ตัวแบบกลยุทธ์ความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจของโรงงานอุตสาหกรรมจังหวัดฉะเชิงเทรา
คำสำคัญ:
ตัวแบบ, กลยุทธ์ความสำเร็จ, จังหวัดฉะเชิงเทราบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาตัวแบบความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจของโรงงานอุตสาหกรรมจังหวัดฉะเชิงเทราและสร้างตัวแบบในการแข่งขันของโรงงานอุตสาหกรรม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในวิจัยคือ ผู้บริหารโรงงานอุตสาหกรรม จำนวน 363 คน จากประชากร 3,829 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวและการวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุคูณ ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจของโรงงานอุตสาหกรรมเริ่มจากมากที่สุด คือ ปัจจัยด้านการจัดการตลาด (สัมประสิทธิ์ = .99) รองลงมา คือ ด้านความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม (สัมประสิทธิ์ = .88) ด้านการจัดการโลจิสติกส์ (สัมประสิทธิ์ = .87) ด้านความรับผิดชอบต่อสังคม (สัมประสิทธิ์ = .55) ด้านความเสี่ยงของโรงงาน (สัมประสิทธิ์ = .44) ด้านต้นทุนการผลิต (สัมประสิทธิ์ = .09) ด้านเครื่องมือเครื่องจักร (สัมประสิทธิ์ = .07) และด้านการจัดการทรัพยากรมนุษย์ (สัมประสิทธิ์ = .06) ตามลำดับ โดยการดำเนินธุรกิจของโรงงานอุตสาหกรรมจะประสบความสำเร็จได้ โรงงานจะต้องลงทุนในปัจจัยอื่นๆ ที่เป็นจำนวนคงที่ 12.87 ตัวแบบนี้ มีค่า R 2 = .76 หมายถึง ตัวแบบนี้มีระดับความเชื่อมั่นในการพยากรณ์ 76 %
References
กัลยา วาณิชย์บัญชา. (2545). SPSS for Windows ในการวิเคราะห์ข้อมูล (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ซี เค แอนด์ โฟโต้สตูดิโอ.
ชัยพงษ์ พงษ์พานิช. (2562). ดัชนีผลผลิตด้านอุตสาหกรรม. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2562). ผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจถดถอยในภูมิภาคของโลก. สืบค้น 25 ธันวาคม 2562, จาก https://kasikornresearch.com/TH/analysis/ kon/economy/Pages/index.aspx?c=355
สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม. (2563). ผลผลิตดัชนีภาคอุตสาหกรรมบริโภคในประเทศ. สืบค้น 18 มกราคม 2563, จาก https://oei.go.th/view/a/TH-TH/1/
สวนดุสิตโพล. (2562). ปัญหาจาก “การเมือง” “เศรษฐกิจ” “สังคม” ส่งผลกระทบ ต่อ “คนไทย” อย่างไร มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต. สืบค้น 25 ธันวาคม 2562, จาก http://dusit.ac.th/2020/Econ/Manager/1
Collins, J. C. (1998). Built to Last, Upper Saddle River. New Jersey: Pearson Education, Pearson Prentice Hall.
Folinas, D. (2013).Outsourcing Management for Supply Chain Operations and Logistics Service. Hershey, Pennsylvania: IGI Global.
Kim, W.C., & Mauborgne. (2012). Blue Ocean Strategy. New Jersey: Pearson Education, Pearson Prentice Hall.
Porter, M. E. (1980). Competitive Strategy Technique for Analyzing of Companies. New Jersey: Pearson Prentice Hall.
Cooper, R. (2006). Winning at New Products (5th ed.). New York: The Dryden Press.
Wheelen, T. L. (2006). Strategic Management and Business Policy. USA: Pearson Prentice Hall.
Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. New York: Harper and Row Publications.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2020 วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น