รูปแบบบ้านพักนักท่องเที่ยวในท้องถิ่นครบวงจรตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง
คำสำคัญ:
บ้านพักนักท่องเที่ยวในท้องถิ่น, หลักเศรษฐกิจพอเพียงบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ๑ ) เพื่อศึกษาบริบทวิสาหกิจชุมชนประเภทก่อสร้างบ้านพักนักท่องเที่ยวในท้องถิ่นครบวงจรตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง ๒) เพื่อสร้างรูปแบบบ้านพักนักท่องเที่ยวในท้องถิ่นครบวงจรตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงที่มีความเหมาะสม ๓) เพื่อเผยแพร่และถ่ายทอดเทคโนโลยีการสร้างรูปแบบบ้านพักนักท่องเที่ยวในท้องถิ่นครบวงจร ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ เจ้าของที่ดิน เจ้าของบ้านพักนักท่องเที่ยวในท้องถิ่นวิสาหกิจชุมชน วิสาหกิจชุมชน นักท่องเที่ยว จำนวน ๑๖๐ คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง และสุ่มอย่างง่าย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยวิธีการสัมภาษณ์เจาะลึกและการตอบแบบสอบถามประเภทมาตรวัด ๕ ระดับ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถามความคิดเห็นการสร้างที่พักนักท่องเที่ยวท้องถิ่นครบวงจร แบบสอบถามความพึงพอใจต่อรูปแบบที่พักนักท่องเที่ยวท้องถิ่นครบวงจร วิเคราะห์สถิติเชิงพรรณนาด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลวิจัยพบว่า ๑) กลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นต่อสภาพบริบทวิสาหกิจชุมชนประเภทการก่อสร้างบ้านพักนักท่องเที่ยวในท้องถิ่นและลักษณะทางกายภาพพื้นฐานของท้องถิ่นหรือชุมชนบริเวณกรุงเทพมหานคร นครปฐม สมุทรปราการ และสมุทรสงคราม มีความเหมาะสมระดับมากที่สุด ( = ๔.๙๕, S.D = ๐.๑๓) ๒) การสร้างรูปแบบบ้านพักนักท่องเที่ยวในท้องถิ่นครบวงจรตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงที่มีความเหมาะสมกับท้องถิ่น มีองค์ประกอบรูปแบบสายงาม ความเหมาะสมกับบริบทชุมชน ราคาวัสดุก่อสร้างเหมาะสม ต้นทุนต่ำ ขนย้ายสะดวก มีความคุ้มค่าและประหยัด ประโยชน์ใช้สอย ความสะดวก สบาย กลมกลืนกับธรรมชาติและวิถีชีวิตชุมชน ๓) กลุ่มตัวอย่างผู้ได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีการสร้างรูปแบบบ้านพักนักท่องเที่ยวในท้องถิ่นครบวงจรตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง มีความพึงพอใจต่อรูปแบบบ้านพักนักท่องเที่ยวในท้องถิ่นครบวงจรตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงโดยภาพรวมมีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด ( = ๔.๙๖, S.D = ๐.๑๑)
References
(๑) หนังสือ
มนตรี พานิชยานุวัฒน์. การประกอบธุรกิจชุมชน. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต, ๒๕๔๘.
สมชาย สนั่นเมือง. โครงการศึกษาการท่องเที่ยวเพื่อรักษาระบบนิเวศ. กรุงเทพมหานคร: การท่องเที่ยงแห่งประเทศไทย, ๒๕๔๔.
สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย. การดำเนินการเพื่อกำหนดนโยบายการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ. กรุงเทพมหานคร: สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย, ๒๕๔๒.
สนธยา พลศรี. ทฤษฎีและหลักการพัฒนาชุมชน. พิมพ์ครั้งที่ ๕. กรุงเทพมหานคร: โอเดียนสโตร์, ๒๕๔๗.
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ. นวัตกรรม กุญแจสู่ความสำเร็จของประเทศไทยในศตวรรษที่ ๒๑. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ, ๒๕๔๑.
(๒) วิทยานิพนธ์/งานวิจัย
ชานิกา ฉัตรสูงเนิน . “ศักยภาพในการพัฒนาที่พักแบบโฮมสเตย์ในเขตเทศบาลตำบลเวียงเชียงแสน อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย”. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยแม่โจ้, ๒๕๕๑.
ยุทธนา สมลา. “การบริหารจัดการแหล่งพักอาศัยโฮมสเตย์ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง :กรณีศึกษาหมู่บ้านบุไทร อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา”. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต.บัณฑิตวิทยาลัย: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๔๕.
วุฒิชาติ สุนทรสมัยและคณะ. “ การถ่ายทอดองค์ความรู้เพื่อพัฒนาศักยภาพ ความเข้มแข็ง และความยั่งยืนของการท่อง เที่ยวเชิงนิเวศและการประกอบธุรกิจด้านการท่องเที่ยวที่พักแบบโฮมสเตย์ของพื้นที่ตำบล เกาะ ช้างใต้ จังหวัดตราด”.รายงานวิจัยทุนสนับสนุนจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.), ๒๕๔๙.
สุวิมล วงษ์พิทักษ์. “การศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดตั้งธุรกิจที่พักแบบโฮมสเตย์โดยชุมชนมีส่วนร่วม: กรณีศึกษาชุมชนบ้านปางมะโอ ตำบลแม่นะ อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่”.วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต.บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยแม่โจ้., ๒๕๔๙.
อุไร เอี่ยมเอาฬาร. “ความเป็นไปได้ ในการจัดที่พักโฮมสเตย์ของชุมชนบ้านแม่ตอน อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่”. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต.บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยแม่โจ้, ๒๕๕๐.
(๓) สื่ออิเล็กทรอนิกส์/เว๊ปไซต์
สุเมธ ตันติเวชกุล. พฤติกรรมการทำงานตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง. (ออนไลน์).แหล่งที่มา: http//www/chaipat.or.th. (๕ พ.ค.๒๕๕๕).
๒. ภาษาอังกฤษ
(I)Books:
Alastair M.Morrison. Hospitality and Travel Marketing. New York : Prentice Hall. 1989.
Bijker, Wiebe, Hughes, Thomas P.and Pinch,Trevor. The Social Construction of Technology. Massachusetts: The MIT Press, 1987.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2018 วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น