รูปแบบการบริหารวัดสร้างสุขด้วยกิจกรรม 5 ส จังหวัดสิงห์บุรี
คำสำคัญ:
รูปแบบ, การบริหารวัดสร้างสุข, กิจกรรม 5 สบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสภาพทั่วไปปัจจัยและรูปแบบการบริหารวัดการศึกษาวิจัยเป็นแบบผสานวิธีทำการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 18 รูป/คน จัดสนทนากลุ่มเฉพาะกับผู้เชี่ยวชาญ 12 รูป/คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา และทำการสำรวจกับกลุ่มตัวอย่าง 184 รูป วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า1. การบริหารวัดเป็นนโยบายสำคัญของคณะสงฆ์จังหวัดสิงห์บุรี เพราะเป็นนโยบายจากมหาเถรสมาคมที่กำชับให้วัดทุกวัดทั่วประเทศพัฒนาวัดของตนเองตามหลัก 5 ส มีการแต่งตั้งคณะกรรมการในการขับเคลื่อนงาน มีการประชุมคณะทำงาน มีการอบรมจากทางคณะสงฆ์และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างสม่ำเสมอ 2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารวัด ได้แก่ ปัจจัยด้านการดำเนินการกิจกรรม 5 ส ปัจจัยด้านการบริหาร POCCC และปัจจัยด้านการบริหารวัดสร้างสุขตามหลักสัปปายะ 3. รูปแบบการพัฒนาการบริหารวัด ได้แก่ 1)พัฒนาแปลนวัด แผนผัง โดยระบุการใช้ประโยชน์พื้นที่ แบ่งพื้นที่เป็นสังฆาวาสและพุทธาวาส 2)พัฒนาวัดให้เกิดความสะดวกในการติดต่อ พัฒนาที่จอดรถ การขึ้นลง ป้ายบอกทาง 3)พัฒนาพื้นที่สีเขียว ให้มีไม้ยืนต้นที่ให้ความร่มรื่น เย็นสบาย อย่างเพียงพอและเหมาะสม 4) จัดให้มีภาชนะกักเก็บน้ำดื่มน้ำใช้อย่างเพียงพอ สะอาด เป็นระเบียบ ถูกหลักสุขอนามัย
References
พระครูวัชรสุวรรณาทร (ลูกชุบ ธมฺมโชโต). (2558). การประยุกต์ใช้อิทธิบาทธรรมเพื่อส่งเสริมกลยุทธ์การอนุรักษ์โบราณสถานของพระสังฆาธิการในเขตปกครองคณะสงฆ์ภาค 15 (วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระครูวินัยธรธรรมภณ ธมฺมพโล (แก้วแจ่มศรี). (2558). การพัฒนาการจัดการศาสนสมบัติของวัดในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา (วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระครูวิสิฐพัชราจาร (ไชยยา เขมสิริ). (2558). การพัฒนาการจัดการสาธารณูปการของพระสังฆาธิการจังหวัดเพชรบุรี (วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระครูวิสุทธินนทคุณ (ทวี สุทฺธิวํโส). (2558). บทบาทของวัดในการอนุรักษ์โบราณสถานในจังหวัดนนทบุรี (วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมหานพรักษ์ ขนฺติโสภโณ (นาเมือง). (2558). การบริหารจัดการวัดพัฒนาตัวอย่างในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา (วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
เรืองวิทย์ เกษสุวรรณ. (2545). การจัดการคุณภาพ: จาก TQC ถึง TQM. ISO 900 และการประกันคุณภาพ. กรุงเทพฯ: บพิธการพิมพ์.
พระพิพัฒน์ โสภณจิตฺโต ทับงาม. (2563). รูปแบบการบริหารจัดการของสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดอ่างทอง เพื่อเสริมสร้างศักยภาพทางปัญญา. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 8(1), 222-232.
พระมหาจินตวัฒน์ จารุวฑฺฒโน. (2562). รูปแบบการบริหารวัดสร้างสุขด้วยกิจกรรม 5 ส จังหวัดสิงห์บุรี (ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
Ouchi, W. (1971). Organization and Management. Eaglewood Cliffs: Prentice Hill.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2020 วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น