การจัดการเชิงกลยุทธ์ของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
คำสำคัญ:
การจัดการ, การจัดการเชิงกลยุทธ์, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยบทคัดย่อ
บทความวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้องเกี่ยวกับการจัดการเชิงกลยุทธ์ของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เพื่อศึกษาความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้องเกี่ยวกับการจัดการเชิงกลยุทธ์ของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ผู้วิจัยได้ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) โดยมีประเด็นที่สัมภาษณ์ในการวิจัย คือ ความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้องเกี่ยวกับการจัดการเชิงกลยุทธ์ของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย จากผู้บริหาร คณาจารย์ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการเชิงกลยุทธ์ของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย กลุ่มตัวอย่างนี้ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับสภาพ ปัญหาการจัดการเชิงกลยุทธ์ของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย บุคคลที่มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญด้านการจัดการเชิงกลยุทธ์ของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยประกอบด้วยนักวิชาการ ผู้บริหาร คณาจารย์ที่มีความรู้ และผู้ที่มีประสบการณ์ในการบริหารจัดการ ผลการศึกษา สภาพ ปัญหาการจัดการเชิงกลยุทธ์ของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
ผลการวิจัย พบว่า
ด้านกลยุทธ์ของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พบว่ามี 3 ประเด็นหลักได้แก่ 1) ประเด็นเกี่ยวกับนโยบายและแผน กลยุทธ์คือเข็มชี้นำการเดินทาง ซึ่งแผนกลยุทธ์ไม่ได้มาจากการสำรวจและติดตามเชิงประจักษ์บุคลากรของมหาวิทยาลัย ข้อมูลไม่ได้เกิดขึ้นจากการสำรวจข้อมูลการพัฒนาบุคลากรเชิงประจักษ์อย่างชัดเจนก่อนยกร่างแผนกลยุทธ์ ข้อมูลการได้มาโดยไม่เป็นข้อมูลเชิงประจักษ์ 2) ประเด็นเกี่ยวกับการดำเนินตามกลยุทธ์ขององค์กร สาระสำคัญคือการดำเนินตามกลยุทธ์ขององค์กรจำเป็นต้องใช้งบประมาณมาก ในเมื่องบประมาณมีความเสี่ยงสูงกลยุทธ์ก็เสี่ยงไปด้วย ด้วยเหตุที่มหาวิทยาลัยได้ออกนโยบายไว้หลายนโยบาย บางนโยบายก็ปฏิบัติได้และบางนโยบายปฏิบัติไม่ได้เป็นเพียงนโยบายในอุดมคติ และเป็นเรื่องความเสี่ยงในแง่ของการวางกลยุทธ์ที่ไม่ตรงกับธรรมชาติองค์กร 3) ประเด็นเกี่ยวกับศักยภาพของบุคลากร ซึ่งแผนพัฒนามหาวิทยาลัยมีการกำหนดมาตรการหรือแนวปฏิบัติในบางประเด็นไม่สามารถนำไปสู่การปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรม บางประเด็นนำไปปฏิบัติได้แต่ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์เพราะไม่ตรงกับธรรมชาติขององค์กร นอกจากนี้ แผนพัฒนาบุคลากร แผนการใช้จ่ายเงิน/งบประมาณ ยังอยู่ในระหว่างยกร่างใหม่ การบริหารงานจึงใช้แผนการใช้จ่ายงบประมาณประจำปีเป็นกรอบในการดำเนินงานเป็นหลัก ในลักษณะที่ว่ามีเงิน/งบประมาณเท่าไรก็ทำเท่านั้น ทำไปตามงบประมาณที่มีอยู่ ไม่ได้มีแผนกลยุทธ์ในระยะยาว
References
Miskel. (2003). Vision of Success : Pedagogical practices of African American community college teachers. Retrieved June 24. http://ad,arc,nrru,ac,th/dao/detail,nsp.
Tapper, S. & Salter, Oxford, (1995). Cambridge and the Chanting Idea of the University : The Challenge to Donnish Domination. Great Britain : SRHE and Open University Press.
Downloads
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2020 วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น