โมเดลการพัฒนานวัตกรรมท้องถิ่นตามโครงการ วัด ประชา รัฐ สร้างสุขด้วยกิจกรรม 5 ส ขององค์การบริหารส่วนตำบลระบำ อำเภอลานสัก จังหวัดอุทัยธานี

ผู้แต่ง

  • ไกรศร วันละ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
  • ภักดี โพธิ์สิงห์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

คำสำคัญ:

การพัฒนานวัตกรรมท้องถิ่น, โครงการ วัด ประชา รัฐ สร้างสุขด้วยกิจกรรม 5 ส, องค์การบริหารส่วนตำบลระบำ

บทคัดย่อ

การพัฒนานวัตกรรมท้องถิ่นถือว่าเป็นนโยบายสาธารณะเพื่อพัฒนาชุมชน และเป็นเป้าหมายหลักขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่จะต้องดำเนินการทำงานบูรณาการร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ โครงการ วัด ประชา รัฐ สร้างสุขด้วยกิจกรรม 5 ส เป็นอีกหนึ่งภารกิจที่สำคัญของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ที่ต้องทำงานประสานความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายต่าง ๆ อาทิ สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เป็นต้น เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ร่วมกัน และทางองค์การบริหารส่วนตำบลระบำ อำเภอลานสัก จังหวัดอุทัยธานี ได้มีเป้าหมายเพื่อพัฒนาให้วัดเป็นที่พึ่งของประชาชน ดังนั้น บทความนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาแนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับการพัฒนานวัตกรรมท้องถิ่น ตามโครงการ วัด ประชา รัฐ สร้างสุขด้วยกิจกรรม 5 ส ประกอบด้วย 5 ด้าน ได้แก่ 1) สะสาง 2) สะดวก 3) สะอาด 4) สร้างมาตรฐาน 5) สร้างวินัย (2) สังเคราะห์แนวทางการพัฒนานวัตกรรมท้องถิ่นตามโครงการ วัด ประชา รัฐ สร้างสุขด้วยกิจกรรม 5 ส ขององค์การบริหารส่วนตำบลระบำ อำเภอลานสัก จังหวัดอุทัยธานี ประกอบด้วย 7 ด้าน ได้แก่ 1) การประกาศนโยบาย 2) กำหนดคณะกรรมการ 3) อบรมให้ความรู้ในเรื่องเกี่ยวกับระบบ 5 ส 4) สำรวจพื้นที่วัด 5) จัดทำแผนการปรับปรุง 6) ดำเนินกิจกรรมตามแผนที่วางไว้ และ 7) สรุปผลการดำเนินงาน

References

กองพุทธศาสนสถาน กรมการศาสนา. (2545). คู่มือการพัฒนาวัด อุทยานการศึกษาในวัดลานวัด ลานใจ ลานกีฬา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์การศาสนา.

กองส่งเสริมและพัฒนาการจัดการศึกษาท้องถิ่น กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นกระทรวงมหาดไทย. (2561). คู่มือการดาเนินงานโครงการวัด ประชา รัฐ สร้างสุข : พัฒนาวัดตามแนวทาง 5 ส ที่ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วม. กรุงเทพฯ : กระทรวงมหาดไทย.

ขวัญใจ เปือยหนองแข้ และภักดี โพธิ์สิงห์. (2564). ถอดรหัสโมเดลการพัฒนานวัตกรรมท้องถิ่นด้านระบบธนาคารน้ำใต้ดินขององค์การบริหารส่วนตำบลระบำ อำเภอลานสัก จังหวัดอุทัยธานี. วารสารการบริหารนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น, 7(2), 342 - 359.

คณะสงฆ์จังหวัดปทุมธานี. (2561). คู่มือและกรณีศึกษาการดำเนินงานโครงการฯ. ปทุมธานี: คณะสงฆ์จังหวัดปฐมธานี.

