ปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพการบันทึกเวชระเบียนในโรงพยาบาล สาธิตการแพทย์แผนไทย จังหวัดเชียงราย

ผู้แต่ง

  • ปราณี คำแก้ว มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
  • ยิ่งยง เทาประเสริฐ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
  • กันยานุช เทาประเสริฐ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย

คำสำคัญ:

ปัจจัย, คุณภาพ, การบันทึกเวชระเบียน

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพการบันทึกเวชระเบียนในโรงพยาบาลสาธิตการแพทย์แผนไทย จังหวัดเชียงราย ซึ่งการวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยทำการวิจัยจากเอกสารและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการแพทย์แผนไทยและการแพทย์แผนปัจจุบัน และการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก กลุ่มตัวอย่างคือแพทย์แผนไทย จำนวน 28 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสัมภาษณ์ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพการบันทึกเวชระเบียนในโรงพยาบาลสาธิตการแพทย์แผนไทย จังหวัดเชียงราย มี 3 ปัจจัย ได้แก่ 1) แพทย์แผนไทยซึ่งเป็นผู้บันทึกข้อมูล 2) ผู้ป่วยหรือบิดา มารดา หรือผู้แทนโดยชอบธรรม หรือญาติของผู้ป่วยซึ่งเป็นผู้ให้ข้อมูล และ 3) ระบบการบริหารจัดการเวชระเบียนโดยมีกระบวนการตรวจสอบคุณภาพเวชระเบียนอย่างสม่ำเสมอ

References

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. (2549). ตำราแพทย์แผนโบราณทั่วไป สาขาเวชกรรม เล่ม 1. นนทบุรี: บริษัท ไทภูมิ พับลิชชิ่ง จำกัด.

กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์. (2555). คู่มือคำแนะนำการบันทึกเวชระเบียนสำหรับแพทย์. กรุงเทพฯ: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.

______. (2559). มาตรฐานการเก็บรวบรวมและบันทึกข้อมูลในสถานพยาบาล พ.ศ. 2559. กรุงเทพฯ: สำนักกิจการโรงพิมพ์ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก ในพระบรมราชูปถัมภ์.

ธารา ธรรมโรจน์ และวินัย ตันติยาสวัสดิกุล. (2549). การตรวจสอบเวชระเบียนผู้ป่วยนอกในโรงพยาบาลศรีนครินทร์ (รายงานการวิจัย). ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

บุษบา บัวผัน. (2548). การตรวจสอบคุณภาพเวชระเบียนผู้ป่วยในจังหวัดร้อยเอ็ด ปี พ.ศ. 2546-2547 (รายงานผลการวิจัย). ร้อยเอ็ด: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด.

ปราณี คำแก้ว. (2563). ปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพการบันทึกเวชระเบียนในโรงพยาบาลสาธิตการแพทย์แผนไทย จังหวัดเชียงราย (ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาการแพทย์แผนไทยดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการแพทย์แผนไทย). เชียงราย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.

พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540. (2540, 2 กันยายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 114 ตอนที่ 46 ก. หน้า 1-24.

พระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551. (2551, 25 กุมภาพันธ์). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 125 ตอนที่ 38 ก. หน้า 1-17.

พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550. (2550, 19 มีนาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 124 ตอนที่ 16 ก. หน้า 1-16.

พิมพ์ณดา เลิศรัตนกรธาดา และคณะ. (2556). คุณภาพเวชระเบียนผู้ป่วยนอกของหน่วยบริการสาธารณสุข จังหวัดมหาสารคาม ปี 2554. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 22(5), 907-917.

มะลิวัลย์ ยืนยงสุวรรณ. (2560). การวิเคราะห์คุณภาพข้อมูลการให้รหัสโรค (ICD-10-TM) ในคลังข้อมูลสุขภาพ. วารสารวิจัยและพัฒนาด้านสุขภาพ, 3(2), 63-72.

วรรษา เปาอินทร์. (2556). หลักการบันทึกเวชระเบียนอย่างมีคุณภาพสำหรับแพทย์ในยุคปฏิรูปสารสนเทศ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.

สถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล. (2549). มาตรฐานโรงพยาบาลและบริการสุขภาพ ฉบับเฉลิมพระเกียรติฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี. กรุงเทพฯ: ม.ป.พ.

สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน). (2561). มาตรฐานโรงพยาบาลและบริการสุขภาพ ฉบับที่ 4. กรุงเทพฯ: บริษัท หนังสือดีวัน จำกัด.

สภาการพยาบาล. (2558). คำประกาศสิทธิและข้อพึงปฏิบัติของผู้ป่วย. สืบค้น 5 ธันวาคม 2558, จาก https://www.tnmc.or.th

สาหร่าย เรืองเดช. (2536). ความครบถ้วนของข้อมูลในเวชระเบียนของโรงพยาบาลประจำจังหวัดภาคกลาง กระทรวงสาธารณสุข (วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล.

สุภางค์ จันทวานิช. (2561). วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 24). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

แสงเทียน อยู่เถา. (2555). ปัญหาและแนวทางการพัฒนางานเวชระเบียนและวิชาชีพเวชระเบียนในประเทศไทย. นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหิดล.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-18

How to Cite

คำแก้ว ป., เทาประเสริฐ ย., & เทาประเสริฐ ก. (2020). ปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพการบันทึกเวชระเบียนในโรงพยาบาล สาธิตการแพทย์แผนไทย จังหวัดเชียงราย. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 9(2), 62–72. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jssr/article/view/242022