โมเดลสมการโครงสร้างพุทธภาวะผู้นำเชิงทศบารมีและนโยบายภาครัฐเพื่อผลสำเร็จการบริหารการเปลี่ยนแปลงของผู้ประกอบการธุรกิจอาหาร

ผู้แต่ง

  • ศศิธร อนันตพันธุ์พงศ์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • เติมศักดิ์ ทองอินทร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • เกียรติศักดิ์ สุขเหลือง มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

ภาวะผู้นำเชิงทศบารมี, การบริหารการเปลี่ยนแปลง, ผู้ประกอบการธุรกิจอาหาร

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาลักษณะของผลสำเร็จ ปัจจัยภาวะผู้นำเชิงทศบารมีและนโยบายภาครัฐ และนำเสนอโมเดลสมการโครงสร้าง เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี โดยการวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่น 0.977 เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง 408 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติแบบบรรยายและการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง การวิจัยเชิงคุณภาพใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 18 รูปหรือคน และการสนทนากลุ่มเฉพาะโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 9 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่า 1) ลักษณะผลสำเร็จ มี 5 องค์ประกอบคือ มีการปรับกลยุทธ์องค์กรให้สอดรับกับการเปลี่ยนแปลง สร้างวัฒนธรรมองค์กรใหม่ ปรับโครงสร้างองค์กรให้เหมาะสม มีการสร้างนวัตกรรมและนำเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาใช้ และบุคลากรมีความพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลง ค่าอิทธิพลที่ส่งผลไปยังองค์ประกอบ 5 ด้านมีค่าระหว่าง 0.76-0.91 2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสำเร็จการบริหารการเปลี่ยนแปลงของผู้ประกอบการธุรกิจอาหาร ได้แก่ ทศบารมี ภาวะผู้นำเชิงบารมี และนโยบายภาครัฐด้านอาหาร ผลการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์การพยากรณ์ (R2 ) เท่ากับ 0.542 3) โมเดลสมการโครงสร้างนี้ประกอบด้วยทศบารมีที่มีอิทธิพลโดยตรงและมีอิทธิพลร่วมกับภาวะผู้นำเชิงบารมีและนโยบายภาครัฐด้านอาหารในการส่งผลต่อผลสำเร็จการบริหารการเปลี่ยนแปลงของผู้ประกอบการธุรกิจอาหาร และมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ( c2 = 231.81, df=199, p=.055, GFI = .955, AGFI = .932, RMR= .022, RMSEA = .020)

References

กมลชนก ชมพูพันธุ์. (2564). แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมในธุรกิจยุคดิจิทัล. วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย, 5(1), 148-155.

กมลพร กัลยาณมิตร. (2564). การนำกลยุทธ์การบริหารสู่การปฏิบัติในรูปแบบความปกติใหม่ (New Normal). วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 6(4), 402-422.

กรมโรงงานอุตสาหกรรม. (2563). อุตสาหกรรมแปรรูปอาหารและเครื่องดื่มในประเทศ. สืบค้น 30 กรกฎาคม 2564, จาก https://www.facebook.com/hashtagอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารและเครื่องดื่มในประเทศ

จันทนา อุดม และคณะ. (2562). การศึกษาคุณลักษณะและมิติทางวัฒนธรรมองค์การเพื่อยกระดับการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้เข้าสู่สังคมความรู้. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 6(2), 658-677.

ชยพล เพชรพิมล. (2556). ทฤษฎีบารมี (วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2564). EC_XT_008_S2 มูลค่าและปริมาณสินค้าส่งออกจำแนกตามกิจกรรมการผลิต. สืบค้น 30 กรกฎาคม 2564, จาก https://www.bot.or.th/App/BTWS_STAT/statistics/ReportPage.aspx?reportID=747&language=th

นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2552). วิจัยและสถิติ: คำถามชวนตอบ. กรุงเทพฯ: ไอคอนพริ้นติ้ง.

นาตยา แท่นนิล. (2555). รูปแบบของกระบวนการนโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วมในการจัดการเกษตรและอาหารปลอดภัยในจังหวัดสงขลา (วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎี บัณฑิต สาขาวิชาการจัดการสิ่งแวดล้อม). สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี. (2543). ทศบารมี ในพุทธศาสนาเถรวาท (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: มหามกุฏราชวิทยาลัย.

สมบัติ นามบุรี. (2562). โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุแบบพุทธบูรณาการของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สำนักงานคณะกรรมการอาหารแห่งชาติ. (2561). กรอบยุทธศาสตร์การจัดการด้านอาหารของประเทศไทย ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2561-2580). กรุงเทพฯ: บริษัท คิวคัมเบอร์ (ประเทศไทย) จำกัด.

อภินันท์ จันตะนี และชมพูนุช ช้างเจริญ. (2563). พระพุทธศาสนากับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง. วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์, 22(2), 241-250.

อุดม ชัยสุวรรณ และคณะ. (2558). รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำด้วยบารมี 10 ทัศใน พระพุทธศาสนาเถรวาท. รมยสาร, 13(1), 45-60.

อุไรพรรณ เจนวาณิชยานนท์ และคณะ. (2562). การพัฒนาพื้นที่เพื่อเพิ่มมูลค่าของห่วงโซ่เศรษฐกิจปลาสลิดบางบ่อ ตามยุทธศาสตร์ส่งเสริมสินค้าเกษตรปลอดภัยเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม จังหวัดสมุทรปราการ. วารสารวิจัยเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่, 11(2), 93-107.

Hair, J.F. et al. (2010). Multivariate data analysis: A global perspective (7thedition). New Jersey: Pearson Education Inc.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-02

How to Cite

อนันตพันธุ์พงศ์ ศ., ทองอินทร์ เ. ., & สุขเหลือง เ. . (2022). โมเดลสมการโครงสร้างพุทธภาวะผู้นำเชิงทศบารมีและนโยบายภาครัฐเพื่อผลสำเร็จการบริหารการเปลี่ยนแปลงของผู้ประกอบการธุรกิจอาหาร. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 11(3), 153–166. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jssr/article/view/254134