ชลิดา ศรมณี และคณะ. (2556). การสร้างสรรค์นวัตกรรมบริการสาธารณะโดยองค์การบริหารส่วนตำบล (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

เดลินิวส์ออนไลน์. (2561). มส. ใช้ 5 ส รุกพัฒนาวัด ประชา รัฐ สร้างสุข. สืบค้น 3 เมษายน 2564, จาก https://www.dailynews.co.th/education/643864

พระครูสังฆรักษ์อนันต์ สุทธิมโน และคณะ. (2564). รูปแบบการบริหารจัดการงานสาธารณูปการตามโครงการวัด ประชา รัฐ สร้างสุขของคณะสงฆ์จังหวัดปทุมธานี. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 10(1), 172- 182.

พระครูสิริธรรมบัณฑิต และคณะ. (2564). รูปแบบการพัฒนาวัดด้วยวิถี 5 ส โครงการวัด ประชา รัฐ สร้างสุขของวัดมิ่งเมืองมูล. วารสารวิจัยวิชาการ, 4 (1), 23 - 36.

พระครูอุทิตวิริยากร. (5 เมษายน 2564). เจ้าอาวาสวัดปางไม้ใฝ่ รองเจ้าคณะอำเภอลานสัก จังหวัดอุทัยธานี. [สัมภาษณ์].

ภาวิณี ลักขษร และ กฤชวรรธน์ โล่ห์วัชรินทร์. (2562). เงื่อนไขการเกิดนวัตกรรมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในประเทศไทย. วารสารรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์, 10 (2), 109 - 126.

ภาษิต สุขวรรณดี. (2559). การพัฒนามนุษย์ตามแนวภาวนา 4. สิรินธรปริทรรศน์, 17(1), 18-33.

ยุรนันท์ ตามกาล. (2557). บ้าน วัด โรงเรียน กับการใช้วิถีเศรษฐกิจพอเพียงในการส่งเสริมความ เข้มแข็งของครอบครัว. วารสาร HR intelligence, 9(1), 12-31.

เรวัตร์ ชาตรีวิศิษฏ์. (2550). ทฤษฎีกิจกรรม 5 ส ให้สัมฤทธิ์ผลนั้นมาจากคน. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ศูนย์ส่งเสริมวิชาการ.

วรปรัชญ์ คำพงษ์. (2563). นโยบายภาครัฐสมัยใหม่: การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามหลักภาวนา. วารสารบริหารนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น, 6 (2), 281 - 291.

วีระศักดิ์ เครือเทพ. (2548). นวัตกรรมสร้างสรรค์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น : หนังสือสำหรับเสริมพลังความคิดและหลักวิชาให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัด กลุ่มอำนวยการและกิจการพระพุทธศาสนา. (2562). เรื่อง ประกาศผลรางวัล สัปปายะอวอร์ด 2562 โครงการวัด ประชา รัฐ สร้าง สุข ด้วยวิถี 5 ส ประจำปี 2562. อุทัยธานี : สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัด กลุ่มอำนวยการและกิจการพระพุทธศาสนา.

สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ. (2553). วัดพัฒนาตัวอย่าง. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนา.

สุรพล สุยะพรหม และคณะ. (2555). พื้นฐานทางการจัดการ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

องค์การบริหารส่วนตำบลระบำ. (2563). โครงการวัด ประชา รัฐ สร้างสุข สร้างสัปปายะ ด้วยวิถี 5 ส. สืบค้น 3 เมษายน 2564 จาก https://www.rabum.go.th/news_detail.php?hd=1&doIP=1&checkIP=chkIP&id=55333&checkAdd=chkAd&dum=43169_ypk

Drucker, P. F. (2003). Harvard Busines Review on the Innovation Enterprise. Boston: Harvard Business School.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-09-19

How to Cite

วันละ ไ., & โพธิ์สิงห์ ภ. . (2021). โมเดลการพัฒนานวัตกรรมท้องถิ่นตามโครงการ วัด ประชา รัฐ สร้างสุขด้วยกิจกรรม 5 ส ขององค์การบริหารส่วนตำบลระบำ อำเภอลานสัก จังหวัดอุทัยธานี. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 10(3), 379–393. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jssr/article/view/252482