันอุดมศึกษาไทยบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาแนวทาง การพัฒนารูปแบบ และนำเสนอรูปแบบการจัดการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรมไทย-เมียนมาร์โดยใช้การวิจัยเป็นฐานของสถาบันอุดมศึกษาในสังคมไทย ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ
ผลการวิจัยพบว่า 1. มหาวิทยาลัยนเรศวร มีศูนย์พม่าศึกษาที่มีการจัดการเรียนภาษาพม่า และหลักสูตรพม่าศึกษา ที่เกี่ยวกับ ภาษาศาสตร์ ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมประเพณี การเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรม ส่งเสริมการเรียนรู้ผ่านการวิจัย การสร้างเครือข่าย ในส่วนมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย มีวิชาในหลักสูตรที่เกี่ยวกับอาเซียนศึกษา การเรียนการสอนเกี่ยวกับวัฒนธรรมเมียนมาร์โดยใช้การวิจัยเป็นฐาน 2. การพัฒนารูปแบบโดยใช้วิจัยเป็นฐานการเรียนรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมเมียนมาร์ 5 ขั้นตอน คือ (1) เปิดใจรับ (2) ปรับใจเรียนรู้ (3) เข้าใจความแตกต่าง (4) และสถานการณ์ (5) ปรับกระบวนทัศน์ในเชิงวัฒนธรรม โดยมหาวิทยาลัยนเรศวร ทำวิจัยด้านพม่า จัดตั้งศูนย์พม่าศึกษาแสวงหาองค์ความรู้ด้านภาษาพม่าศึกษา ส่วนมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยได้ทำวิจัยเกี่ยวกับการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรมอาเซียน จัดกิจกรรมเชิงปฏิบัติการ สร้างเครือข่ายอาเซียน การเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรมอาเซียนให้นิสิต 3. รูปแบบการจัดการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรมไทย-เมียนมาร์โดยใช้การวิจัยเป็นฐานของสถาบันอุดมศึกษาทั้ง 2 แห่ง คือ 1) รูปแบบที่เกิดจากการจัดการศึกษาเชิงพื้นที่ 2) รูปแบบที่เกิดจากการจัดกิจกรรมเชิงปฏิบัติการ และ 3) รูปแบบที่เกิดจากการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในชั้นเรียน
References
กรมการจัดหางาน. (2560). สถิติจำนวนคนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตทำงานคงเหลือทั่วราชอาณาจักรประจำ เดือนมกราคม 2560. กรุงเทพฯ: กรมการจัดหางาน.
________. (2562). สถิติจำนวนคนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตทำงานคงเหลือทั่วราชอาณาจักรประจำ เดือนกันยายน 2562. กรุงเทพฯ: กรมการจัดหางาน.
กฤตยา อาชวนิจกุลและคณะ. (2543). เพศอนามัยเจริญพันธุ์และความรุนแรง:ประสบการณ์ชีวิตของแรงงาน อพยพจากประเทศพม่า. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม.
จิตรลดา รัตนพันธ์และคณะ. (2560) การพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาเพื่อส่งเสริมการอยู่ร่วมกัน เชิงพหุวัฒนธรรม ระหว่างนักเรียนไทยและนักเรียนข้ามชาติ. วารสารราชภัฏสุราษฎร์ธานี, 4(1), 115-146.
ชุลีวรรณ ปราณีธรรม และคณะ. (2562). สมรรถนะการข้ามวัฒนธรรมของนักศึกษาวิทยาลัยนานาชาติการท่องเที่ยว. วารสารช่อพะยอม, 30(1), 25-34.
บุษยรัตน์ กาญจนดิษฐ์. (2550). วิถีชีวิตของแรงงานข้ามชาติจากประเทศพม่ากรณีศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ.
พลเทพ พูนพล. (2558). อิทธิพลของความฉลาดทางวัฒนธรรมที่มีต่อการปรับตัวข้ามวัฒนธรรมและผลการปฏิบัติงานของพนักงานข้ามชาติในประเทศไทย. วิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา มหาวิทยาลัยบูรพา, 12(2), 108-121.
พระราชวรเมธี และคณะ. (2560). รูปแบบการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรมอาเซียนในกลุ่มประเทศ CLMV สำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.
วิลาสินี ยนต์วิกัย. (2559). ปัจจัยทางการตลาดกับการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ยาสีฟันของชาวพม่าในประเทศไทย. วารสารวิจัยและพัฒนาวไลยอลงกรณ์, 11(1), 91-100.
________. (2560). ปัจจัยทางการตลาดกับการเลือกซื้อบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปของชาวพม่าในประเทศไทย. วารสารวิจัยและพัฒนาวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 12 (2),35-44.
วิลาสินี โสภาพล. (2559). ชุมชนข้ามถิ่น: การก่อร่างทางอัตลักษณ์ของแรงงานข้ามชาติ สัญชาติพม่าในจังหวัดขอนแก่น. ขอนแก่น: ศูนย์วิจัยพหุลักษณ์สังคมลุ่มน้ำโขง มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
________. (2562). งานบุญข้ามถิ่น: การจัดวางตัวตนใหม่และการต่อรอง ของแรงงานข้ามชาติสัญชาติพม่าในจังหวัดขอนแก่น. วารสารราชภัฏสุราษฎร์ธานี, 6(1), 95-111.
วิรัช นิยมธรรม. (2551). การเทียบต่างภาษาพม่ากับภาษาไทยและการวิเคราะห์ข้อผิดในการเรียนภาษาพม่าเพื่อพัฒนาตำราเรียน (รายงานการวิจัย). พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.
________. (2552). ไทยในการรับรู้และความเข้าใจของประเทศเพื่อนบ้าน กรณีศึกษาตัวบทในตำราเรียนสังคมศึกษาของพม่า ว่าด้วย "ความสัมพันธ์เมียนมา-โยดะยา (รายงานการวิจัย). พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.
สกาวเดือน โอดมีและสุภาวดี เครือโชติกุล. (2560). แนวทางการสื่อสารข้ามวัฒนธรรมในการดูแลสตรีตั้งครรภ์ชาวพม่าของพยาบาลผดุงครรภ์. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์, 9(2), 150-160.
สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย. (2554). ผลกระทบการจ้างแรงงานข้ามชาติของไทยภายใต้ยุคการพิสูจน์สัญชาติ. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย.
สำนักงานจัดหางานจังหวัดสมุทรสาคร. (2557). ชุมชนแรงงานข้ามชาติชาวพม่าในสมุทรสาคร. กรุงเทพฯ: กระทรวงแรงงาน.
สำนักงานทะเบียนและวัดผล. (2559). สถิตินิสิตมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระนครศรีอยุธยา: สำนักทะเบียนและวัดผล มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สำนักงานบริหารแรงงานต่างด้าว. (2557). แรงงานต่างด้าวสัญชาติพม่าที่ทำงานในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: กระทรวงแรงงาน.
สมศักดิ์ ศรีสันติสุข. (2560). การวิจัยข้ามวัฒนธรรม: ประสบการณ์ภาคสนามในการศึกษาชุมชนชาติพันธุ์. กรุงเทพฯ: การประชุมวิชาการวัฒนธรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 7 วันที่ 3 สิงหาคม 2560 ณ โรงแรมดิเอมเมอริดัล กรุงเทพมหานคร.
Chaiwong, S. et al. (2018). Cross-Cultural Learning of Burmese in Lampang, Thailand. Asian Political Science Review, 2 (1), 108-116.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2021 วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น