การแทรกแซงของรัฐบาลกลางต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กรณีศึกษา เทศบาลเมืองปากน้ำสมุทรปราการ และเทศบาลเมืองกาฬสินธุ์

ผู้แต่ง

  • เฉลิมพล สารีบุตร สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

คำสำคัญ:

การแทรกแซงของรัฐบาล, องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น, เทศบาลเมือง

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์การวิจัยรวม ๔ ประการ คือ (๑) เพื่อศึกษาการแทรกแซงองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นผ่านแนวนโยบายของรัฐ (๒) เพื่อศึกษาผลกระทบต่อเนื้อหาสาระและการปฏิบัติงานตามแผนพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจากการแทรกแซงของรัฐบาล (๓) เพื่อศึกษาลักษณะแนวทางการปรับตัวขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจากการแทรกแซงของรัฐบาล และ (๔) เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคพร้อมข้อเสนอแนะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อันเป็นประโยชน์ในการบริหารงานของเทศบาล ในด้านระเบียบวิธีวิจัย ผู้วิจัยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ จากการวิเคราะห์ข้อมูล ทำให้ผู้วิจัยได้ข้อค้นพบ (Findings) เพื่อตอบวัตถุประสงค์ทุกข้อ สรุปได้ดังนี้

               ๑) นโยบายรัฐบาล (สมัยที่นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี) นับเป็นนโยบายที่สอดคล้องกับแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ ทุกประการ และเป็นนโยบายที่ดี แต่การที่มีหนังสือสั่งการของกระทรวงมหาดไทยและกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งสั่งการลงไปยังองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น นับเป็นข้อเสีย นับเป็นการแทรกแซงก้าวล่วงอำนาจอิสระในการบริหารขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งขัดหลักแนวคิดทฤษฎีที่ว่า “องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีอำนาจอิสระในการบริหารงานที่เป็นไปตามระเบียบกฎหมายที่กำหนดไว้ และยังมีกฎหมายที่สำคัญหลายฉบับ ได้แก่ พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๓๔ พ.ร.บ.เทศบาล พ.ศ. ๒๔๙๖ พ.ร.บ.การกระจายอำนาจแก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๔๒ ในการควบคุมกำกับดูแลท้องถิ่นมากจนเกินไป และกระจายอำนาจในด้านการจัดหารายได้ด้วยตนเอง ที่ยังอยู่ในระดับน้อยมาก

               ๒) ผลกระทบด้านงบประมาณ ทั้ง ๒ เทศบาลดังกล่าว ได้รับผลกระทบน้อย เพียงร้อยละ๑ หรือวงเงินงบประมาณ ๒ ล้านบาท ของงบประมาณประจำปี ๒๐๐ ล้านบาท (๒) ผลกระทบด้านการคลัง ทั้ง ๒ เทศบาลดังกล่าวได้รับผลกระทบมาก เพราะรัฐบาลรวมศูนย์อำนาจในการจัดหารายได้ไว้เป็นส่วนใหญ่ แล้วจัดสรรรายได้ให้แก่ท้องถิ่นในรูปแบบของเงินอุดหนุนและเงินรายได้ที่หน่วยงานของรัฐจัดเก็บ แล้วแบ่งให้ท้องถิ่น รวมทั้งสิ้นประมาณ ร้อยละ ๘๐ และให้ท้องถิ่นจัดเก็บเองเพียงร้อยละ ๒๐ ของเงินรายได้ประจำปีงบประมาณทั้งสิ้น (๓) ผลกระทบต่อการปฏิบัติงานตามแผนพัฒนาท้องถิ่น ทั้ง ๒ เทศบาลดังกล่าวได้รับผลกระทบมาก โดยหนังสือสั่งการของกระทรวงมหาดไทยและกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น สั่งการให้ท้องถิ่นปฏิบัติงานตามโครงการที่ระบุไว้ในหนังสือสั่งการตามแนวนโยบายของรัฐ นอกจากนี้ ยังพบว่า เทศบาลเมืองปากน้ำสมุทรปราการได้รับผลกระทบจากการแทรกแซงทางการเมืองแบบไม่เป็นทางการด้วย เช่น นักการเมืองระดับชาติสั่งให้จัดราษฎรไปร่วมชุมนุมหรือร่วมทำกิจกรรมทางการเมืองอยู่บ่อยครั้ง ทำให้เทศบาลอึดอัด เพราะเป็นกิจกรรมที่ไม่มีอยู่ในแผนพัฒนาเทศบาล

