การใช้ข้อมูลทางการบัญชีเพื่อการบริหารงานของกลุ่มผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ชุมชน กรณีศึกษา กลุ่มจักสานผักตบชวาบ้านกูบ ตำบลหันสัง อำเภอบางปะหัน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
คำสำคัญ:
การคำนวณต้นทุน, จุดคุ้มทุน, ผลิตภัณฑ์ชุมชน, กำหนดราคาขายบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาสภาพทั่วไปของการใช้ข้อมูลทางบัญชีในการบริหารจัดการของกลุ่มผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ชุมชนในปัจจุบัน 2. ศึกษาจุดคุ้มทุนของผลิตภัณฑ์ชุมชน และ 3) ศึกษาต้นทุนผลิตภัณฑ์ และการกำหนดราคาขายที่เหมาะสม โดยใช้กลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ได้แก่ ผลิตภัณฑ์จักสานผักตบชวาบ้านกูบ ตำบลหันสัง อำเภอบางปะหัน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์
ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพทั่วไปของกลุ่มในการใช้ข้อมูลางการบัญชี พบว่าการวิเคราะห์ต้นทุนผลิตภัณฑ์ในปัจจุบัน จะใช้วิธีกะประมาณ ไม่มีการวิเคราะห์จุดคุ้มทุน การกำหนดราคาขายจะใช้การกะประมาณ มีความสามารถในงานบัญชีเล็กน้อย 2. การคำนวณจุดคุ้มทุนของผลิตภัณฑ์ และ 3. การวิเคราะห์ต้นทุนผลิตภัณฑ์ และการกำหนดราคาขายที่เหมาะสม พบว่า จะมีสินค้าที่เป็นที่นิยม 5 แบบ ได้แก่ 1) กระเป๋าสะพายข้าง (ใบเล็ก) มีต้นทุนต่อหน่วยใบละ 80 บาท ราคาขาย 150 บาท จุดคุ้มทุน 50 ใบ 2) กระเป๋าถือทรงเชี่ยนหมาก มีต้นทุนต่อหน่วยใบละ 180 บาท ราคาขาย 300 บาท จุดคุ้มทุน 30 ใบ 3) กระเป๋าถือสำหรับใส่เอกสาร มีต้นทุนต่อหน่วยใบละ 170 บาท ราคาขาย 290 บาท จุดคุ้มทุน 45 ใบ 4) ตะกร้าทรงกลม ขนาด 8 X 12 นิ้ว มีต้นทุนต่อหน่วยใบละ 100 บาท ราคาขาย 180 บาท จุดคุ้มทุน 45 ใบ และ 5) ตะกร้าทรงกลม ขนาด 15 X 20 นิ้ว มีต้นทุนต่อหน่วยใบละ 120 บาท ราคาขาย 200 บาท จุดคุ้มทุน 45 ใบ
References
กิ่งกนก รัตนมณี และคณะ. (2562). การคำนวณต้นทุนผลิตภัณฑ์ของโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ ในจังหวัดตรัง. วารสารการจัดการสมัยใหม่, 15(1), 75-84.
ณัฏฐ์พล จงพิทักษ์สกุล และดวงรัตน์ โพธิ์เงิน. (2563). การวิเคราะห์ต้นทุนและการกำหนดราคาผลิตภัณฑ์ชุมชนของกลุ่มบ้านคลองทราย:ตำบลคลองจิก อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารการบริหารนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น, 6(5), 147-152.
เบญจมาศ อภิสิทธิ์ภิญโญ. (2550). การบัญชีต้นทุน 1. กรุงเทพฯ: ส.เอเซียเพสร (1989) จำกัด.
พลอยไพลิน บุญฤทธิ์ตมนต์ และคณะ. (2563). การวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนของผลิตภัณฑ์หวด : กรณีศึกษา กลุ่มวิสาหกิจชุมชน จักสานบ้านหมากหญ้า อำเภอหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี (รายงานการวิจัย). อุดรธานี. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.
ศศิวิมล มีอำพล. (2550). การบัญชีเพื่อการจัดการ. กรุงเทพฯ: บริษัท อินโฟโมนิ่ง จำกัด.
ศิริรัตน์ เซ็งเส็ง และคณะ. (2558). การวิเคราะห์ต้นทุนและระบบบัญชีต้นทุนผลิตภัณฑ์ชุมชม: อาหารและสมุนไพร. กรุงเทพฯ: การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 53 : สาขาศึกษาศาสตร์, สาขาเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจ, สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์.
สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน. (2562). เศรษฐกิจฐานรากตามแนวทางประชารัฐ. สืบค้น 30 เมษายน 2564, จาก https://www.codi.or.th
หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์. (2562). เปิด 5 ปัญหาเศรษฐกิจที่ประชาชนคาดหวังให้รัฐบาลเร่งจัดการ. สืบค้น 17 เมษายน 2564, จาก https://www.thaipost.net
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2021 วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น