รูปแบบการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการสู่ความเป็นเลิศ ของกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นในจังหวัดชัยนาท

ผู้แต่ง

  • สุรพงษ์ แสงเรณู มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ฯ
  • สุวรรณิน คณานุวัฒน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์
  • บุญทัน ดอกไธสง มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการ ความเป็นเลิศ กองทุนหลักประกันสุขภาพ ระดับท้องถิ่น

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑) ศึกษาการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการของกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นในจังหวัดชัยนาท ๒) ศึกษาความเป็นเลิศของกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นในจังหวัดชัยนาท ๓) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการกับความเป็นเลิศของกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นในจังหวัดชัยนาท และ ๔) นำเสนอรูปแบบการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการสู่ความเป็นเลิศของกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นในจังหวัดชัยนาท ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยแบบผสม โดยการวิจัยเชิงปริมาณใช้กลุ่มตัวอย่าง คือ คณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นในจังหวัดชัยนาท
จาก ๕๙ กองทุน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามที่มีความเชื่อมั่นสูง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ

บรรยาย (ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน) และสถิติอ้างอิง (การวิเคราะห์ค่าสหสัมพันธ์ตามวิธีการของเพียร์สัน) ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพได้ประยุกต์ใช้การวิจัยภาคสนามจากกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นที่มีผลงานดีเด่นและได้รับการคัดเลือกเป็นศูนย์เรียนรู้กองทุนหลักประกันสุขภาพระดับอำเภอจำนวน ๘ แห่ง เก็บข้อมูลโดยวิธีการสนทนากลุ่ม สัมภาษณ์เชิงลึก สังเกต เข้าร่วมกิจกรรมและสอบทานจากเอกสารรายงานผลการดำเนินงาน ตรวจสอบความถูกต้องและครบถ้วนของข้อมูลโดยการตรวจสอบแบบสามเส้า วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา หลังจากนั้นนำผลการวิจัยที่ได้จากทั้งการวิจัยเชิงปริมาณและคุณภาพมาสังเคราะห์และหาข้อสรุปร่วมกันอย่างสมเหตุสมผลเพื่อนำเสนอรูปแบบการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการสู่ความเป็นเลิศของกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นในจังหวัดชัยนาท

          ผลการวิจัยที่สำคัญ พบว่า

          ๑.  การพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการของกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นในจังหวัดชัยนาทอยู่ในระดับมาก โดยอยู่ในระดับมากทุกด้าน (ด้านลักษณะกองทุน ด้านการนำกองทุน ด้านการวางแผนเชิงกลยุทธ์ ด้านการมุ่งเน้นผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ด้านการวัด วิเคราะห์และการจัดการความรู้ ด้านการมุ่งเน้นบุคลากร และด้านการจัดกระบวนการ)

         ๒.  ความเป็นเลิศของกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นในจังหวัดชัยนาทอยู่ในระดับมาก โดย อยู่ในระดับมากทุกด้าน ด้านการบริหารจัดการมีความเป็นเลิศ ด้านการมีส่วนร่วม และด้านการผลลัพธ์การดำเนินงาน

๓. การพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการและความเป็นเลิศของกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นในจังหวัดชัยนาทมีความสัมพันธ์กันในเชิงปฏิฐานในระดับมากที่สุด

๔. รูปแบบการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการสู่ความเป็นเลิศของกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นในจังหวัดชัยนาท ประกอบด้วย ๓ ประการ คือ ๑) ปัจจัยนำเข้า ได้แก่ การมุ่งเน้นบุคลากร การนำกองทุน ลักษณะกองทุน และระบบสนับสนุน ๒) ปัจจัยกระบวนการ ได้แก่ การวัดวิเคราะห์และจัดการความรู้ การวางแผนเชิงกลยุทธ์ การจัดกระบวนการและการมุ่งเน้นผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และ ๓) ปัจจัยผลผลิต ได้แก่ ความเป็นเลิศด้านการบริหารจัดการ ด้านการมีส่วนร่วมและด้านผลลัพธ์การดำเนินงาน

References

Chanchai Lekkam. (2552). A Model of Effective Participation Enhancing of Health Insurance Fund of Ngewngam Sub-district, Muang District,Uttaradit Province (Master’s Thesis). Uttaradit: University of RajabhatUttaradit.
Chusak Tanasabsirikul. (2555). Evaluation of Health Insurance Fund Operation of Makhumwarn Sub-district Administrative Organization, Chiangmai Province (Master’s Thesis). Chaingma: Chaingmai University.
Direk Patamasiriwatand Others. (2550). Public Policy Research; Local Health Insurance Fund. Bangkok: P.A.Living.
Kanjana Nipanan. (2553). Administration of Health Insurance Fund of Salika Sub- district Administrative Organization (Master’s Thesis). Khonkaen: Khonkaen University.
Metavee Tanakul. (2551). An Approach to Best Practice of Local Administrative Organizations With Good Governance: Cases Study of Yala and Nontaburi Municipalities (Master’s Thesis). Nakhon Pathom: Mahidol University.
Ministry of Public Health. (2545). Well Being Empowerment to Local Areas.
Nontaburi: Yuthtarin Printing.
Nattaprorn Palewnich. (2550). Study of Health Insurance Fund Administrative Process of Pilot Sub-districts, Pitsanuloke Province (Master’s Thesis). Pitsanuloke: Naaresuan University.
Ola Panyapitiphat. (2559). Leadership Development according to Buddhadhamma of Thai Political Party Executive Committee. Journal of MCU Social Science Review, 5(2), 201 – 209.
Pit Pramojanee. (2550). Model of National Quality Relations (Master’s Thesis). Chiangmai: Chiangmai University.
Smrekar, Clair and Others. (2002). March Toward Excellence: School Success and Minority Student Achievement in Department of Defense School. A Report to The National Education Goal Panel. Lessons from
The States. Washington, DC : National Education Goals Panel.
Voradet Chantasorn. (2540). Policy Implementation. (3d edition). Bangkok: Sahai Block and Printing, LPD.

เผยแพร่แล้ว

2020-07-29

How to Cite

แสงเรณู ส. ., คณานุวัฒน์ ส. ., & ดอกไธสง บ. . (2020). รูปแบบการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการสู่ความเป็นเลิศ ของกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นในจังหวัดชัยนาท. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 6(1), 67–80. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jssr/article/view/245368