การพัฒนาผลิตภัณฑ์จากฐานทรัพยากรชีวภาพ ในพื้นที่คุ้งบางกะเจ้า อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ

ผู้แต่ง

  • ศรีณัฐ ไทรชมภู มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร

คำสำคัญ:

การพัฒนาผลิตภัณฑ์, ทรัพยากรชีวภาพ, คุ้งบางกะเจ้า

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพและเสริมข้อมูลเชิงปริมาณ เกี่ยวกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากฐานทรัพยากรชีวภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑) สำรวจ คัดเลือกผลผลิตหรือผลิตภัณฑ์ และตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานผลิตภัณฑ์ของชุมชนที่ได้รับการคัดเลือก ๒) พัฒนาผลผลิตหรือผลิตภัณฑ์ องค์ความรู้ในกระบวนการผลิต และการควบคุมคุณภาพผลิตภัณฑ์ที่คัดเลือก ๓) ประเมินมูลค่าของผลผลิตหรือผลิตภัณฑ์ชุมชนที่ได้รับการคัดเลือก เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการศึกษาเอกสาร สัมภาษณ์เชิงลึกผู้ประกอบการ ผู้นำชุมชน องค์กรชุมชน เกษตรกร ๓๔ คน นักท่องเที่ยว ๔๐๐ คน แล้วสรุปและวิเคราะห์ข้อมูล

          ผลการวิจัยพบว่า ๑) ผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการคัดเลือกจำนวน ๓ ผลิตภัณฑ์ ได้แก่ ผลิตภัณฑ์มะม่วงน้ำดอกไม้คุ้งบางกะเจ้า เรืออีแปะจำลอง และกะละแม โดยใช้เกณฑ์  อัตลักษณ์วิถีวัฒนธรรม ภูมิปัญญา มีส่วนประกอบเป็นทรัพยากรของท้องถิ่น และมีแนวคิดสู่ผลิตภัณฑ์ใหม่ ๒) การจัดอบรม ให้ความรู้ โดยวิทยากรและปราชญ์ท้องถิ่น และการมีส่วนร่วมของทุกฝ่ายสามารทำให้ผลิตภัณฑ์พัฒนาและได้รับการรับรองคุณภาพ ๓) การประเมินมูลค่าของผลผลิตหรือผลิตภัณฑ์ชุมชน ผลิตภัณฑ์ทั้ง ๓ ผลิตภัณฑ์ ได้แก่ผลิตภัณฑ์ มะม่วงน้ำดอกไม้คุ้งบางกะเจ้า เรืออีแปะจำลองคุ้งบางกะเจ้า กะละแมคุ้งบางกะเจ้า  เมื่อมีการพัฒนาแล้วมีผลตอบแทนสุทธิเพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ ๕๑.๗๑, ๑๕๐.๐๐ และ ๗๓.๗๑ ตามลำดับ และมีคุณค่าจากการที่เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ สื่อถึงวิถีวัฒนธรรมไทย มีบรรจุภัณฑ์สวยงาม เหมาะเป็นของฝาก

References

๑. ภาษาไทย
(๑) หนังสือ:
เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. การคิดเชิงสร้างสรรค์. กรุงเทพมหานคร: ซัคเซลมีเดีย, ๒๕๕๓.
(๒) วิทยานิพนธ์/รายงานการวิจัย
ธัญภรณ์ เกิดน้อย และคณะ. “การส่งเสริมศักยภาพชุมชนในการพัฒนาตำรับอาหารสุขภาพโดยใช้ผลผลิตในท้องถิ่น”. รายงานการวิจัย. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, ๒๕๔๘.
บุญอนันต์ พินัยทรัพย์ และพลาพรรณ คำพรรณ์. “ชุมชนเข้มแข็ง กระบวนการสร้างสรรค์คืนพลังสู่ชุมชน หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์”. รายงานการวิจัย. กรุงเทพมหานคร: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, ๒๕๔๙.
เบญจวรรณ บวรกุลภา. “กลยุทธ์ตลาดผลิตภัณฑ์ภูมิปัญญาไทยในแหล่งท่องเที่ยวชาวฝั่งทะเลภาคกลาง”. รายงานการวิจัย. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยสยาม, ๒๕๕๒.
ชูโอ เซ็นโก (ประเทศไทย) จำกัด (บริษัทมหาชน). “การประเมินโครงการ “หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์” ในเขตภาคเหนือ”. รายงานการวิจัย. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ, ๒๕๔๖.
ไกรฤกษ์ ปิ่นแก้ว. “เศรษฐกิจสร้างสรรค์ ทุนวัฒนธรรมและโอกาสทางธุรกิจ”. รายงานการวิจัย. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, ๒๕๕๔.

๒. ภาษาอังกฤษ
(I) Book:
Evans. S. Contemporary Japanese Design. UK : Collins & Brown Limited, 1991.
Hawkins. D. I., R. J. Best and K. A. Coney. Consumer Behavior : Implications for Marketing Strategy. Texas: Business Publications, Inc., 1983.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-07-30

How to Cite

ไทรชมภู ศ. (2020). การพัฒนาผลิตภัณฑ์จากฐานทรัพยากรชีวภาพ ในพื้นที่คุ้งบางกะเจ้า อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 4(3), 139–150. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jssr/article/view/245451