การพัฒนาคุณลักษณะผู้นำตามหลักสัปปุริสธรรมของผู้บริหารเทศบาล ในจังหวัดสมุทรปราการ
คำสำคัญ:
คุณลักษณะผู้นำ, บทบาทของผู้บริหาร, หลักสัปปุริสธรรมบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาคุณลักษณะผู้นำของผู้บริหารเทศบาล 2. ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลผลต่อการพัฒนาคุณลักษณะผู้นำของผู้บริหารเทศบาล 3. นำเสนอรูปแบบการพัฒนาคุณลักษณะผู้นำตามหลักสัปปุริสธรรม ดำเนินการตามระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี โดยการวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.987 เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง คือ บุคลากรของเทศบาลในจังหวัดสมุทรปราการ จำนวน 550 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง (SEM) โดยใช้การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (CFA) การวิจัยเชิงคุณภาพใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 17 รูปหรือคน แบบตัวต่อตัว วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนาและการสนทนากลุ่มเฉพาะจำนวน 10 รูปหรือคน เพื่อยืนยันโมเดลหลังจากการสังเคราะห์ข้อมูล
ผลการวิจัยพบว่า 1. การพัฒนาคุณลักษณะผู้นำของผู้บริหารเทศบาล โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากทุกด้าน 2. การพัฒนาภาวะผู้นำและบทบาทผู้บริหารผ่านหลักสัปปุริสธรรมส่งผลต่อการพัฒนาคุณลักษณะผู้นำของผู้บริหารเทศบาลโดยรวมร้อยละ 21 และ 3. รูปแบบการพัฒนาคุณลักษณะผู้นำตามหลักสัปปุริสธรรมของผู้บริหารเทศบาล มีปัจจัยพื้นฐาน 2 อย่าง คือ การพัฒนาภาวะผู้นำและบทบาทของผู้บริหารเทศบาลนอกจากนั้นยังบูรณาการหลักพุทธธรรมคือหลักสัปปุริสธรรมเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการบริหารเทศบาลที่ถูกต้องตามหลักการและหลักธรรม
References
กิตต์ระวี เลขากุล. (2561). ธรรมาภิบาลวัฒนธรรมองค์การที่ส่งผลต่อประสิทธิผลองค์การของเทศบาลในเขตภาคใต้ของประเทศไทย”. (วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต). สงขลา: มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
คณะกรรมการและอนุกรรมการจังหวัด. (2560). แผนพัฒนาจังหวัดสมุทรปราการ 4 ปี (พ.ศ. 2461 -2564) ทบทวนปี พ.ศ. 2560. สมุทรปราการ: องค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการ.
ณภัทร ปิณฑรัตน์. (2554). คุณลักษณะของผู้นำองค์กรตามหลักพละ 4 ในธุรกิจประกันภัย(รายงานวิจัย). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ประหยัด หงส์ทองคำ. (2553). การปกครองท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: ดอกหญ้า.
ฝ่ายวิชาการ บริษัท สกาบุ๊กส์ จำกัด. (2549). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 พ.ศ.2550-2554. กรุงเทพฯ: บริษัท สกายบุ๊กส์ จำกัด.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต). (2554). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม (พิมพ์ครั้งที่ 34). นนทบุรี: เอส.อาร์ พริ้นติ้ง แมสโปรดักส์.
พระมหาบำรุง ธมฺมเสฏฺโฐ. (2563). การพัฒนาสุขภาวะผู้สูงอายุของเทศบาลตำบลมหาพราหมณ์อำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์, 3(1), 1-13.
พระมหาอุดร สุทฺธิญาโณ (เกตุทอง). (2557). ศึกษาเปรียบเทียบภาวะผู้นำตามหลักพระพุทธศาสนากับภาวะผู้นำตามแนวคิดของ สตีเฟ่น อาร์. โควีย์ (วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาพระพุทธศาสนา). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระราชวชิรเมธี (วีระ วรปญฺโญ). (2559). รูปแบบภาวะผู้นำตามแนวพระพุทธศาสนาของผู้บริหารมหาวิทยาลัยสงฆ์ไทย (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
แม่ชีวงเพชร คงจันทร์. (2556). การศึกษาวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างหลักพุทธธรรมกับหลักกฎหมาย : กรณีศึกษาพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว (วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
วีรณัฐ โรจนประภา. (2559). การนำหลักพุทธธรรมมาประยุกต์ใช้ในการสร้างสังคมแห่งสัมมาปัญญาใน ประเทศไทย. วารสารวิชาการ บัณฑิตวิทยาลัยสวนดุสิต, 12(3), 217-231.
ศุภณัฐ เจริญสุข. (2558). กลยุทธ์การพัฒนาภาวะผู้นำของผู้บริหารเทศบาลในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง (วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สมโพชน์ กวักหิรัญ. (2553). บูรณาการการดำเนินงานขององค์การบริหารส่วนตำบลด้วยหลักสัปปุริสธรรม 7 (รายงานวิจัย). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
เอกชัย พรนิคม. (2563). การมีส่วนร่วมทางการเมืองท้องถิ่นของประชาชนในเทศบาลตำบลเหมืองแก้ว อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่. วารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์, 3(2), 1-11.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2021 วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น