การพัฒนาการจัดการการศาสนศึกษาแผนกธรรมของคณะสงฆ์ภาค ๑

ผู้แต่ง

  • พระครูสุวรรณวรการ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • ทรงวิทย์ แก้วศรี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • ยุทธนา ปราณีต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การพัฒนา, การจัดการ, ศาสนศึกษา, แผนกธรรม

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ ๑) เพื่อศึกษาแนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวกับการพัฒนาการจัดการการศาสนศึกษาแผนกธรรม ๒) เพื่อศึกษาสภาพทั่วไปเกี่ยวกับการพัฒนาการจัดการการศาสนศึกษาแผนกธรรมของคณะสงฆ์ภาค ๑ และ๓) เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาการจัดการการศาสนศึกษาแผนกธรรมคณะสงฆ์ภาค ๑ ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) เก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องและจากผู้ให้ข้อมูลหลัก (Key Informants) จำนวน ๑๘ รูป/คน โดยสัมภาษณ์เจาะลึก (In-depth interview) และการสนทนากลุ่มเฉพาะ (Focus Group Discussion) จำนวน ๘ รูป/คน โดยวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนาความ

         ผลการวิจัย พบว่า

         ๑. แนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวกับการพัฒนา มีกระบวนพัฒนาการจัดการศาสนศึกษาโดยนำแผนงานเชิงกลยุทธ์เข้ามาทำการวิเคราะห์สถานการณ์ซึ่งประกอบด้วยการวิเคราะห์ SWOT Analysis ประกอบด้วย ๔ อย่าง คือ จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาสและปัญหามาดำเนินการวิเคราะห์แนวคิดทฤษฎีทั้ง ๕ ด้าน ได้แก่ ด้านหลักสูตร ด้านครูผู้สอน ด้านกระบวนการเรียนการสอน ด้านสื่ออุปกรณ์การสอน ด้านการวัดผลและประเมินผล

         ๒. สภาพทั่วไปเกี่ยวกับการพัฒนาการจัดการศาสนศึกษาแผนกธรรมของคณะสงฆ์ภาค ๑  พบว่า พระสังฆาธิการในทุกระดับชั้นให้ความร่วมมือกันดี  มีกลไกในการพัฒนาและบริหารหลักสูตรให้มีประสิทธิภาพ โน้มน้าวผู้เรียนให้เข้าถึงจุดมุ่งหมายของหลักสูตรอย่างแท้จริง  ทำให้มีครูที่มีศักยภาพ มีความเชี่ยวชาญเฉพาะตัว และมีปริมาณอย่างเพียงพอต่อการเรียนการสอน เพราะอยู่ในศูนย์กลางทางการศึกษา ปฏิรูปเทศดีกว่าต่างจังหวัด โดยมีกระบวนการเรียนการสอน ที่มีการจัดทำแผนการสอนตามแผนยุทธศาสตร์ มีเทคนิควิธีที่สามารถสอนให้จูงใจ แจ่มแจ้ง แกล้วกล้าให้บุคลากรผลิตสื่อที่มีคุณภาพ แล้วนำสื่อไปปรับใช้เพื่อให้เกิดศักยภาพทางการเรียนรู้เพิ่มขึ้น  และส่งผลให้คณะสงฆ์มีการวางแผนในการตรวจสอบการสอบวัดผลประจำปีที่รัดกุมและจริงจังต่อการกำกับดูแล

          ๓) แนวทางการพัฒนาการจัดการการศาสนศึกษาแผนกธรรมคณะสงฆ์ภาค ๑ พบว่า      ๑) ด้านหลักสูตร ควรมีการพัฒนาให้ทันสมัยและสอดคล้องกับสายสามัญ ๒) ด้านครูผู้สอน ต้องเป็นครูมืออาชีพ มีการศึกษา อบรมและพัฒนาตัวเองตลอดเวลา ๓) ด้านกระบวนการเรียนการสอน ที่มีคุณภาพ และควรปรับระยะเวลาการสอนให้เพิ่มมากขึ้น ๔) ด้านสื่ออุปกรณ์การสอน ควรนำเทคโนโลยีการเรียนการสอนที่ทันสมัยมาประยุกต์ให้ผู้เรียนเกิดทักษะในการนำไปใช้ ๕) ด้านการวัดผลและประเมินผล ต้องมีรูปแบบเป็นมาตรฐานเดียวกันทั้งประเทศเพื่อให้เกิดผลที่ชัดเจน

