ยุทธศาสตร์การเสริมสร้างความเข้มแข็งของภาคประชาชนในการตรวจสอบ การใช้อำนาจในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
คำสำคัญ:
ยุทธศาสตร์, ความเข้มแข็งของภาคประชาชนบทคัดย่อ
การวิจัยฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อ ๑) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการสร้างความเข้มแข็งของภาคประชาชน ๒) นำเสนอยุทธศาสตร์การเสริมสร้างความเข้มแข็งของภาคประชาชนในการตรวจสอบการใช้อำนาจขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quatitative Research) และวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research
ผลการวิจัยพบว่า
๑. ปัจจัยที่มีผลต่อความเข้มแข็งของภาคประชาชนในการตรวจสอบการใช้อำนาจในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมี โดยวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน พบว่ามี ๔ ปัจจัย กล่าวคือ ปัจจัยที่มีอิทธิพลมากที่สุด คือ ปัจจัยด้านผู้นำภาคประชาชน รองลงมา คือปัจจัยด้านนโยบาย กฎหมาย ระเบียบข้อบังคับที่เอื้อต่อการตรวจสอบ และ ปัจจัยด้านการจัดตั้งกลุ่มองค์กรภาคประชาชน และปัจจัยความรู้สึกเป็นเจ้าของและการมีจิตสาธารณะ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕ เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ ซึ่งสอดคล้องกับข้อมูลจากการสัมภาษณ์ พบว่าปัจจัยดังกล่าวข้างต้นมีต่อการเสริมสร้างความเข้มแข็งของภาคประชาชนในการตรวจสอบการใช้อำนาจเช่นเดียวกัน
๒. ยุทธศาสตร์การเสริมสร้างความเข้มแข็งของภาคประชาชนในการตรวจสอบการใช้อำนาจขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เหมาะสม มี ๕ ยุทธศาสตร์ ได้แก่ ๑) ยุทธศาสตร์การพัฒนาศักยภาพผู้นำภาคประชาชน ๒) ยุทธศาสตร์การเสริมสร้างนโยบายและมาตรการทางกฎหมายคุ้มครองสิทธิของภาคประชาชนในการตรวจสอบการใช้อำนาจขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ๓) ยุทธศาสตร์การเสริมสร้างระบบและกลไกการตรวจสอบของภาคประชาชน ๔) ยุทธศาสตร์การเสริมพลังองค์กรภาคประชาชนและการผลึกพลังเครือข่ายภาคประชาชน ๕) ยุทธศาสตร์การสร้างจิตสำนึกในการตรวจสอบการใช้อำนาจในท้องถิ่น
References
(๑) หนังสือ
ประเวศ วะสี. ยุทธศาสตร์ชาติเพื่อความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจ สังคมและศีลธรรม. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, ๒๕๔๓.
ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม และสังคม สัญจร. สำนึกไทยที่พึงปรารถนา. กรุงเทพมหานคร : มูลนิธิ บูรณะชนบทแห่งประเทศไทย, ๒๕๔๓.
ลิขิต ธีระเวคิน. วิวัฒนาการการเมืองการปกครองไทย. พิมพ์ครั้งที่ ๙. กรุงเทพมหานคร : พิมพ์ดี, ๒๕๔๘.
สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยขอนแก่น. การพัฒนาความเข้มแข็งขององค์กรชาวบ้าน. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ๒๕๔๐.
สมบัติ ธำรงธัญวงศ์. การเมืองไทย. กรุงเทพมหานคร : เสมาธรรม, ๒๕๔๙.
อนุรักษ์ นิยมเวช. บทความเกี่ยวกับการพัฒนาการเมืองและการมีส่วนร่วมของประชาชน. กรุงเทพมหานคร : สำนักการพิมพ์ สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา, ๒๕๕๔.
อุทัย ดุลยเกษม. ศึกษาเรียนรู้. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิสดศรีสฤษดิ์วงศ, ๒๕๔๒.
เอนก เหล่าธรรมทัศน์. การเมืองของพลเมือง: สู่สหัสวรรษใหม่. พิมพ์ครั้งที่ ๕. กรุงเทพมหานคร : โครงการจัดพิมพ์คบไฟ, ๒๕๕๖.
(๒) วิทยานิพนธ์
บัณฑูร ประดิษฐสุวรรณ์. ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการเสริมสร้างความเข้มแข็งของประชา สังคมในจังหวัดนครสวรรค์. วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต. เชียงใหม่ : บัณฑิต วิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, ๒๕๔๔.
๒. ภาษาอังกฤษ
(I) Book:
Alvesson,M. Organization Culture and Ideology. New York : McGraw-Hill, 1989.
Jensen, C. Delphi in Depth: Power Techniques from the Experts Berkeley. Singapore : McGraw-Hill, 1996.
Kohlberg, L., Development of Moral Character and Moral Ideology in Moral Reasoning. Review of Child Development Research. Hartford: Connecticul Printers, 1984.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2018 วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น