พฤติกรรมทางการเมืองในการเลือกตั้งทั่วไปของผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง ในตำบลไทยาวาส อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม
คำสำคัญ:
พฤติกรรมทางการเมือง, การเลือกตั้งทั่วไป, ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็น เปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชน และ ศึกษาปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับพฤติกรรมทางการเมืองในการเลือกตั้งทั่วไปของผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งในตำบลไทยาวาส อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี ผลการวิจัยพบว่า ประชาชนมีความคิดเห็นต่อพฤติกรรมทางการเมืองในการเลือกตั้งทั่วไปในตำบลไทยาวาส อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม โดยรวมอยู่ในระดับมาก ปัจจัยส่วนบุคคลต่างกัน มีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐานการวิจัย ปัญหาและและอุปสรรค คือประชาชนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งบางส่วนไม่สนใจการเลือกตั้ง ดังนั้น หน่วยงาน จึงควรประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนเห็นความสำคัญของการศึกษาข้อมูลผู้ลงสมัครรับเลือกตั้ง หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งต้องรณรงค์ให้เห็นประโยชน์ที่เกิดจากการเลือกตั้งของประเทศ
References
ฐานิตา เฉลิมช่วง. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน ในระดับเทศบาล จังหวัดฉะเชิงเทรา. วารสารชุมชนวิจัย, 10(1), 82-90.
บุญญฤทธิ์ โชคอุดมพร. (2556). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกตั้งนายกเทศมนตรีของประชาชนเขตเทศบาลเมืองตราด อำเภอเมือง จังหวัดตราด (วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการปกครองท้องถิ่น). จันทบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏรําไพพรรณี.
พระชาญชัย ติสฺสวํโสและคณะ. (2563). การประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในเขตเทศบาลนครระยอง จังหวัดระยอง. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 9(1), 244-254.
พระมหาจักรพงศ์ ชินเมธีและคณะ. (2563). แนวคิดทางการเมืองของขงเบ้งในวรรณกรรมสามก๊กที่มีต่อสังคมไทย. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 9(1), 223-232.
พระอโณทัย กตปุญฺโและคณะ. (2563). การส่งเสริมจิตสำนึกการเมืองภาคพลเมืองเพื่อการพัฒนาระบอบประชาธิปไตยของประชาชน อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 9(1), 47-58.
วรเจตน์ ภาคีรัตน์. (2557). คําสอนว่าด้วยรัฐและหลักกฎหมายมหาชน (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เดือนตุลา.
วัลลภ รัฐฉัตรานนท์ และ นพพล อัคฮาด. (2555). สถานภาพทางสังคมกับพฤติกรรมการเลือกตั้งในการเลือกตั้งทั่วไป พ.ศ. 2554: กรณีศึกษาจากผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่อาศัยอยู่ในเขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร. วารสารสหวิทยาการวิจัย: ฉบับบัณฑิตศึกษา, 1(1), 33.
วิจิตร เกิดน้อย. (2563). พฤติกรรมทางการเมืองในการเลือกตั้งทั่วไปของผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งในตำบลไทยาวาส อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม (วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ศุภักษร ตระกูลศิริ. (2553). พฤติกรรมการเลือกตั้งของประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านชบ อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์ (วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการเมืองและการปกครอง). บุรีรัมย์: มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.
สิทธิชัย อินทร์บุญ. (2555). พฤติกรรมการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในอำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ต่อการเลือกตั้งทั่วไปในวันที่ 3 กรกฎาคม 2554 (วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการเมืองและการปกครอง). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สุรินทร์ นิยมางกูร. (2560). ระเบียบวิธีวิจัยทางรัฐประศาสนศาสตร์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
เอมวดี กาฬภักดี. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกตั้งนายกเทศมนตรี เทศบาลตำบลหนองกระทุ่ม อำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี: ศึกษาเฉพาะกรณีการเลือกตั้ง เมื่อวันที่ 20 เมษายน 2557. วารสารรัฐศาสตร์ปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 4(1), 117-122.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2020 วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น