การพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักพุทธบูรณาการสำหรับผู้สูงอายุ ของพระสงฆ์ในจังหวัดพิจิตร

ผู้แต่ง

  • พระครูศรีเมธาภรณ์ (ประภาส ฐิตธมฺโม) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • พระสุธีวีรบัณฑิต (โชว์ ทสฺสนีโย) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • พระมหากฤษฎา กิตฺติโสภโณ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

ผู้สูงอายุ, การพัฒนาคุณภาพชีวิต, หลักพุทธบูรณาการ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา สภาพการพัฒนาคุณภาพชีวิต ปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต และนำเสนอรูปแบบการพัฒนา โดยมีระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี วิจัยเชิงคุณภาพเก็บข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 18 รูปหรือคน ด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการพรรณนาความและการวิจัยเชิงปริมาณเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่าง 333 คน ตามสัดส่วนกลุ่มตัวอย่างผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไปภูมิลำเนาในจังหวัดพิจิตร

ผลการวิจัยพบว่า สภาพทั่วไปในการพัฒนาคุณภาพชีวิต ปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต และนำเสนอรูปแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักพุทธบูรณาการผู้สูงอายุของพระสงฆ์ในจังหวัดพิจิตร มีความสำคัญทั้ง 4 ด้าน (1) ด้านร่างกาย ควรได้รับการดูแลและการป้องกันในด้านสุขภาพร่างกาย จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในด้านสุขภาพ (2) ด้านจิตใจ หางานอดิเรกทำเพื่อให้หายจากภาวะเครียด หรือให้ผู้สูงอายุอบรมให้กับชาวบ้านเกี่ยวกับภูมิปัญญาท้องถิ่น (3) ความสัมพันธ์ต่อสังคม ให้รู้จักการอยู่ร่วมกันในสังคมและมีความสุขกับผู้คนในสังคม ไม่เป็นภาระให้กับบุคคลอื่นๆในสังคมและปฏิบัติตนให้เกิดประโยชน์แก่สังคม (4) ด้านสิ่งแวดล้อม จัดวัดให้เป็นศูนย์รวมใจรวมพลังของผู้สูงอายุ ส่งเสริมให้ชุมชนดูแลผู้สูงอายุ และอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ

References

กุลวดี โรจน์ไพศาลกิจ และ วรากร เกรียงไกรศักดา. (2560). การพัฒนาแนวทางการดำเนินงานของชุมชนใน การพัฒนาสุขภาวะผู้สูงอายุ. วารสารสมาคมนักวิจัย, 33(1), 81-97.

คณะกรรมาธิการกิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ. (2560). การดูแลสุขภาพผู้สูงอายุแบบบูรณาการ. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: บริษัท ศิริชัย การพิมพ์ จำกัด.

ประยูร เจนตระกูลโรจน์. (2562). ผู้สูงอายุ : ดูแลอย่างไรให้แก่อย่างมีคุณค่า ชราอย่างมีคุณภาพ. วารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์, 2(2), 44-53.

พรชุลีย์ นิลวิเศษ. (2550). นันทนาการสำหรับผู้สูงอายุ. สืบค้น 23 พฤศจิกายน 2560, จาก http://www.stou.ac.th/stoukc/elder/main1_10.html

พระเทพเวที (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). (2536) พุทธศาสน์กับชาติไทย. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2543). พุทธธรรม ฉบับปรับปรุงและขยายความ. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหากฤษฎา กิตฺติโสภโณ. (2562). การวิจัยและพัฒนาศูนย์พัฒนาศักยภาพผู้สูงอายุที่ตั้งในพุทธสถาน. วารสาร มจร มนุษยศาสตร์ปริทรรศน์, 5(2), 1-14.

พระมหาบำรุง ธมฺมเสฏฺโฐ. (2563). การพัฒนาสุขภาวะผู้สูงอายุของเทศบาลตำบลมหาพราหมณ์อำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์, 3(1), 1-13.

พวงทอง ไกรพิบูลย์. (2557). คุณภาพชีวิต. สืบค้น 18 พฤศจิกายน 2560, จากhttp://haamor.com/th/คุณภาพชีวิต

พุทธทาสภิกฺขุ, (2549). พุทธธรรมขุมทรัพย์จากพระโอษฐ์(ฉบับคู่มือพุทธบริษัท), (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์บุพนิมิต.

ภานุ อดกลั้น.(2551). ทฤษฎีการสูงอายุ. สืบค้น 9 กันยายน 2560, จากhttps://shorturl.asia/qByze

ส่วนอนามัยผู้สูงอายุ สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. บทบาทผู้สูงอายุต่อสังคม ครอบครัว ชุมชน. สืบค้น 21 พฤศจิกายน 2560, จาก https://shorturl.asia/mhJud

สำนักงานส่งเสริมและพิทักษ์ผู้สูงอายุ (สทส.). (2556). แผนกลยุทธ์ ปี พ.ศ. 2556-2559. กรุงเทพฯ: สำนักงานส่งเสริมและพิทักษ์ผู้สูงอายุ.

สุภัทรชัย สีสะใบและคณะ. (2562). ถอดบทเรียนจากพื้นที่ : การดูแลผู้สูงอายุตามแนวพุทธในจังหวัดสมุทรปราการ. วารสารวิจยวิชาการ, 2(1), 149-170.

Yamane. Taro. (1967). Statistics: An Introductory Analysis. New York. Harpen and Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-02

How to Cite

(ประภาส ฐิตธมฺโม) พ. ., (โชว์ ทสฺสนีโย) พ. ., & กิตฺติโสภโณ พ. . (2022). การพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักพุทธบูรณาการสำหรับผู้สูงอายุ ของพระสงฆ์ในจังหวัดพิจิตร. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 11(3), 252–266. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jssr/article/view/252604