ปัจจัยความพร้อมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและประชาชนกับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในปี พ.ศ. 2558 : กรณีศึกษาเขตพื้นที่ องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครสวรรค์
คำสำคัญ:
ความพร้อม การเข้าสู่ประชาคมอาเซียน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อศึกษาปัจจัยการเตรียมความพร้อมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและประชาชนกับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในปี ๒๕๕๘: กรณีศึกษาเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครสวรรค์ ข้อมูลที่ใช้ในการวิจัยได้มาจากแบบสอบถาม เจ้าหน้าที่ปฏิบัติการขององค์การบริหารส่วนจังหวัดนครสวรรค์ ๑๐๐ คน (๙๐.๐๑% ของการเลือกสุ่ม) และ ประชาชนในเขตพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์ ๓๘๔ คน (๑๐๐% ของการเลือกสุ่ม) นำไปวิเคราะห์ด้วยค่าสถิติ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าทีแบบ One-sample t-test และ Independent-sample t-test และ การวิเคราะห์องค์ประกอบ ผลการวิจัยพบว่า ๑) ความพร้อมในภาพรวมทั้งหมดของการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในปี พ.ศ.๒๕๕๘ โดยเฉลี่ยอยู่ในระดับต่ำ
เมื่อเปรียบเทียบกับเกณฑ์ที่ตั้งไว้ (P<.๐๕) และ พบว่า ในแต่ละรายด้านมีความพร้อมอยู่ในระดับต่ำเช่นกัน ๒) กลุ่มเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการกับประชาชน มีทัศนะต่อการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในปี ๒๕๕๘ ไม่แตกต่างกัน (P<.๐๕) ใน ๔ ด้านคือ ด้านความรู้ความเข้าใจ ด้านเทคโนโลยีข้อมูลและสารสนเทศ ด้านการมีส่วนร่วม และ ด้านทัศนคติต่อการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ส่วนด้านทักษะภาษา เจ้าหน้าที่ระดับปฏิบัติการมีทัศนคติสูงกว่าประชาชน (P<.๐๕) และ ๓) ปัจจัยสำคัญของความพร้อมต่อการเข้าสู่อาเซียน มี ๖ จาก ๔๑ ประเด็นสำคัญดังนี้ ด้านอัตลักษณ์และความมั่นคงมี ๘ ประเด็นสำคัญ ด้านความร่วมมือ มี ๖ ประเด็นสำคัญ ด้านการติดต่อสื่อสาร มี ๗ ประเด็นสำคัญ ด้านความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับประชาคมอาเซียน มี ๘ ประเด็นสำคัญ ด้านการใช้ภาษาอาเซียน
มี ๗ ประเด็นสำคัญ และ ด้านนโยบายอาเซียน มี ๕ ประเด็นสำคัญ ในขณะเดียวกันพบว่า ปัจจัยทั้ง ๖ ด้านดังกล่าวสามารถอธิบายความแปรปรวนได้ร้อยละ ๖๐.๒๕ อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .๐๕
References
Narong Popruksanant. (2556). ASEAN Studies. (2nd edition). Bangkok: Seed Ucation.
Pajaree Rujisawaeng. (2555). Educational Preparation for ASEAN: A case study of Faculty of Economics. Chiengmai : Chiengmai University.
Prayoon Sriprasart. (2542). Factors Affecting Participation of Education Commission to Elementary Schools in Patoomtani Province. Nonthaburi: Sukhotaitammatirat Open University.
Somjai Kongterm. (2555). Study of Rajabhat Petchaboon University Students Preparation for ASEAN, Supported by Research and Development Research Fund 2555, Faculty of Education. Petchaboon: Rajabhat Petchaboon University.
Sutton Srisai. (2551). Applied Statistics for Sociological Research. Bangkok: Chulalongkorn University Press.
Vilai Changboon. (2555). Knowledge and Understanding of Supporting and Academic Staffs, Faculties of Arts and Sciences, Kampangsaen Campus, About AEC (Master’s thesis). Bangkok: Kasetsart University.
Wichchukorn Narkton. (2559). Good Governance of Fiscal Administration in Local Administration Organization. Journal OF MCU Social Science Review, 5(2), 355 – 364.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2018 วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น