               ๓) การปรับตัวของเทศบาลมี ๒ ลักษณะ ได้แก่ ลักษณะที่ ๑ การปรับตัวได้ดีในการปฏิบัติงานของทั้ง ๒ เทศบาล เพื่อเป็นการสนองนโยบายของรัฐบาล ไม่ให้มีการขัดนโยบายของรัฐเกิดขึ้น ส่วนในลักษณะที่ ๒ การปรับตัวไม่ได้ดีในด้านความรู้สึกหรือด้านทัศนคติเนื่องจากการแทรกแซงของรัฐบาลทำให้งบประมาณรายจ่ายของเทศบาลลดลง เพราะถูกเบียดบังไป แทนที่จะได้นำเงินรายได้ดังกล่าวไปจัดทำบริการสาธารณะได้มากยิ่งขึ้น

          สำหรับข้อเสนอแนะ ประการแรก ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย ได้แก่ (๑) รัฐบาลควร ยกเลิกการแทรกแซงองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในรูปแบบของหนังสือสั่งการหรือด้วยวาจา โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากกระทรวงมหาดไทยและกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น ที่สั่งการลงไปยังองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ควรปล่อยให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีอำนาจอิสระในการพิจารณาสั่งการการปฏิบัติงานตามแนวนโยบายของรัฐที่เห็นว่ามีความเหมาะสมแก่ท้องถิ่น (๒) ควรปรับปรุงแก้ไขระเบียบกฎหมายว่าด้วยการเงินการคลังท้องถิ่น เพื่อให้ท้องถิ่นมีอำนาจในการจัดหารรายได้เพิ่มสูงขึ้น เพื่อท้องถิ่นจะนำเงินรายได้ไปจัดบริหารสาธารณะได้มากยิ่งขึ้น ประการที่สอง ข้อเสนอแนะเชิงวิชาการ ควรให้มีการประชาสัมพันธ์ เผยแพร่ และการศึกษาอบรมให้ความรู้ในเรื่องสำคัญ ได้แก่ (๑) แนวคิดทฤษฎีการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (๒) ขอบเขตของการแทรกแซงองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นโดยฝ่ายบริหาร (รัฐบาล) ฝ่ายนิติบัญญัติ (รัฐสภา) และฝ่ายตุลาการ (๓) แนวนโยบายของรัฐ กฎหมาย และระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการแทรกแซงองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เช่น บุคคลเป้าหมาย ได้แก่ ฝ่ายบริหารและฝ่ายสภาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เจ้าหน้าที่ของหน่วยงานภาครัฐทั้งราชการส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น ให้ได้รับความรู้ ความเข้าใจ และปฏิบัติตามแนวนโยบายของรัฐได้อย่างถูกต้อง

References

(I) Thesis
Charoenmuang. T. Karn Pok Klong Suan Tong Tin Kub Karn Boriharn Jud Karn Tong Tin: Eek Mi Ti Khong Ar Ra Ya Tum Lok [Local Administration and Management : Another Dimension of World Civilization]. 2nd ed. Bangkok : Kobfai Publishing Project, 2010.
Gavijong. A. “Kwarn sum phan ra whang rat kub ong korn pok klong suan tong tin: ko ra ni suek sa karn kuab kum duay vi tee sung karn phan nung sue ratchakarn soo ong karn bo ri harn suan tum bon nai ampur mae oon chungwad chiang mai”. Thesis. Faculty of Social Science : Chiang Mai University, 2012.
National Institute of Development Administration. “Rai ngarn vi jai ruaung korb ked um naj nar ti lae kwarm sum phan ra whang ong korn pok klong suan tong tin kub ratcha karn bor ri harn suan klang lae suan pumi park lae ra whang ong korn pok klong suan tong tin duay kun aeng ta lord chon roob bab lae ka nard ti mor som kong ong korn pok klong suan tong tin nai pra tet thai lem” . Research Report. Bangkok : National Institute of Development Administration, 2003.
(II) Personal interview
Boonperm Jaruwat. Mayor of Kalasin Municipality. 5 March 2013 and, 8 May 2014.
Chanhuab. Siri. Mayor of Park Num Samut Prakarn Municipality. 22 April 2014.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-07-30

How to Cite

สารีบุตร เ. (2020). การแทรกแซงของรัฐบาลกลางต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กรณีศึกษา เทศบาลเมืองปากน้ำสมุทรปราการ และเทศบาลเมืองกาฬสินธุ์. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 4(3), 151–170. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jssr/article/view/245452