คิดแบบฆราวาสธรรมกับอาชญากรรมเชิ้ตขาว

ผู้แต่ง

  • อาภาพร กลิ่นเทศ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

อาชญากรรมเชิ้ตขาว, นักบัญชีนิติวิทยา, ฆราวาสธรรม 4

บทคัดย่อ

มนุษย์ทุกคนย่อมต้องการชีวิตที่ดีที่พร้อมสมบูรณ์ ปรารถนาความสุขความสบาย ความสำเร็จในการดำเนินชีวิต ทุกชีวิตจึงเชื่อว่าการแสวงหาทางด้านวัตถุ คือมีเงินทองทรัพย์สินต่าง ๆ มากเท่าที่จะมากได้ด้วยเข้าใจว่าสามารถบันดาลความสุขได้ ดังนั้น จึงคิดค้นวิธีการ การแสวงหาเงินทองทรัพย์สิน ด้วยวิธีการที่ไม่ถูกต้อง จึงเป็นที่มาของอาชญากรรมทางเศรษฐกิจที่เรียกว่า “อาชญากรรมเชิ้ตขาว” ที่สร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจในวงกว้าง สิ่งที่มายับยั้งการกระทำนี้ ทางโลกมีนักบัญชีนิติวิทยาที่มาแกะรอย เพื่อค้นหาความจริงและเปิดเผยความไม่ถูกต้องนี้ ทางธรรมมีหลักธรรมที่จะช่วยในการยับยั้งพฤติกรรมที่ไม่ถูกต้องที่นำมาปรับใช้คือ ฆราวาสธรรม 4 ซึ่งเป็นหลักธรรมในการดำเนินชีวิต ที่จะส่งผลทำให้ประสบความสำเร็จในชีวิตและครอบครัว หลักธรรมนี้จะเหนี่ยวนำให้มีคนรัก มีคนเมตตา ส่งผลให้เกิดความสุข ความสมหวังในการดำเนินชีวิต ซึ่งโดยรวมก็คือ เมื่อมีสัจจะ ย่อมมีเกียรติยศชื่อเสียง มีผู้คนเชื่อมั่น เมื่อมีทมะ ย่อมได้รับปัญญา ควบคุมอารมณ์ได้ เมื่อมีขันติ ย่อมเกิดทรัพย์และความสำเร็จที่ตั้งใจไว้ และเมื่อมีจาคะ ย่อมเกิดมิตรที่ดี เกิดคนรักใคร่ ทำให้มีพรรคพวกที่ดีในสังคม ซึ่งนั่นคือ วิถีแห่งการดำเนินชีวิตให้มีความสุข มีเกียรติยศชื่อเสียง และมีทรัพย์อย่างยั่งยืน

References

เชาว์ ศรีอนันต์. (2563). ประสิทธิภาพการปฏิบัติหน้าที่ตามหลักอิทธิบาทธรรมของเจ้าหน้าที่เทศบาล ตำบลเหมืองใหม่ อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม. วารสารพุทธนวัตกรรมและการจัดการ, 3(2), 4-58.

ณัฐกานต์ บุญแนบ. (2562). การนำหลักพุทธธรรมมาปลูกฝังให้กับต้นกล้าที่เป็นเยาวชนซึ่งเป็นอนาคตของชาติ. วารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์, 2(2), 55-64.

ทัตตชีโว ภิกขุ. (2529) ฆราวาสธรรม. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์นิวไวเต็ก.

พระปลัดชุมพล อาภทฺธโรและคณะ. (2561). การสร้างแรงจูงใจตามหลักพุทธธรรมให้แก่ประชาชนในการทำบุญของวัดพุน้อย อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี. วารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์, 1(2), 1-10.

พระมหาวิเศษ กนฺตธมฺโม. (2562). การจัดการความขัดแย้งตามหลักสาราณียธรรม. วารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์, 2(1), 32-38.

พระมหาโสภณ กิตฺติโสภโณ. (2562). การประยุกต์ใช้หลักอปริหานิยธรรมในการบริหารขององค์การบริหารส่วนตำบลโคกมน อำเภอน้ำหนาว จังหวัดเพชรบูรณ์. วารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์, 2(1), 22-31.

พระสุคนธ์ ญาณาวุโธและคณะ. (2563). การส่งเสริมประชาชนในการดำเนินชีวิตตามหลักฆราวาสธรรมของพระสงฆ์ อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี. วารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์, 3(2), 25-39.

พระอุดมสิทธินายก (กำพล คุณงฺกโร). (2563). การบริหารการเผยแผ่พระพุทธศาสนาตามหลักพุทธธรรม. วารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์, 3(2), 60-66.

วรพล หนูนุ่น. (2564). พระราชดำรัส “คุณธรรม 4 ประการ”. สืบค้น 3 เมษายน 2564, จากhttps://www.gotoknow.org/posts/23792

วิกิพีเดีย. (2563). ฆราวาสธรรม 4. สืบค้น 21 มีนาคม 2564, จาก https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%86%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1_4

สมชาย ลำภู. (2563). การพัฒนาชุมชนตามแนวพระพุทธศาสนาในตำบลเหมืองใหม่ อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม. วารสารพุทธนวัตกรรมและการจัดการ, 3(2), 59-67.

สมชาย ศุภธาดา. (2564). การบรรยายเรื่อง บัญชีนิติวิทย์. สืบค้น วันที่ 21 มีนาคม 2564, จาก https://zoom.us/

สุจิต กิ่งเกล้าและคณะ. (2562). การบูรณาการหลักปาปณิกธรรมเพื่อส่งเสริมคุณลักษณะผู้นำที่พึงประสงค์ของผู้บริหารสำนักงานประกันสังคมจังหวัดสมุทรสาคร. วารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์, 2(2), 34-43.

สุมนภัค วรภัทรทรัพย์. (2563). การอบรมคุณธรรมจริยธรรมของพระสงฆ์แก่นักเรียนโรงเรียนบางแพปฐมพิทยา จังหวัดราชบุรี. วารสารพุทธนวัตกรรมและการจัดการ, 3(2), 33-43.

สุวรรณ์ แก้วนะ. (2562). การพัฒนาคุณลักษณะผู้นำของผู้บริหารเทศบาลตามหลักพุทธธรรม. วารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์, 2(1), 39-45.

Nansnun. (2563). 5 ลักษณะ: อาชญากรรมเศรษฐกิจ. สืบค้น 24 มีนาคม 2564, จาก https://cities.trueid.net

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-09-19

How to Cite

กลิ่นเทศ อ. (2021). คิดแบบฆราวาสธรรมกับอาชญากรรมเชิ้ตขาว. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 10(3), 416–425. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jssr/article/view/252828