พุทธธรรมที่จำเป็นสำหรับผู้บริหารรัฐกิจที่บันทึกไว้ในสุตตันตปิฎกอังคุตตรนิกาย
คำสำคัญ:
พุทธธรรม, ผู้บริหารรัฐกิจ, พระสุตตันตปิฎก, อังคุตรนิกายบทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง พุทธธรรมที่จำเป็นสำหรับนักบริหารรัฐกิจที่บันทึกในสุตตันตปิฎกอังคุตตรนิกาย มีวัตถุประสงค์ เพื่อ ๑. เพื่อศึกษาพุทธธรรมที่จำเป็นสำหรับผู้บริหารรัฐกิจ ๒. เพื่อรวบรวมพุทธธรรมที่จำเป็นสำหรับผู้บริหารรัฐกิจให้เป็นระบบหมวดหมู่ และ ๓. เพื่อเสนอผลการวิจัยให้ผู้บริหารรัฐกิจนำไปประยุกต์ใช้ในการบริหารกิจการบ้านเมือง ระเบียบวิธีวิจัย เป็นการวิจัยเอกสาร รวบรวมข้อมูลจากพระไตรปิฎ หมวดพระสูตรคือ พระสุตตันปิฎกอังคุตตรนิกายทั้งหมด ตั้งแต่ เอกนิบาต หมวด ๑ จนถึง เอกาทสกนิบาต หมวดที่ ๑๑ เพื่อศึกษาหัวข้อพุทธธรรมที่จำเป็นและเหมาะสมกับผู้บริหารรัฐกิจ รวมถึงศึกษาคัมภีร์อรรถกถา เพื่อหาคำอธิบายความหมายพุทธธรรมที่จำเป็นสำหรับผู้บริหารรัฐกิจทั้งโดยย่อและพิสดาร
ผลการวิจัย พบว่า มีพุทธธรรมที่สามารถประยุกต์ใช้กับการบริหารรัฐกิจอยู่จำนวน ๖๐ หัวข้อธรรมด้วยกัน ที่ปรากฏในพระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เล่มที่ ๑-๔ คือ ตั้งแต่ ทุกนิบาต-ทสกนิบาต ส่วน เอกนิบาต นวกนิบาตและเอกาทสกนิบาตนั้นไม่พบหัวข้อธรรมที่เหมาะสมกับการบริหาร จากพุทธธรรมทั้ง ๖๐ ข้อนั้น ผู้วิจัยได้นำมาจัดหมวดหมู่ให้สะดวกในการศึกษามากขึ้นและคัดเลือกเฉพาะหัวข้อธรรมะที่คิดว่าจำเป็นและเหมาะสมกับการบริหารรัฐกิจมากเป็นอันดับต้นๆ ได้ ๒๑ หัวข้อธรรม ได้แก่ โลกปาลธรรม ๒ ทุลัพภบุคละ บุคคลหาได้ยาก๒ ปัจจัยให้เกิดสัมมาทิฏฐิ ๒ ปฏิสันถาร ๒ ธรรม ๒ ธรรมอันให้งาม ๒ ธรรมมีอุปการะมาก ๒ สุจริต ๒ องค์ของพ่อค้า ๒ อธิปไตย ๓ อคติ ๔ พรหมวิหาร ๔ สังคหวัตถุ ๔ ปธาน๔ พละ ๔ วุฒิ ๔ ราชสังคหวัคถุ ๔ อริยวัฑฒิ ๕ สัปปุริสธรรม ๗ อปริหานิยธรรม ๗ และ ราชธรรม ๑๐
References
(๑) หนังสือ:
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย, ๒๕๓๙.
๒. ภาษาอังกฤษ
(I) Book:
Creswell. John W. Research Design : Quantitative and Mixed Methods Approaches. Los Angeles. California. U.S.A : SAGE Publications, 2004.
Norman. K.R.(Tr.). Theravatha. London : Pali Text Society, 1969.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2018 วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น