Crystal Club: ภาพการสะท้อนและหลักคิดทางพระพุทธศาสนา

ผู้แต่ง

  • พระครูโสภิตพัฒนโชติ (สุพรรณ โชติธมฺโม) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • เยื้อง ปั้นเหน่งเพชร มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

ภาพสะท้อนสังคมไทย, พื้นที่อโคจร, พระพุทธศาสนา

บทคัดย่อ

Crystal Club เป็นสถานบันเทิงขนาดใหญ่ที่ผู้ที่มีเงิน มีอำนาจและมีตำแหน่งต่างๆ ในบ้านเมืองมักจะเข้าไปใช้บริการตามพอใจของตนเอง จนกลายเป็นแหล่งคลัสเตอร์รอบใหม่ของการแพร่เชื่อเชื่อไวรัส Covid-19 ทำให้ลุกลามไปทั่วประเทศ หากจะมองด้วยความเป็นธรรมแล้วจะเห็นได้ว่า มิใช่เพียง Crystal Club เท่านั้นที่สามารถเปิดให้บริการแบบครบวงจร ยังมีสถานบันเทิงอื่นๆ อีกบางส่วนที่มีลักษณะเดียวกันตั้งอยู่ทั่วประเทศไทยโดยเฉพาะตามหัวเมืองใหญ่และแหล่งท่องเที่ยวยามค่ำคืนเพราะเป็นแหล่งรายได้และก่อให้เกิดการไหลเวียนของเม็ดเงินจำนวนมหาศาลของผู้มีอิทธิพลจึงทำให้เกิดความนิยมในหมู่นักท่องเที่ยวตั้งแต่ประชาชนทั่วไปจนถึงรัฐมนตรีต่างๆ จากภาพสะท้อนเหล่านี้ในทางพระพุทธศาสนามองว่า สถานบันเทิงเหล่านี้เป็นแหล่งอบายมุขหรือเป็นแหล่งเสื่อมโทรมไม่เหมาะสมสำหรับผู้ที่ศึกษาธรรม ผู้ที่เผยแผ่ธรรม และผู้ปฏิบัติธรรมจะเข้าไปสู่สถานที่เหล่านั้นอย่างเด็ดขาดเพราะเป็นพื้นที่อโคจรย่อมทำลายคุณธรรมของตนเองลงไปและยากต่อการพัฒนาคุณธรรมอื่นๆ ให้เกิดขึ้นได้ รวมทั้งบุคคลที่เข้าไปสู่สถานที่เหล่านั้นเป็นผู้ที่ตั้งตนอยู่ในความประมาทไม่สอดคล้องและไม่เหมาะสมสำหรับชาวพุทธผู้ถือธงชัยแห่งธรรมของพระพุทธเจ้า

References

กรุงเทพธุรกิจ. (2564). สนามมวย-บ่อน-เลานจ์ บทเรียนสกัดคลัสเตอร์ใหม่. สืบค้น 22 เมษายน 2564, จาก https://today.line.me/th/v2/article/oBZB96

จุฑาทิพย์ พรมวงศ์และคณะ. (2561). พฤติกรรมการใช้บริการผับและสถานบันเทิงรอบสถานศึกษาของนักศึกษามหาวิทยาลัยในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 12(1), 26.

ชัยนาม นักไร่. (2545). อิทธิพลของผับต่อการมีเพศสัมพันธ์ของวัยรุ่น : ศึกษากรณีวัยรุ่นที่เคยไปใช้บริการผับย่านถนนอาร์ ซี เอ. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต) กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ผู้จัดการออนไลน์. (2564). มารู้จัก “คริสตัลคลับ” ผับหรูย่านทองหล่อ หนึ่งในต้นตอทำโควิด-19 ระบาดระลอก 3. สืบค้น 22 เมษายน 2564, จาก https://mgronline.com/onlinesection/detail/9640000033680

พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช). (2548). คำวัด. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์เลี่ยงเซียงเพื่อพุทธศาสตร์.

พระมหาบุญส่ง สิริภทฺโท (ธูปจันทร์). (2559). บทวิจารณ์หนังสือเรื่อง การจัดการเกี่ยวกับอบายมุขในสังคมไทยปัจจุบัน : แนวคิดทางพระพุทธศาสนาเขียนโดย ชวโรฒน์ วัลยเมธี. วารสารพุทธจิตวิทยา, 1(1) 115.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สนธิ ลิ้มทองกุล. (2564). ตร.ลงตรวจคริสตัลคลับ-เอมเมอรัลด์ผับ เก็บหลักฐานเพิ่มเติม. สืบค้น 22 เมษายน 2564, จาก https://sondhitalk.com/detail/9640000036245

สุภีร์ ทุมทอง. (2559). ความไม่ประมาท. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัด ภาพพิมพ์.

Tachochavalit, S. (2564). กดดันจากความกังวลคลัสเตอร์ทองหล่อ. สืบค้น 22 เมษายน 2564, จาก https://www.th.rhbtradesmart.com/th/images/articles/research_center/download/dailydirection/pdf_th/2021/04/0407_market%20comments%20thailand.pdf

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-09-19

How to Cite

(สุพรรณ โชติธมฺโม) พ., & ปั้นเหน่งเพชร เ. . (2021). Crystal Club: ภาพการสะท้อนและหลักคิดทางพระพุทธศาสนา. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 10(3), 394–403. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jssr/article/view/252064