References

๑. ภาษาไทย
(๑) หนังสือ :
จิรประภา อัครบวร. คุณค่าคน คุณค่างาน. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์เต๋า ๒๐๐๐, ๒๕๕๒.
พยอม วงศ์สารศรี. การบริหารทรัพยากรมนุษย์. กรุงเทพมหานคร : คณะวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต, ๒๕๕๐.
พระไพศาล วิสาโล, พุทธศาสนาไทยในอนาคต แนวโน้มและทางออกจากวิกฤต. กรุงเทพมหานคร : มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์, ๒๕๔๖.
พระธรรมโกศาจารย์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต). พุทธวิธีการบริหาร. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๕๑.
พระธรรมปัญญาภรณ์ (สุชาติ ธมฺมรตโน) และ พระมหาทองดี ปญฺาวชิโร. การศึกษาพระปริยัติธรรม แผนกบาลี. กรุงเทพมหานคร: อาทรการพิมพ์, ๒๕๔๘.
ศิริวรรณ เสรีรัตน์. ทฤษฎีองค์การ : ฉบับมาตรฐาน. กรุงเทพมหานคร: ธรรมสาร, ๒๕๕๓.
สำนักงานแม่กองธรรมสนามหลวง. เรื่องสอบธรรมสนามหลวงแผนกธรรม พ.ศ. ๒๕๔๔. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์การศาสนา, ๒๕๔๔.
สุนันทา เลาหนันท์. การพัฒนาองค์การ. กรุงเทพมหานคร: ซีวีแอลการพิมพ์, ๒๕๕๓.
(๒) วิทยานิพนธ์/งานวิจัย
นงลักษณ์ เรือนทอง. “รูปแบบการบริหารโรงเรียนที่มีประสิทธิผล”. ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปกร, ๒๕๕๐.
บัณฑิต ฉัตรวิโรจน์. “การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบการจัดความรู้เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการสอนของนักศึกษาครู”. ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต (สาขาวิชาอุดมศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๕๐.
สมศักดิ์ บุญปู่,ผศ.ดร. “การพัฒนาการศึกษาสงฆ์”. สารนิพนธ์พุทธศาสตรบัณฑิต. กรุงเทพมหานคร: นวสารน์การพิมพ์, ๒๕๕๒.
พระมหาสหัส ตสาโร. “การบริหารองค์กรคณะสงฆ์”. รายงานการวิจัย. พระนครศรีอยุธยา : มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๕๑.
พระราชรัตนมงคล (มนตรี ยางธิสาร). “การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมวิธีการสอนศีลธรรมระดับมัธยมศึกษาตอนต้นของพระสอนศีลธรรมตางโครงการของกระทรวงศึกษาธิการ”. ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต (สาขาวิชาการศึกษาผู้ใหญ่). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, ๒๕๕๔.
สมชาย ไมตรี. “การศึกษาของพระสงฆ์ในประเทศไทย : กรณีศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลี”. งานวิจัยค้นคว้าอิสระ. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการการวิจัยแห่งชาติ, ๒๕๓๙.
(๓) เอกสารที่ไม่ได้ตีพิมพ์:
นภัทร์ แก้วนาค, “เอกสารประกอบการสอน เรื่อง เทคนิคการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ Qualitative Data Analysis Technique”. ถ่ายเอกสารเย็บเล่ม.

๒. ภาษาอังกฤษ
(I) Book
Fred Luthens. Organization Behavior. Singapore : McGraw-Hill International Editions, 1995.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-07-30

How to Cite

พระครูสุวรรณวรการ, แก้วศรี ท. ., & ปราณีต ย. . (2020). การพัฒนาการจัดการการศาสนศึกษาแผนกธรรมของคณะสงฆ์ภาค ๑. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 4(3), 17–32. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jssr/article/view/245432