การพัฒนาการประชาสัมพันธ์เพื่อการท่องเที่ยวจังหวัดปทุมธานี
คำสำคัญ:
การประชาสัมพันธ์เพื่อการท่องเที่ยว, การพัฒนาการประชาสัมพันธ์บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจทรัพยากรการท่องเที่ยวโดยทั่วไปของจังหวัดปทุมธานี, ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวและแนวทางการพัฒนาการประชาสัมพันธ์เพื่อการท่องเที่ยวจังหวัดปทุมธานี รวบรวมข้อมูลด้วยแบบสำรวจทรัพยากรการท่องเที่ยว แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์และการสนทนากลุ่ม กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่นักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างประเทศ และผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับการประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวจังหวัดปทุมธานีทั้งภาครัฐและเอกชน ผลการวิจัยพบว่า ๑) แหล่งท่องเที่ยวทางศิลปะวิทยาการ (แหล่งท่องเที่ยวเพื่อการเรียนรู้) และแหล่งท่องเที่ยวเพื่อนันทนาการ เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีทรัพยากรการท่องเที่ยวที่โดดเด่น มีผู้นิยมท่องเที่ยวมากที่สุด มีความพร้อมให้บริการการท่องเที่ยว และมีการประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวอย่างดี ๒) นักท่องเที่ยวพึงพอใจต่อการประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง [ชาวไทย (= ๓.๑๙) ชาวต่างประเทศ (= ๒.๗๖)] ๓) ปัจจัยที่มีผลต่อการดำเนินงานประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยว คือ การประสานความร่วมมือระหว่างหน่วยงาน การวางแผนการประชาสัมพันธ์แบบองค์รวม งบประมาณ และความร่วมมือจากชุมชนซึ่งเป็นเจ้าของพื้นที่ ๔) ข้อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาการประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยว ได้แก่ การสร้างเครือข่ายการประชาสัมพันธ์เพื่อการท่องเที่ยวแบบบูรณาการ การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวและส่งเสริมกิจกรรมการท่องเที่ยว รวมถึงการจัดทำแผนการท่องเที่ยวและการดำเนินการประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวโดยส่งเสริมการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน
References
(๑) หนังสือ:
กุลวดี ละม้ายจีน. หน่วยที่ ๑ องค์ประกอบของการท่องเที่ยวในเอกสารประกอบการสอนรายวิชาวัฒนธรรมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ๙๐๓๒๑๐๔. ๑-๔๓. อุบลราชธานี: สาขาวิชาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, ๒๕๕๒.
ประคอง กรรณสูตร. สถิติเพื่อการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ ๓. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๔๒.
(๒) วิทยานิพนธ์/รายงานการวิจัย:
พรทิพย์ กิจเจริญไพศาล. “การศึกษาทรัพยากรท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของชุมชนชาวมอญเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศในจังหวัดปทุมธานี”. ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการวางแผนและการจัดการการท่องเที่ยวเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, ๒๕๕๓.
(๓) เว็บไซต์:
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (ม.ป.ป). สถิตินักท่องเที่ยว. (ออนไลน์). แหล่งที่มา: http://wwwtat.or.th/stat/download/tst/702/Report_Phathumthani2007.doc. (๒๑ กันยายน ๒๕๕๗).
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย.. (ม.ป.ป). ประเภทการท่องเที่ยว. (ออนไลน์). แหล่งที่มา: https://sites.google.com/site/ /tourism. (๑๕ กรกฏาคม ๒๕๕๗)
ประเภทของการท่องเที่ยว. (ออนไลน์). (ม.ป.ป). แหล่งที่มา: http://www.thaigoodview.com/library/teachershow/samutprakan/benjamas_u/ html. (๒๑ กันยายน ๒๕๕๗).
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2018 วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น