คตินิยมของธุรกิจและสินค้าที่เกี่ยวกับความเชื่อ
คำสำคัญ:
คตินิยมความเชื่อ, ธุรกิจความเชื่อ, สินค้าเกี่ยวกับความเชื่อบทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1. ศึกษาคตินิยมที่ทำให้เกิดธุรกิจและสินค้าเกี่ยวกับความเชื่อ 2. ศึกษารูปแบบของธุรกิจและสินค้าเกี่ยวกับความเชื่อ และ 3. ศึกษาความนิยมและการดำรงอยู่ของธุรกิจและสินค้าเกี่ยวกับความเชื่อ โดยการวิเคราะห์เอกสารและการสัมภาษณ์เชิงลึก จากกลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจเกี่ยวกับความเชื่อ จำนวน 5 คน และผู้บริโภคสินค้าเกี่ยวกับความเชื่อ จำนวน 15 คน
ผลการวิจัยพบว่า 1. คตินิยมที่ทำให้เกิดธุรกิจและสินค้าเกี่ยวกับความเชื่อ คือ มนุษย์มี ความเชื่อเรื่องเครื่องรางของขลัง เชื่อว่าสิ่งศักดิ์สิทธิ์จะช่วยคุ้มครองให้แคล้วคลาดปลอดภัย ความเชื่อเรื่องศาสตร์ตัวเลขที่จะทำให้ชีวิตดีขึ้น เมื่อความเชื่อถูกแพร่กระจายออกไปและมีสินค้าเครื่องรางเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจถูกผลิตออกมา จึงทำให้เกิดความต้องการและเกิดเป็นธุรกิจขึ้นมา 2. รูปแบบของธุรกิจและสินค้าเกี่ยวกับความเชื่อสามารถแบ่งได้เป็น 2 รูปแบบคือ รูปแบบของความเชื่อเรื่องศาสตร์พลังตัวเลข เช่น เบอร์โทรศัพท์มือถือ การตั้งชื่อ ทะเบียนรถ และรูปแบบของการขายสัญลักษณ์ เช่น เครื่องรางของขลัง วัตถุมงคล เป็นต้น 3. ความนิยมและการดำรงอยู่ของธุรกิจและสินค้าเกี่ยวกับความเชื่อในมุมมองของผู้ขายและผู้บริโภคล้วนเกิดจากความเชื่อด้วยกันทั้งสิ้น จึงทำให้ธุรกิจและสินค้าดำรงอยู่ต่อไปได้ และที่สำคัญปัจจุบันนี้มีการนำแฟชั่นเข้ามาผสมผสานจนทำให้เครื่องรางกลับมานิยมอีกครั้ง
References
กมลชนก จันทร์แดง. (2562). ความเชื่อ Beliefs. สืบค้น 12 มกราคม 2564, จาก https://bcnlp56.weebly.com/index.html
การนิคมแห่งประเทศไทย. (2559). Thailand 4.0, Value-based Economy. สืบค้น 5 มกราคม 2563,จากhttp://www.ieat.go.th/assets/uploads/cms/file/20160929 104120962018988.pdf
ขนิษฐา จิตชินะกุล. (2545). ประวัติของคติชนวิทยา. สืบค้น 22 มิถุนายน 2563, จาก http://ithesisir.su.ac.th/dspace/bitstream/123456789/2385/1/56251802.pdf
ดนัย จันทร์เจ้าฉาย. (2550). ศรัทธามาร์เก็ตติ้ง...เหนือกว่าแบรนด์ดิ้ง?. สืบค้น 2 เมษายน 2562, จาก https://positioningmag.com/9801
ธวัช ปุณโณทก. (2528). ความเชื่อ. สืบค้น 20 ธันวาคม 2563, จาก http://www.digitalschool.club/digitalschool/thai2_4_1/thai1_4/page4.php
ภริมา วินิธาสถิตกุล และพระมหาจิรฉันท์ จิรเมธี (โลวะลุน). (2558). คติชนวิทยา: ความเชื่อกับสังคมไทย. มจร มนุษยศาสตร์ปริทรรศน์, 1(1), 41-42.
พระครูคัมภีร์ธรรมานุวัตร. (2559). วิเคราะห์ลักษณะการใช้ภาษาตั้งชื่อพระเครื่องเพื่อสร้างอุดมการณ์ทางความเชื่อในสังคมไทย (รายงานการวิจัย). ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยขอนแก่น.
ภพ สวัสดี. (2561). ตัวเลขลิขิตชีวิตเราได้หรือ?: อุดมการณ์ชะตานิยมกับการร้อยเรียงตัวเลข. วารสารสาขามนุษย์ศาสตร์ สังคมศาสตร์และศิลปะ, 11(2), 1-10.
นิติกฤตย์ กิตติศรีวรนันท์. (2562). Decoder+ ถอดรหัสพลังตัวเลข สร้างแรงดึงดูดความสำเร็จ (3rd ed.). กรุงเทพฯ: หจก. เบอร์รับโชคดอทคอม.
Thitathan, S. (2002). Faith and Religion in Thailand Society. Nonthaburi: Sukhothai thammathirat Open University.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2021 วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น