พุทธนวัตกรรมการสื่อสารเพื่อการประชาสัมพันธ์เชิงรุกของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ

ผู้แต่ง

  • ปนัดดา รักษาแก้ว มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • เกียรติศักดิ์ สุขเหลือง มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • บุญทัน ดอกไธสง มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

พุทธนวัตกรรมการสื่อสาร, การประชาสัมพันธ์เชิงรุก, สำนักงานตำรวจแห่งชาติ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการสื่อสารเพื่อการประชาสัมพันธ์เชิงรุก ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการสื่อสารเพื่อการประชาสัมพันธ์เชิงรุก และนำเสนอรูปแบบพุทธนวัตกรรมการสื่อสารเพื่อการประชาสัมพันธ์เชิงรุกของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เป็นการวิจัยแบบผสานวิธีเก็บข้อมูลกลุ่มตัวอย่างจำนวน 231 คน ซึ่งได้จากเจ้าหน้าที่ตำรวจที่เกี่ยวข้องกับการประชาสัมพันธ์ในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ กรุงเทพมหานคร จำนวน 547 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนาและเชิงอนุมานด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ และการวิจัยเชิงคุณภาพใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 17 รูปหรือคนโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา

ผลการศึกษาพบว่า (1) การประชาสัมพันธ์เชิงรุกโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.53 (2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการสื่อสารเพื่อการประชาสัมพันธ์เชิงรุกพบว่า พุทธนวัตกรรมการสื่อสาร และการบริหารงานประชาสัมพันธ์ส่งผลต่อส่งผลต่อการประชาสัมพันธ์เชิงรุกของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 (3) รูปแบบพุทธนวัตกรรมการสื่อสารเพื่อการประชาสัมพันธ์เชิงรุกของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ มีปัจจัยเหตุ 2 ปัจจัยได้แก่ พุทธนวัตกรรมการสื่อสาร และการบริหารงานประชาสัมพันธ์ ที่ส่งเสริมให้การประชาสัมพันธ์เชิงรุกของสำนักงานตำรวจแห่งชาติประสบผลสำเร็จได้

References

กองทะเบียน สำนักงานตำรวจแห่งชาติ. (2563). เกี่ยวกับกองทะเบียน. สืบค้น 1 กุมภาพันธ์ 2563, จาก http:// www.personnelpolice.com

กองยุทธศาสตร์ สำนักงานยุทธศาสตร์ตำรวจ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ. (มปท.). ยุทธศาสตร์สำนักงานตำรวจแห่งชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561–2580). เอกสารเผยแพร่.

ฐิติทัตน์ นิพนธ์พิทยา (ร้อยโท). (2562). รูปแบบการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในยุคไทยแลนด์ 4.0 ของหน่วยบัญชาการทหารพัฒนา กองบัญชาการกองทัพไทย. (วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ทรงวิทย์ เจริญกิจธนลาภ. (2559). ความสามารถในการประชาสัมพันธ์ของบุคลากรด้านประชาสัมพันธ์ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล. สุทธิปริทัศน์, 30(93), 161.

ธณัฐพล ชะอุ่ม. (2558). การบริหารจัดการที่มีผลต่อประสิทธิผลของเทศบาลตำบลในเขตภาคกลางของประเทศไทย. วารสารวิทยาการจัดการสมัยใหม่, 8(1), 137.

ปิยณัฐ ไชยกุล. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างการประชาสัมพันธ์เชิงรุกกับภาพลักษณ์องค์กรของธุรกิจโรงแรมในประเทศไทย. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 37(5), 85.

พจน์ ใจชาญสุขกิจ. (2563). การประชาสัมพันธ์ในภาวะวิกฤติ และกรณีศึกษา. สืบค้น 2 มกราคม 2563, จาก http://drphot.com/thinkabout/archives/1319

พระนิวัฒน์ สนฺตจิตฺโต. (2561). การพัฒนาเทคนิคการสอนของพระสอนศีลธรรมในโรงเรียนอำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี, วารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์, 1(1), 13-25.

พระมหาเสกสรรค์ สุขกาโม. (2563). นวัตกรรมการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของคณะสงฆ์จังหวัดอุดรธานี. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 8(4), 14-18.

พระยงยุทธ กตธุโร. (2564). การพัฒนาการเรียนการสอนวิชาพระพุทธศาสนาของพระสอนศีลธรรมในโรงเรียนในอำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. วารสารพุทธนวัตกรรมและการจัดการ, 4(1), 28-36.

พระวีรสิษฐ กมฺมสุทฺโธและคณะ. (2562). การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของพระสงฆ์เพื่อการสอนศีลธรรมในโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี. วารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์, 2(2), 11-23.

พระสอนสิน ปญฺญาวโร. (2563). การจัดการความรู้เพื่อพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลในอำเภอจัตุรัส จังหวัดชัยภูมิ. วารสารพุทธนวัตกรรมและการจัดการ, 3(1), 57-67.

พระอลงกรณ์ กนฺตวณฺโณ. (2564). ประสิทธิภาพการจัดการอบรมคุณธรรมจริยธรรมแก่เยาวชนของคณะสงฆ์อำเภอเมืองเพชรบุรี. วารสารพุทธนวัตกรรมและการจัดการ, 4(1), 47-56.

เยาวลักษณ์ ภูศรีเกษม. (2555). กระบวนการประชาสัมพันธ์ละครโทรทัศน์. วารสารการประชาสัมพันธ์และการโฆษณา, 5(2), 23.

วรวุฒิ ภักดีบุรุษ. (2560). นวัตกรรมการสื่อสารเพื่อการจัดการแบรนด์องค์กรของธนาคารพาณิชย์ไทย: กรณีศึกษาธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน). วารสารนักบริหาร Executive Journal, 37(1), 38.

ศิริวรรณ จุลทับ. (2558). กลยุทธ์การประชาสัมพันธ์เชิงรุกของสถาบันอุดมศึกษาเขตภูมิศาสตร์ภาคใต้. วารสารราชภัฏสุราษฎร์ธานี, 2(2), 175-176.

สุมนภัค วรภัทรทรัพย์. (2563). การอบรมคุณธรรมจริยธรรมของพระสงฆ์แก่นักเรียนโรงเรียนบางแพปฐมพิทยา จังหวัดราชบุรี. วารสารพุทธนวัตกรรมและการจัดการ, 3(2), 33-43.

Yamane, T. (1973). Statistic: An Introductory Analysis (3rd ed). New York: Harper and Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-09-19

How to Cite

รักษาแก้ว ป. ., สุขเหลือง เ. ., & ดอกไธสง บ. . (2021). พุทธนวัตกรรมการสื่อสารเพื่อการประชาสัมพันธ์เชิงรุกของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 10(3), 93–106. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jssr/article/view/252619