การพัฒนาการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของวัดไทยในรัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา
คำสำคัญ:
การพัฒนา, การเผยแผ่พระพุทธศาสนา, วัดไทยบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ วิเคราะห์สภาพทั่วไปศึกษากระบวนการการเผยแผ่และนำเสนอการพัฒนาการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของวัดไทยในรัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา ระเบียบวิธีวิจัยเป็นแบบผสานวิธี
ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพทั่วไป จุดแข็งคือ พระธรรมทูตมีความรู้ความสามารถในการเผยแผ่ มีบริเวณวัดที่จุดอ่อนคือ พระธรรมทูตขาดความรู้ด้านเทคโนโลยีสมัยใหม่ โอกาสคือ วิปัสสนากรรมฐานเป็นที่นิยม อุปสรรคคือความหลากหลายทางวัฒนธรรม 2) กระบวนการการเผยแผ่พระพุทธศาสนานาตามวงจร PDCA มีการดำเนินการอยู่ในระดับมาก ( =3.93, S.D.=0.74) และกระบวนการงานเผยแผ่พระพุทธศาสนาตามพุทธวิธีการสอน 4 ส ก็อยู่ในระดับมากเช่นกัน ( =4.05, S.D.=068) 3) การพัฒนาการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของวัดไทยในรัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา ประกอบด้วย ด้านผู้ส่งสาร มีความรู้ความสามารถ มีความชำนาญผลิตสื่อธรรมะ ใช้คอมพิวเตอร์ได้ดี สามารถจัดรายการวิทยุได้ และสามารถสื่อสารผ่านช่องทางออนไลน์ได้ดี ด้านสาร มีความหลากหลาย อยู่ในรูปของหนังสื่อธรรมะ สิ่งพิมพ์ออนไลน์ เช่น ภาพ/จดหมายข่าว เสียงบรรยายธรรม วีดีโอธรรมะ ด้านช่างทางการสื่อสาร มีช่องทางที่หลากหลาย เว็บไซต์ของวัด ช่องทางออนไลน์ เช่น Facebook YouTube วิทยุออนไลน์ สื่อสิ่งพิมพ์ วารสาร/ หนังสือ และด้านผู้รับสาร ได้รับการปรับพื้นฐาน การประเมินก่อนและหลัง กำหนดกลุ่มผู้รับสาร สามารถนำธรรมะไปปรับใช้ประโยชน์ได้ และมีความศรัทธาเลื่อมใส
References
นาวิน วงศรัตนมัจฉา. (2555). ผลสำเร็จการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในกลุ่มชาติพันธุ์ลีซูของพระธรรมจาริก. (ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
บัญชายุทธ นาคมุจลินท์. (2557). แนวทางการพัฒนาศาสนทายาทที่พึงประสงค์ในพระพุทธศาสนา. (ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
บุญร่วม คำรเมองแสน. (2560). รูปแบบการเผยแผ่พระพทธศาสนาของพระธรรมทูตไทยในประเทศอินเดีย. วารสารสถาบันวิจัยญาณสังวร. 8(2), 232.
พระเทพปริยัติสุธี (วรวิทย์ คงฺคปญฺโญ). (2552). การคณะสงฆ์และการศาสนา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระไพศาล วิสาโล. (2553). พระพุทธศาสนาไทยในอนาคต. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสดศรีสฤษดิ์วงศ์
พระมหาบุญทิน ปุญฺธโช. (2562). กลยุทธ์การเผยแผ่พระพุทธศาสนาตามหลักปฏิสัมภิทา 4 สำหรับพระธรรมทูตไทยในทวีปยุโรป. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์. 6(6), 3154.
พระมหาสุริยา วรเมธี และคณะ. (2556). ศึกษาแนวคิดและหลักการในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระธรรมทูตไทยในสหรัฐอเมริกา. (รายงานการวิจัย). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมหาสุริยา วรเมธี และคณะ. (2551). ศึกษาแนวคิดและหลักการในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระธรรมทูตไทยในสหรัฐอเมริกา. (รายงานการวิจัย). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมหาอํานวย มีราคา. แนวทางในการเผยแพร่พุทธศาสนาในต่างประเทศ : กรณีศึกษาประเทศเนเธอร์แลนด์. วารสารบริหารการศึกษาบัวบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี. 16(1), 169.
พระวิมาน คมฺภีรปญฺโญ (ตรีกมล). (2555). การเผยแผ่ในอุรุเวลาเสนานิคมในฐานะต้นแบบแห่งพุทธะวิธีในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา. (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระศรีรัตนโมลี. (2560). รูปแบบการจัดการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระสงฆ์ไทยในประเทศสาธารณรัฐสิงคโปร์. วารสารบัณฑิตศึกษาปริทรรศน์. 13(13), 97.
วัดไทย ลอสแองเจลิส. (2563). ประวัติวัดวัดไทย ลอสแองเจลิส, สืบค้น 1 ตุลาคม 2563, จาก http://www.watthai.com/ about.html.
วัดป่าธรรมชาติ ลาพวนเต้. (2563). จำนวนพระสงฆ์ที่อยู่จำพรรษา. สืบค้น 1 ตุลาคม 2563, จาก http://www.watpala1.org/index.php/2020-06-29-15-08-13.
วัดพระธาตุดอยสุเทพ ยูเอสเอ. (2563). ประวัติวัดไทยในอเมริกา. สืบค้น 1 ตุลาคม 2563, จาก http://tbdtinusa.blogspot.com/p/usa-usa-watphrathat-doi-suthep-usa.html.
วัดสุทธาวาส ริเวอร์ไซต์. (2563). ประวัติวัดสุทธาวาส ริเวอร์ไซต์. สืบค้น 1 ตุลาคม 2563, จาก http://www.suddhavasa.org/ history/.
สุวรีย์ สิริโภคาภิรมณ์. (2546). การวิจัยทางการศึกษา. ลพบุรี : ฝ่ายเอกสารการพิมพ์สถาบันราชภัฏเทพสตรี, 2546.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น