ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการบริหารงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานตามยุทธศาสตร์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดนครสวรรค์
คำสำคัญ:
งบประมาณ, การมุ่งเน้นผลงานตามยุทธศาสตร์, องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นบทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์และตรวจสอบองค์ประกอบเชิงยืนยันของการบริหารงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานตามยุทธศาสตร์ 2) ศึกษาระดับการดำเนินการบริหารงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานตามยุทธศาสตร์ 3) ศึกษาปัญหาอุปสรรค และแนวทางการแก้ไขปัญหาการทุจริตในการบริหารงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานตามยุทธศาสตร์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดนครสวรรค์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ บุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดนครสวรรค์ จำนวน 200 คน ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามแบบ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน และวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนาผลการวิจัยพบว่า องค์ประกอบเชิงยืนยันของการบริหารงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานตามยุทธศาสตร์ มีการปฏิบัติในภาพรวมอยู่ในระดับมาก และมีความสอดคล้องกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 พบปัญหาการทุจริตของพนักงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นซึ่งขาดความซื่อสัตย์และจริยธรรมในการปฏิบัติงาน โดยมีแนวทางการแก้ไขปัญหาการทุจริต คือ การกำหนดบทลงโทษตามกฎหมาย บทลงโทษตามองค์กรกำหนด การปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม การปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีของผู้บริหาร และการแต่งตั้งกรรมการกลางในการควบคุมตรวจสอบการใช้จ่ายเงินขององค์กรอย่างเป็นระบบ
References
กิตติพงษ์ แสนพงษ์. (2552). การควบคุมภายในที่ส่งผลต่อการบริหารงบประมาณในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากาญจนบุรี เขต 3. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ญาดา แก้วตา. (2556). สภาพและปัญหาการบริหารงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานตามยุทธศาสตร์ขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดอุตรดิตถ์ (ภาคนิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาประชาคมเมืองและชนบท). อุตรดิตถ์: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.
ณรงค์ สัจพันโรจน์. (2559). การจัดทำงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงาน. ขอนแก่น: งานแผนงบประมาณและอัตรากำลัง กองแผนงาน สำนักงานอธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ถาวร คูณิรัตน์. (2556). การวิจัยและพัฒนาระบบการบริหารงบประมาณโดยการตรวจสอบธรรมาภิบาลของผู้มีส่วนได้เสียสำหรับโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ทรงสิทธิ์ ประสานศักดิ์และคณะ. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพการบริหารงานคลังขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัดอุดรธานี. วารสารบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 2(1), 74-84.
บังอร ทองตื้อ. (2557). สภาพและปัญหาในการบริหารงบประมาณขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตจังหวัดอุบลราชธานี (วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ). อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.
พรชัย นุชสุวรรณ. (2546). การขออนุมัติงบประมาณคณะกรรมการสภามหาวิทยาลัย(วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาบริหารธุรกิจ). พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเศวร.
สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัดนครสวรรค์. (2562). ผลการปฏิบัติงาน. วารสารผลการปฏิบัติงาน, 4(3), 2-3.
สุมารินทร์ ยามสุข. (2559). การบริหารงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงาน (Performance based budgeting: pbb). สืบค้น 18 ตุลาคม 2562, จาก https://www.gotoknow.org/posts/277634.
สุวิมล ติรกานันท์. (2551). การสร้างเครื่องมือวัดตัวแปรในการวิจัยทางสังคมศาสตร์: แนวทางสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุวิมล ว่องวานิช และนงลักษณ์ วิรัชชัย. (2546). แนวทางการให้คำปรึกษาวิทยานิพนธ์. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อัญญกฤตา หัตถีรัตน. (2563). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการบริหารงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานตามยุทธศาสตร์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดนครสวรรค์ (ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.
Hooper, D. et al. (2008). Structural Equation Modeling: Guidelines for Determining Model Fit. Electronic Journal of Business Research Methods, 6(1), 53-60.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2020 วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น