รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะต้นแบบข้าราชการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในจังหวัดนนทบุรี

ผู้แต่ง

  • พระสมนึก ธีรปญฺโญ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • บุญทัน ดอกไธสง มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • เกียรติศักดิ์ สุขเหลือง มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

สมรรถนะ;, การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์, ไตรสิกขา

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสมรรถนะ และนำเสนอรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะต้นแบบข้าราชการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดนนทบุรี ดำเนินการตามระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 20 รูปหรือคนแบบตัวต่อตัว โดยการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนาและการสนทนากลุ่มเฉพาะจำนวน 11 รูปหรือคน นำผลที่ได้จากการสัมภาษณ์และการสนทนากลุ่มเฉพาะมาทำการวิเคราะห์ด้วย (SWOT Analysis)

ผลการวิจัยพบว่า 1. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดนนทบุรี กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น (สถ.) เป็นผู้กำหนดมาเป็นแนวทางการในพัฒนาสมรรถนะต้นแบบข้าราชการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดนนทบุรี ประกอบด้วย 3 สมรรถนะ คือ 1) สมรรถนะหลัก 2) สมรรถนะประจำผู้บริหาร และ 3) สมรรถนะประจำสายงาน และ 2 ได้มีการส่งเสริมการพัฒนาสมรรถนะของข้าราชการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดนนทบุรี โดยการฝึกอบรม การศึกษา และการพัฒนา ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดของ ลีโอนาร์ด แน็ดเลอร์ และหลักไตรสิกขาเพื่อการพัฒนาบุคลากร คือ ศีล การฝึกฝนในด้านของความประพฤติ สมาธิ การฝึกฝนในด้านของจิตใจ และปัญญา การพัฒนาในด้านการเรียนรู้ ซึ่งมีความเชื่อมโยงนำมาเสนอรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะต้นแบบข้าราชการ

References

เกียรติศักดิ์ สุขเหลือง. (2564, 9 กรกฎาคม). อาจารย์ประจำหลักสูตรบัณฑิตศึกษา สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ [สนทนากลุ่มเฉพาะ].

บุญทัน ดอกไธสง. (2564, 9 กรกฎาคม). อาจารย์ประจำหลักสูตรบัณฑิตศึกษา สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ [สนทนากลุ่มเฉพาะ].

พระครูนิวิฐศีลขันธ์ (ณรงค์ ฐิตวฑฺฒโน). (2557). รูปแบบการพัฒนาทุนมนุษย์ตามหลักพุทธธรรมในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระประเสริฐ วรธมฺโม (ธิลาว). (2558). พุทธบูรณาการการพัฒนาทุนมนุษย์สู่ความเป็นองค์กรสมรรถนะสูงของสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาของคณะสงฆ์ไทย (วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหากฤษฎา กิตฺติโสภโณ. (2564, 9 กรกฎาคม). อาจารย์ประจำหลักสูตรบัณฑิตศึกษา สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ [สนทนากลุ่มเฉพาะ].

พิชิต เทพวรรณ์. (2554). การจัดการทรัพยากรมนุษย์เชิงกลยุทธ์:แนวคิดและกลยุทธ์เพื่อความได้เปรียบทางการแข่งขัน. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สายรุ้ง บุบผาพันธ์. (2558). การพัฒนาทุนมนุษย์ตามหลักพุทธธรรมขององค์การบริหารส่วนจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง เพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน (วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สุริยา รักษาเมือง. (2564, 9 กรกฎาคม). อาจารย์ประจำหลักสูตรบัณฑิตศึกษา สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ [สนทนากลุ่มเฉพาะ].

อนุวัต กระสังข์. (2556) การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในองค์กรตามแนวพุทธภายใต้กระแสบริโภคนิยม (วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-02

How to Cite

ธีรปญฺโญ พ. ., ดอกไธสง บ. ., & สุขเหลือง เ. . (2022). รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะต้นแบบข้าราชการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในจังหวัดนนทบุรี. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 11(3), 139–152. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jssr/article/view/254024