การพัฒนากลยุทธ์การยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของโรงเรียนประถมศึกษาขนาดกลาง

ผู้แต่ง

  • วิจิตร นารอง คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
  • อุดม จำรัสพันธุ์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
  • พิชญ์ ฉายายนต์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี

คำสำคัญ:

การพัฒนากลยุทธ์ การยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โรงเรียนขนาดกลาง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและประเมินกลยุทธ์การยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของโรงเรียนประถมศึกษาขนาดกลาง มีวิธีดำเนินการวิจัย แบ่งเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การพัฒนากลยุทธ์การยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยมีการดำเนินการ 2 ขั้นตอน คือ1)การสร้างกลยุทธ์การยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เครื่องมือในการวิจัย คือแนวคำถามเชิงลึก เก็บรวบรวมข้อมูลโดยผู้วิจัยสัมภาษณ์ด้วยตนเอง นำมาวิเคราะห์ข้อมูล เชิงเนื้อหา สร้างข้อสรุป 2) การยืนยันกลยุทธ์การยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม ความคิดเห็น แบบชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับการเก็บรวบรวมข้อมูลผู้วิจัย ส่งแบบสอบถามเก็บรวบรวมข้อมูลทางไปรษณีย์ การวิเคราะห์ข้อมูล หาค่าทางสถิติโดยการวิเคราะห์ค่ามัธยฐาน และค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ ระยะที่ 2 การประเมินความเป็นไปได้ในการปฏิบัติตามกลยุทธ์การยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของโรงเรียนประถมศึกษาขนาดกลาง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม มาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ การวิเคราะห์ข้อมูล หาค่าทางสถิติโดยการวิเคราะห์ค่าเฉลี่ยร้อยละ ( ) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D)
ผลการวิจัยพบว่า
1. กลยุทธ์การยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของโรงเรียนประถมศึกษาขนาดกลาง ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน ดังนี้ 1) การวิเคราะห์สภาพปัจจุบันเกี่ยวกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ประกอบด้วย 7 กิจกรรมขั้นตอนที่ 2 การพัฒนากลยุทธ์และนำกลยุทธ์สู่การปฏิบัติ มี 5 ด้านคือ1)ด้านการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ของผู้เรียน จำนวน13 กิจกรรม 2)ด้านการส่งเสริมให้ครูจัดการเรียนการสอนอย่างมีคุณภาพ จำนวน 10 กิจกรรม 3)ด้านการบริหารและการจัดการของผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 15 กิจกรรม 4) ด้านการนิเทศภายในและภายนอกที่มีประสิทธิภาพ จำนวน 7 กิจกรรม5) ด้านการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครอง ชุมชนและเครือข่าย จำนวน 8 กิจกรรมและขั้นตอนที่ 3 การประเมินความก้าวหน้าของงานตามเป้าหมาย จำนวน 8 กิจกรรม
2.การประเมินความเป็นไปได้ในการปฏิบัติตามกลยุทธ์ จากผู้ตอบแบบสอบถาม จำนวน 990 คน โดยจำแนกเป็นผู้บริหารสถานศึกษา 330 คน หัวหน้าครูวิชาการ 330 คน และผู้ปกครองนักเรียนที่เป็นกรรมการสถานศึกษา 330 คน พบว่า ผู้บริหารสถานศึกษา มีค่าเฉลี่ย 4.54 อยู่ในระดับมากที่สุด หัวหน้าครูวิชาการมีค่าเฉลี่ย 4.66 ในระดับมากที่สุด และผู้ปกครองนักเรียนที่เป็นกรรมการสถานศึกษา มีค่าเฉลี่ย 4.58อยู่ในระดับมากที่สุด สรุปได้ว่าโดยรวมทั้ง 3ขั้นตอน68 กิจกรรมมีความเป็นไปได้ในการนำไปปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด

References

Bateman, Thomas S. and Scott. A. Snell. (1999). Management. Building Competitive Advantage. International Edition: Mc Graw-Hill, Inc.
Certro, Samuel C., and Peter J. Paul. (1991). Strategic Management : Concepts andApplications. Singapore : McGraw-Hill, Inc.
David, Fred R. (2005). Strategic management. Concepts and cases.10thef. New Jersey : Pearson Prentice hall.
Good, Carter V. (1973). Dictionary of Education. New York : McGraw-Hill. Inc.
Wright, Peter. And Charles D. Prigle., and Mark J. Kroll. (1992). Strategic
management text and cases. Massachusetts :allyn and Bacon

Downloads

How to Cite

นารอง ว., จำรัสพันธุ์ อ. . ., & ฉายายนต์ พ. (2020). การพัฒนากลยุทธ์การยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของโรงเรียนประถมศึกษาขนาดกลาง. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 7(2-2), 55–65. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jssr/article/view/245685